ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดและการเปลี่ยนแปลงของตลาดระแหง จังหวัดปทุมธานี (Factors Affecting the Emergence of and Changes in Ra-Hang Market, Pathum Tani)
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดและการเปลี่ยนแปลงของตลาดชุมชนริมน้ำ กรณีศึกษาตลาดระแหง จังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงการศึกษาสภาพทั่วไปของตลาดระแหง โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น กิจกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา ลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางเศรษฐกิจและลักษณะทางสังคม ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ในอดีตตลาดระแหงเป็นตลาดชุมชนริมน้ำหรือตลาดริมน้ำ ที่มีบทบาทเป็นศูนย์กลางในการให้บริการทางการค้าที่สำคัญของตำบลลาดหลุมแก้ว และละแวกใกล้เคียง ส่งผลให้ตลาดระแหงเกิดการขยายตัวในช่วงเวลาต่อมา แต่เมื่อเวลาผ่านไปจากการพัฒนาและการขยายตัวของเมือง ทำให้สภาพแวดล้อมและความต้องการของประชาชนเปลี่ยนแปลงตามความเจริญที่แพร่ขยายเข้ามา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดระแหงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการเป็นศูนย์กลางทางการค้าของตลาดที่ถูกลดบทบาทลง รวมถึงปัญหาการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกับรูปแบบของอาคารเรือแถวไม้ดั้งเดิม ทำให้ปัจจุบันตลาดระแหงแทบจะไม่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ และความสำคัญที่เคยมีมากแต่อดีตให้ผู้คนที่พบเห็นรับรู้ได้ ดังนั้นในการที่จะรักษาตลาดระแหงที่มีอายุเกือบ 100 ปี ให้สามารถคงอยู่ต่อไปได้นั้น จำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้าใจถึงพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของตลาดระแหง รวมทั้งทราบถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดและการเปลี่ยนแปลงของตลาดระแหงในแต่ละช่วงเวลา เพื่อสร้างความเข้าใจและนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนรองรับการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนตลาด และเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการภายในตลาดระแหงได้อย่างเหมาะสมผลจากการศึกษาสามารถอธิบายถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด และการเปลี่ยนแปลงของตลาดระแหงได้เป็น 3 ด้าน คือ 1) ปัจจัยทางด้านกายภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุดเมื่อเมืองเกิดการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการพัฒนาโครงข่ายการสัญจรทางบก (ทางถนน) ที่ตัดเข้ามารในพื้นที่ ทำให้สามารถเข้าถึงหรือเดินทาไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากกว่าการสัญจรทางน้ำ 2) ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจในเรื่องของระบบกิจกรรม ที่ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างระบบกิจกรรม พื้นที่ และเวลา โดยในปัจจุบันเรื่องความหลากหลายของรูปแบบการค้าขายที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ประชาชนมีทางเลือกมากยิ่งในการตัดใจใช้บริการจากสถานที่ที่มีความสะดวกในการเข้าถึง และมีสินค้าที่ความหลากหลายมากกว่าและ 3) ปัจจัยทางด้านสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ และค่านิยมสมัยใหม่ในการประกอบอาชีพที่เปิดกว้าง ต้องการทำงานอย่างอิสระโดยไม่ยึดติดกับอาชีพของบรรพบุรุษ อันเป็นผลมาจากการได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น และทัศนคติด้านลบของผู้ที่อาศัยอยู่ในตลาดระแหงที่มีต่ออาคารเรือนแถวไม้เก่าในพื้นที่ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับพื้นที่ตลาดระแหงดังเช่นในปัจจุบัน
คำสำคัญ: ปัจจัย การเกิดและการเปลี่ยนแปลง ตลาดระแหง จังหวัดปทุมธานี
Abstract
The aim of this research study was to analyse the various factors that had affected the emergence of Ra-Hang Waterfront Community Market, Pathum Thani Province, and stimulated its changes. Also, the research included the survey of the Market’s general state from past to present, taken into consideration the following: selected activities from various periods, the investigations of the Market’s physical state, existing different types of economy as well as its unique society. It was found that Ra-Hang was a waterfront community market (or waterfront market) that played an important role of being an economic centre in terms of commerce and services for the Sub-District of Lat Lum Kaeo and the neighbourhood. This later caused Ra-Hang Market to expand; however, as time went by, Ra-Hang Market’s role as the center for economy, commerce and services, became less active. This is because the city area and new development had expanded themselves into village areas. Therefore, needs and wants of those who lived near the Market were changed; so was the general state of the Market. New development did not go hand in glove the architecture of the past which was usually featured in terrace wooden houses. Ra-Hang Market at present can rarely reflect its 100-year glories of the past to its visitors or dwellers. In order for the Market to stand the test of time, we need to understand how the Market has developed and changed. We also need to understand the roots of the problems and factors that affected Market changes in different periods. With this knowledge and understanding, we can devise a method that will help improve the market facilities so that the Market can appropriately serve its customers and buyers. The results of this research show three possible factors as follows:1) The Physical Factor: This is probably the most important visible factor once a city begins its development. Its transportation network (roads) covers most area making most destinations to be reached comfortably and fast in comparison to waterways of the bygone days. 2) The Economic Factor: The system of activities is usually associated with space and time. Nowadays goods and services are presented to buyers through a more challenging technique, and people do have more options. They decide what to buy and where to buy it. Usually they will select a place that is comfortably reached by land transport and a variety of choices. 3) The Social Factor: Cultures, beliefs, and new sets of modern values keep pouring in. More careers are opening up, which can lead young people to jobs that are totally different from their forefathers’. Dwellers in the neighbourhood of Ra-Hang Market have been well educated; as a result, they usually have a negative attitude towards their own dwelling, which is usually an old terrace wooden house. All these, together, affect the change of Ra-Hang Market that can be seen nowadays.
Keywords: Factors Emergence and changes Ra-Hang Market
Pathum Thani Province
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Copyright Transfer Statement
The copyright of this article is transferred to Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang with effect if and when the article is accepted for publication. The copyright transfer covers the exclusive right to reproduce and distribute the article, including reprints, translations, photographic reproductions, electronic form (offline, online) or any other reproductions of similar nature.
The author warrants that this contribution is original and that he/she has full power to make this grant. The author signs for and accepts responsibility for releasing this material on behalf of any and all co-authors.