การศึกษากิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการวางแผนการใช้พื้นที่ ศูนย์ส่งเสริมกิจกรรมชุมชนและการท่องเที่ยวตลาดริมน้ำหัวตะเข้
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความต้องการด้านกิจกรรมของนักท่องเที่ยวเพื่อการวางแผนการใช้พื้นที่ และแนวทางการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า โดยเก็บข้อมูลความต้องการรูปแบบของกิจกรรมจากกลุ่มตัวอย่างที่เดินทางไปท่องเที่ยวตลาดริมน้ำจำนวน 311 คนจากตลาด 3 แห่งในพื้นที่ใกล้เคียงตลาดหัวตะเข้คือ ตลาดคลองสวน 100 ปี ตลาดนครเนื่องเขต และตลาดบ้านใหม่ โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ หาค่าอัตราส่วนร้อยละ และจำแนกกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มอายุ ไม่เกิน 29 ปีและ 30 ปีขึ้นไป เพื่อเปรียบเทียบค่าที จำนวนครั้งในการท่องเที่ยวตลาดริมน้ำของกลุ่มตัวอย่าง ผลที่ได้คือกลุ่มตัวอย่างทั้งสอง มีจำนวนครั้งในการท่องเที่ยวตลาดริมน้ำแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 99% Confident Interval โดยมีค่านัยสำคัญเท่ากับ 0.01 ผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปเดินทางไปท่องเที่ยวตลาดริมน้ำมากกว่าผู้มีอายุไม่เกิน 29 ปี โดยมาเที่ยวประมาณ 4 ครั้งต่อปี จึงมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งมีจุดประสงค์การเดินทาง คือการไปรับประทานอาหาร มีรูปแบบกิจกรรมที่ต้องการ คือล่องเรือชมวิถีชีวิตวัฒนธรรม ชมแหล่งผลิตภัณฑ์ OTOP ชิมอาหารไทย เข้าชมพิพิธภัณฑ์ และซื้อของฝาก ตามลำดับ โดยนำผลการวิจัยที่ได้เปรียบเทียบกับผลการสำรวจสภาพแวดล้อม ตามสัดส่วนความต้องการของลูกค้า และนำมาใช้เป็นแผนการจัดสัดส่วนการใช้พื้นที่ ตำแหน่งพื้นที่กิจกรรม และการจัดทางสัญจร ตามลักษณะสภาพแวดล้อมและลักษณะสถาปัตยกรรมภายในของพื้นที่ตลาดหัวตะเข้ ให้เป็นพื้นที่กิจกรรมส่วนกลาง ลานจัดกิจกรรม OTOP และการชิมอาหารไทยโบราณ ซึ่งลูกค้าสามารถร่วมกิจกรรมทั้งการชม และชิม ก่อนเข้าใช้พื้นที่ต่อเนื่องสู่ส่วนท่าเรือท่องเที่ยว โดยจากผลการสำรวจพื้นที่ผู้วิจัยได้เสนอแนะให้มีการเพิ่มสะพานทางทิศตะวันออก ซึ่งลูกค้าสามารถเดินข้ามสะพานจุดชมวิวที่มองเห็นอาคารตลาดและสี่แยกคลองได้ โดยจะเป็นการนำให้นักท่องเที่ยวได้เห็นสภาพแวดล้อมของพื้นก่อนจะเข้าชมและศึกษาข้อมูลภายในพิพิธภัณฑ์ และทำให้มีทางสัญจรที่สั้นลงลูกค้าสามารถเที่ยวชม รับประทานอาหารและซื้อของฝากได้อย่างต่อเนื่องในพื้นที่อาคารเรือนแถวไม้ริมน้ำตลอดทั้งสองฝั่ง
คำสำคัญ: ตลาดหัวตะเข้ กิจกรรมการท่องเที่ยว การจัดพื้นที่ การวางแผนพื้นที่
Abstract
This research study the requirements of tourism visitors to plan the area utilization and the appropriate activities for the clients. Activities demand from our sample groups who travel to floating market for 311 people in the 3 neighborhood markets; Klong-Suan 100 years market, Nakorn Nueng Khet Market and Baan Mai Market were collected. The data were analyzed and divided into 2 groups, the first group is not older than 29 years old and the second group is older than 30 years old for comparing that how often of these groups travel to floating market. As the result, by comparing the number of times to visit the floating market from these 2 samples are different statistically significant at 99% confident interval, with a significance of 0.01 for the group that’s older than 30 years old is more often travel to the floating market than those aged under 29, approximately 4 times per year. Therefore, this research is focusing on customers aged over 30 years as our targets which mostly have the purpose of travel is eating and there are a lot of their favorite activities such as the culture cruise trip, The folk Thai OTOP products tour and tasting Thai traditional food , visiting museum and souvenir shopping. Research results were used in planning activity plan. Customers can both try and join these activities before they move into the canal tourist port. The results of the survey were suggested to be a bridge at the east side that customers can walk across the bridge which is the scenario views of the market and the intersection of the canal. It can be the first sight for visitors before seeing the museum to visit and learn the history and culture. This also can shorten the market avenue that make the visitors can visit and taste, including shopping throughout the waterfront building and the canal on both sides.
Keyword: Huatakae market / Tourism activities / area zoning / space planning
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Copyright Transfer Statement
The copyright of this article is transferred to Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang with effect if and when the article is accepted for publication. The copyright transfer covers the exclusive right to reproduce and distribute the article, including reprints, translations, photographic reproductions, electronic form (offline, online) or any other reproductions of similar nature.
The author warrants that this contribution is original and that he/she has full power to make this grant. The author signs for and accepts responsibility for releasing this material on behalf of any and all co-authors.