การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงโครงข่ายระบบรางภายในกรุงเทพมหานคร (Network Analysis of Rail Mass Transit Transformation in Bangkok Metropolis)

Main Article Content

สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ

Abstract

บทคัดย่อ

ระบบรางภายในเมืองนับเป็นระบบคมนาคมที่สำคัญ  สำหรับการรองรับการเดินทางของชาวเมืองจำนวนมาก เมืองขนาดใหญ่ทั่วโลกใช้การเดินทางภายในเมืองด้วยระบบรางเป็นส่วนใหญ่สำหรับการขนส่งมวลชน  เพื่อช่วยลดความคับคั่งและความหนาแน่นของการสัญจรระบบถนน  กลไกที่เกิดขึ้นตามมาจากอิทธิพลของโครงข่ายระบบราง  คือ การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินมีราคาสูงขึ้น  และการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณโดยรอบที่ตั้งของสถานีระบบราง  สำหรับบทความชิ้นนี้มีเป้าหมายในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสถานีศูนย์กลาง กับ สถานีที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงกับศูนย์กลางของระบบรางภายในกรุงเทพมหานคร  โดยแบ่งการศึกษาเป็น  3  ช่วงเวลา  ได้แก่  ช่วงที่ 1  ปี พ.ศ. 2542  เริ่มต้นการเกิดระบบราง  ช่วงที่ 2 ปีพ.ศ.2554  การขยายโครงข่ายระบบราง  และช่วงที่ 3  การวางแผนโครงข่ายระบบรางในอนาคตของกรุงเทพมหานคร  วิธีการศึกษาใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์โครงข่าย  และเครื่องมือในการวัดด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์  Pajekสำหรับการประมวลผลข้อมูลความสัมพันธ์ของโครงข่ายด้วยตัวชี้วัดด้านความเป็นศูนย์กลางในช่วงที่ 1  กับ  2  คือ สถานีสยาม  และถ้าในอนาคตมีการสร้างโครงข่ายระบบรางตามที่วางแผนไว้เรียบร้อยแล้ว  จะมีการเปลี่ยนแปลงความเป็นศูนย์กลางของสถานีจากสถานีสยามไปสู่สถานีวงเวียนใหญ่  ส่วนสถานีที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงภายในโครงข่ายที่ดีที่สุด ได้แก่  สถานีสยาม  สถานีสุขุมวิท   และสถานีบางซื่อ  ตามลำดับของช่วงเวลาที่ศึกษา  ประเด็นสำคัญที่ได้จากการศึกษาอาจกล่าวในเชิงทฤษฎีได้ว่าถ้าเมืองมักจะมีการเติบโตตามแนวเส้นทางคมนาคมสายหลัก  และจะมีการเติบโตอย่างมากในบริเวณพื้นที่ศูนย์กลางของกิจกรรมคมนาคมแล้วนั้น  บริเวณพื้นที่เมืองที่เป็นที่ตั้งของสถานีศูนย์กลางหรือสถานีที่มีบทบาทเชื่อมโยงศูนย์กลางของระบบรางภายในกรุงเทพมหานคร  อาจจะมีระดับการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณนี้เพิ่มมากขึ้น  และลดหลั่นแปรผันตามระดับค่าความเข้มข้นของสถานีระบบรางเหล่านั้นภายในโครงข่าย

 

คำสำคัญ : การวิเคราะห์โครงข่าย    ระบบรางภายในเมือง     กรุงเทพมหานคร

 

Abstract

Urban  rail  mass  transit  is an important  transportation  system  to  travelling  citizen. Mostly  mega  cities  in  the  world  use  rail  mass  transit  as  main  transportation  system  in  order  to  decrease  a  density  of  journey  in  a  city. Mechanism  with  respect  to  the  influence  of  the  rail  network  is  the  high  price  of  land  and  the  land  use  surrounding  the  site  of  a  rail  station.  This  paper  aims  to  study  the  centrality  station  and  the  linked  (betweeness centrality) station  of  the  rail  system  in  Bangkok  metropolitan.  The  study  was  divided  into  three  time  periods,  including  1)  the  1999  time  point  as  beginning  the  Bangkok  rail  mass  transit,  2)  the  2011  time  point  as  extending  the  rail  network, and  3)  the  future  as  full  planning  network  for  the  future  of  the  rail  network  in  Bangkok  metropolitan.  Research  method  uses  the  theory  of  network  analysis  and  its  tool,  Pajek application,  for  processing  a  data  of  the  rail  network  system.  The  results  showed  that  the  Siam  station  has  highest  degree  centrality  in  period  of  the  1999  to  the  2011,  and  if  in  the  future  that  have  full  rail  network,  the  higest  degree  centrality  of  station  will  change  from  Siam  station  to  the  WongwianYai  station.  Likewise,  the  Siam  station  has  highest  degree  betweenness  centrality  ine  the  1999  time  point.  Onward  to  the  2011  time  point,  the  highest  degree  betweenness  centrality  of  station  will  change  to  Sukhumvit  station.  And  in  the  future,  the  highest  degree  betweenness  centrality  will  move  to  Bang  Sue  station.  Key  points  from  the  study  can  be  theoretically  said  that  if  the  city  is  growing  along  the  main  routes  and  it  is  growing  in  the  area  of  transportation  hub.  And  then,  urban  area  is  rail  station  locations  that  have  high  degree  centrality  and  betweenness  centrality.  It  may  be  change  the  land  use  surrounding  the  site  of  a  rail  station  direct  variation  with  degree  level  in  the  network.

 

Keywork : Network  analysis  Urban  Rail  Mass  Transit  Bangkok  Metropolis

Article Details

How to Cite
ติยะวงศ์สุวรรณ ส. (2014). การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงโครงข่ายระบบรางภายในกรุงเทพมหานคร (Network Analysis of Rail Mass Transit Transformation in Bangkok Metropolis). Asian Creative Architecture, Art and Design, 16(1), 136–152. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/18522
Section
Research Articles