อิทธิพลของแหล่งน้ำที่มีผลต่อการลดอุณหภูมิภายในเมือง: กรณีศึกษาย่านพาณิชยกรรมสาทรกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการหาความแตกต่างอุณหภูมิระหว่างพื้นที่มีแหล่งน้ำและไม่มีแหล่งน้ำ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการลดอุณหภูมิภายในเมือง ทั้งนี้ เนื่องจากในปัจจุบันมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อตอบสนองต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี ส่งผลให้เมืองมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วรวมถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากเกษตรกรรมเป็นพื้นที่เมืองทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงสู่สภาวะที่ร้อนขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ในย่านใจกลางเมืองที่มีการรวมตัวกันของกลุ่มอาคารตึกสูงและอาคารขนาดใหญ่ จึงทำให้มีการดูดซับความร้อนไปยังพื้นผิววัสดุภายในเมือง และก่อให้เกิดเกาะความร้อนขึ้นภายในเมือง (Urban Heat Island) การวิจัยครั้งนี้จึงได้หยิบยกพื้นที่แหล่งน้ำ (Waterbody) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สีเขียวมาใช้ในการทดสอบถึงอิทธิพลของแหล่งน้ำที่ส่งผลต่อการลดอุณหภูมิภายในเมือง โดยทำการคัดเลือกพื้นที่ศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครคือ เขตบางรัก บนถนนสาทรฝั่งเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ศูนย์กลางของเมือง มีความหนาแน่นของกลุ่มอาคาร ซึ่งสุ่มเสียงต่อการเกิดปรากฎการณ์เกาะความร้อน ทั้งนี้จากการศึกษาได้ทำการจัดเก็บข้อมูลด้าน อุณหภูมิ ความชื้นสัมพันธ์ ความเร็วลม รวมถึงลักษณะทางกายภาพของเมือง และขนาดของพื้นที่แหล่งน้ำ ตามจุดต่างๆ ทั้งหมด 12 จุด เพื่อหาค่าความแตกต่างของอุณหภูมิเฉลี่ยที่เกิดขึ้น ระหว่างพื้นที่แหล่งน้ำและพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งน้ำ โดยตั้งสมมุติฐานที่ว่า แหล่งน้ำมีอิทธิพลต่อการลดอุณหภูมิภายในเมืองได้หรือไม่ จากการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้วิเคราะห์ทางสถิติทดสอบ T-Test, Linear Regression และ Correlation พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่างพื้นที่มีแหล่งน้ำและพื้นที่ที่ไม่มีน้ำ มีความแตกต่างกันของอุณหภูมิ โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางวันอุณหภูมิจะมีค่าความแตกต่างกันสูงสุด ส่วนในช่วงเช้าและช่วงเย็น พื้นที่มีน้ำและพื้นที่ไม่มีน้ำไม่มีค่าความแตกต่างที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ นอกจากนั้นขนาดของแหล่งน้ำยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ เช่น พื้นที่แหล่งน้ำขนาดใหญ่จะส่งผลต่ออุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์ในอากาศได้มากกว่าพื้นที่แหล่งน้ำขนาดเล็ก อุณหภูมิบริเวณที่มีแหล่งน้ำใหญ่กว่าจึงมีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นที่มีแหล่งน้ำขนาดเล็กประกอบกับลักษณะทางกายภาพของเมือง สามารถบ่งชี้ถึงอุณหภูมิของเมืองได้ เช่น บริเวณที่มีการรวมตัวกันของกลุ่มอาคารขนาดใหญ่ ตึกสูง จะเกิดการสะสมความร้อนได้มาก ทำให้มีอุณหภูมิที่สูง จึงกล่าวได้ว่าแหล่งน้ำคือทางเลือกหนึ่งที่จะนำมาใช้เป็นแนวทางในการลดอุณหภูมิภายในเมืองและปัญหาสภาวะโลกร้อนที่กำลังทวีคูณความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ยังเป็นการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมของเมืองให้ดียิ่งขึ้น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนเมืองในอนาคต
คำสำคัญ: แหล่งน้ำกับอุณหภูมิเมือง
Abstract
This research is to investigate the difference between the waterbody areas and none - waterbody areas in order to propose a quideline in decreasing the urban heat temperature. Due to the rapid change to economic growth, society, politics and technology, natural resources have been significantly depleted, particularly in the city. Particularly, downtown areas have densely large buildings and skyscrapers, where the material surface has highly - absorbed and lowly - released heat capacity town. This puts more pressure on urban climate. Solutions to keep city more comfortable can manage by means of land use and land cover. This research aims to quantify how waterbody covered areas help to decrease urban temperature. Sathorn road was selected as a study area due to its commercial function and high - rise building concentration. The collected data are comprised of 1) climate data i. e. air temperature, relative humidity, and wind speed 2) physical data i. e. building areas, open space areas and 3) waterbody characteristics i. e. size, and depth. The sample sixes covered 12 spots including 7 waterbody areas and 5 unon - waterbody areas. The results show the significant difference of average temperature between the waterbody and none - waterbody areas. This study andlyzed by using T-Test, Linear Regressing and Correlation to indicate the difference of average temperature between the waterbody areas and none waterbody areas. Obviously, it is significant difference during the day as high as nearly 1 degrees Celsius but the temperature in the morning and evening are not much different. Moreover, size of waterbody is another cause of temperature changing such as the larger waterbody areas is more effect to temperature and humidity than the small waterbody areas. The physical characteristics also can be identified the urban temperature such as the areas densely have large buildings are accumulated and effect to higher temperature. The waterbody is one of alternatives used as a guideline in decreasing the urban temperature and the global warming. It also enhances the quality of the urban environment for the quality of urban life in the future.
Keywords: Waterbody Urban Temperature
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Copyright Transfer Statement
The copyright of this article is transferred to Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang with effect if and when the article is accepted for publication. The copyright transfer covers the exclusive right to reproduce and distribute the article, including reprints, translations, photographic reproductions, electronic form (offline, online) or any other reproductions of similar nature.
The author warrants that this contribution is original and that he/she has full power to make this grant. The author signs for and accepts responsibility for releasing this material on behalf of any and all co-authors.