การประยุกต์ใช้ระบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ความหมายของพื้นที่ เพื่อการเกษตรกรรม กรณีศึกษา : อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก (Application of Geographic Information System for Site Suitability Analysis of Agricutural Land)
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันพื้นที่ทางการเกษตรกรรมได้ลดลงจากอดีตที่ผ่านมาอย่างมาก และมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ เนื่องมาจากการขยายตัวของเมืองตามการเพิ่มขึ้นของประชากรในพื้นที่ การใช้ประโยชน์ที่ดินผิดประเภทและขาดหลักการ การนำที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำเกษตรกรรมมาใช้ประโยชน์เพื่อกิจกรรมอื่น ๆ แทนบทความนี้เป็นการนำเสนอการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System ; GIS)ในการวิเคราะห์หาระดับชั้นของพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับการเกษตรกรรม โดยทำการศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและมีอิทธิพลต่อการทำการเกษตร คือ ปัจจัยทางด้านกายภาพ ได้แก่ ข้อมูลดิน ความเหมาะสมของกลุ่มดิน แหล่งน้ำผิวดินตามธรรมชาติหรือระบบชลประทานและข้อมูลภูมิประเทศจำพวกชั้นความสูงจากระดับน้ำทะเล โดยใช้โปรแกรม ArcGIS ในการวิเคราะห์ข้อมูลและพัฒนาสร้างแบบจำลองเชิงพื้นที่ เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดระดับชั้นความเหมาะสมเพื่อคุ้มครองรักษาพื้นที่เกษตรกรรม ผลที่ได้รับจากการศึกษาในบริเวณพื้นที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก นั้นได้แสดงระดับชั้นพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อการเกษตรกรรมเป็น 4 ระดับ คือ พื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อเกษตรกรรมมาก ปานกลาง น้อย และไม่มีความเหมาะสมเลย ตามลำดับ ซึ่งเนื้อหาในบทความเป็นการวิเคราะห์เพียงขั้นต้นที่จะมุ่งเน้นปัจจัยหรือตัวแปรทางด้านกายภาพเป็นหลักเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ก็มีความสำคัญต่อการวิเคราะห์ความเหมาะสมของพื้นที่เกษตรกรรมเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาในขั้นต่อไป
คำสำคัญ : ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การวิเคราะห์ความเหมาะสมของพื้นที่ พื้นที่เกษตรกรรม
Abstract
At the present, on the decline of agricultural land. It’s due to ever expanding cities includes a great increase in population, also lack the knowledge of good management in land use planning, and the land which suitable for agriculture has been changed to be another activities in land use. This article presents the study of site suitability analysis with application of geographic information system (GIS) for agricultural land. Using of GIS data base in physical factors such as soil groups, water resources and topography as a contour. There was analyzed by an ArcGIS program and developing the spatial model in order to classify land suitability level for agricultural land protection. Research results revealed the land suitability levels for agricultural land of Ongkarak District, NakhonNayok Province could be classified into 4 levels; Class 1 Highest Suitability for Agricultural Land, Class 2 Moderate Suitability for Agricultural Land, Class 3 Low Suitability for Agricultural Land and Finally, Class 4 Non Suitability for Agricultural Land. The issue in this article is a primary analysis which focuses only physical factors ; meanwhile excluding factors in economic, social or related regulars, which are otherwise important in site suitability analysis for agricultural land, hence should be incorporated in next step of the further study.
Keyword : Geographic Information System Site Suitability Analysis Agricultural Land
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Copyright Transfer Statement
The copyright of this article is transferred to Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang with effect if and when the article is accepted for publication. The copyright transfer covers the exclusive right to reproduce and distribute the article, including reprints, translations, photographic reproductions, electronic form (offline, online) or any other reproductions of similar nature.
The author warrants that this contribution is original and that he/she has full power to make this grant. The author signs for and accepts responsibility for releasing this material on behalf of any and all co-authors.