กระบวนการวางแผนอย่างมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัด: กรณีศึกษาชุมชนพุทธมณฑลสาย 2 (สี่แยกทศกัณฑ์) (The Participatory Planning for Informal Settlement Upgrading, Phutthamonthon Sai 2 Community (Tossakan Junction))
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
สภาพชุมชนแออัดส่วนใหญ่ในพื้นที่เมืองมักมีสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการอยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะ เนื่องด้วยปัญหาความหนาแน่น ขาดการบริการด้านสาธารธูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้อาศัยและกระทบต่อพื้นที่เมืองในภาพรวม บทความนี้ต้องการนำเสนอแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัดบนที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัย เพื่อนำแผนเข้าสู่โครงการบ้านมั่งคงที่สนับสนุนโดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) โดยมีกรณีศึกษาในชุมชนพุทธมณฑลสาย 2 จังหวัดกรุงเทพมหานคร การดำเนินโครงการจัดทำแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยในชุมชนในระยะแรก เริ่มดำเนินการก่อนในพื้นที่นำร่องของชุมชนเพื่อเป็นตัวอย่างและแรกกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาครอบคลุมทั้งชุมชนต่อไป วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อ 1) ศึกษาบริบทของชุมชน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาชุมชนที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต และความต้องการของชุมชน 2) ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการวางแผนพัฒนาชุมชนที่สอดคล้องกับนโยบายของเจ้าของที่ดิน 3) เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในชุมชน และวางแผนแก้ไขในระยะยาว โดยวางแผนให้มีความสอดคล้องกันทั้งชุมชน 4) จัดทำแผนการพัฒนาชุมชนที่เป็นรูปธรรม และสามารถขยายผลไปสู่การดำเนินการจริงการดำเนินงานโครงการเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการทำงานเริ่มตั้งแต่การชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการและสร้างความเข้าใจให้ผู้อาศัยในชุมชน การร่วมสำรวจสภาพแวดล้อมชุมชนและสภาพอาคารรายหลัง การเสนอแนะแนวทางและร่วมตัดสินใจในแผนการพัฒนาสภาพแวดล้อมชุมชนและการซ่อมแซมปรับปรุงอาคารของตน เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของผู้อาศัยมากที่สุด ผลของโครงการนำไปสู่การจัดรูปแปลงที่ดินภายในพื้นที่ใหม่ (Reblocking) ในบางบริเวณ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีมีระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทั่วถึงภายในชุมชน พร้อมทั้งการปรับปรุงสภาพอาคารส่วนใหญ่ให้มีสภาพมั่นคงและเหมาะสมกับการอยู่อาศัย จากการศึกษาโครงการสะท้อนให้เห็นปัจจัยที่นำมาสู่ความสำเร็จของโครงการ 3 ปัจจัย คือ 1) ความชัดเจนของนโยบายการพัฒนาของเจ้าของที่ดิน 2) การมีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัยอย่างแท้จริง และ 3) การสนับสนุนของภาคีที่เกี่ยวข้อง
คำสำคัญ : ชุมชนแออัด การพัฒนาชุมชน การวางแผนอย่างมีส่วนร่วม สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
Abstract
Most conditions of informal settlements in urban area are not suitable for healthy living, because of high density living, lack of primary infrastructures, and poor environments. These conditions affect the quality of life of inhabitants and quality of urban environment. The article aims to bring up the particip0atory planning for informal settlement upgrading in the rented area of the Crown Property Bureau, Phutthamonthon Sai 2 community, Bangkok. The Crown Property Bureau Cooperates with Community Organizations Development Institute (Public Organization) Under Baan Mankong Collective Housing Program that encourages existing Informal Settlements to form co-ops and develop their housing in a collective way. The program started with the pilot project in two areas of Phutthamonthon Sai 2 community to be motivation for entire community planning in 2013. The objectives of this project were 1) to study the community contexts for development planning related with inhabitants’ lifestyle and need 2) to encourage the participatory community development planning related with the Crown Property Bureau’s policies 3) to solve the urgent problems of the community and to prepare the long-term solution and 4) to prepare the community development plan for implementation. The process of the project aimed to encourage all of inhabitants to participate in every step such as to clearly inform the objectives and results of the project, to survey the conditions of community and housing units, to suggest their opinions, and to make decision in the community development plan. The interesting results of this project were reblocking in some areas for the better community condition and improving some housing units for the better living condition. Three factors of project achievement were 1) the clarity of the Crown Property Bureau’s policies 2) the true participation of inhabitants in the community and 3) the support from the corporate parties.
Keywords : Informal Settlement Community Development Participatory Planning The Crown Property Bureau
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Copyright Transfer Statement
The copyright of this article is transferred to Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang with effect if and when the article is accepted for publication. The copyright transfer covers the exclusive right to reproduce and distribute the article, including reprints, translations, photographic reproductions, electronic form (offline, online) or any other reproductions of similar nature.
The author warrants that this contribution is original and that he/she has full power to make this grant. The author signs for and accepts responsibility for releasing this material on behalf of any and all co-authors.