การศึกษารูปแบบและขนาดตัวพิมพ์ที่มีผลต่อระยะการมองเห็นข้อความบนฉากรับภาพ สื่อดิจิทัล; กรณีศึกษา : เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์ (Study of Type face and Type Size Afflected to Visual Length on Screen.; Case Study : Projector)

Main Article Content

วุฒิชัย มณีอินทร์

Abstract

บทคัดย่อ


การศึกษารูปแบบและขนาดตัวพิมพ์ที่มีผลต่อระยะการมองเห็นข้อความบนฉากรับภาพสื่อดิจิทัล;  กรณีศึกษา  : เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์มีวัตถุประสงค์ในการที่จะศึกษาและรวบรวมข้อมูลสำคัญและเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติเครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์  หลักตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์  หลักการทำงานที่เกี่ยวกับรูปแบบต่าง ๆ ของตัวพิมพ์  อีกทั้งศึกษาว่ารูปแบบตัวพิมพ์ที่ต่างกัน มีผลต่อมิติเชิงความรู้สึกและการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างเป็นเช่นไร  นอกจากนี้ยังศึกษาความสัมพันธ์ของขนาดรูปแบบตัวพิมพ์ที่แตกต่างกันว่ามีผลต่อระยะการมองเห็นข้อความที่แตกต่างกันอย่างไรโดยการใช้สื่อดิจิทัล (เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์)  รูปแบบตัวพิมพ์ที่ศึกษาใช้ชุดแบบอักษร  “TH  Sarabun  PSK”  เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้ง  13  รูปแบบ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามจำนวน  100  ชุด  แจกให้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาสาขาวิชา  สถาปัตยกรรมภายใน  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเพื่อสอบถามถึงคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง  การแจกแจงกลุ่มตัวอย่างตามลักษณะทางสังคมศาสตร์และประชากรศาสตร์  เพศ  อายุ  การวิเคราะห์คุณลักษณะ  ความน่าสนใจ และน่าจดจำของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อตัวพิมพ์ฟอนต์แห่งชาติ  ทั้ง  13  แบบ  ได้รับตอบกลับมา  95  ชุด  และแบบทดสอบขนาดของตัวอักษรบนแผ่นทดสอบในโปรแกรม  Key  note  บนเครื่องคอมพิวเตอร์  Mac  book  pro  ทั้ง  4  รูปแบบตัวพิมพ์  คือ  ฟอนต์  ThSarabun  PSK  ฟอนต์  ThKoHOฟอนต์  ThFahKwangและ ฟอนต์  ThKrub  8 แผ่นประกอบไปด้วยตัวอักษรขนาด  9 พอยต์  18  พอยต์  36  พอยต์  72  พอยต์  144  พอยต์และ  288  พอยต์ซึ่งขนาดของตัวอักษรที่นำมาใช้นี้เป็นขนาดมาตรฐานสำเร็จรูปที่กำหนดอยู่ใน  Font  Sizeของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชุดแบบอักษร  “TH  Sarabun  PSK”  ใช้โปรแกรม  SPSS  คำนวณค่าสถิติ  โดยใช้ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย  และหลักการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – way  Analysis  of  Variance  :  One – way  ANOVA)  และผลการวิจัยสรุปได้ว่า  การรับรู้มิติเชิงความรู้สึกจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของตัวพิมพ์ฟอนต์แห่งชาติ  ปัจจัยต่าง ๆ ทั้ง  8  ข้อ  ที่เป็นคุณสมบัติของตัวพิมพ์ฟอนต์แห่งชาติทั้ง  13  แบบ  จากการวิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยในมิติต่าง ๆ พบว่า  กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้มิติเชิงความรู้สึกแต่ละมิติของรูปแบบฟอนต์แห่งชาติทั้ง  13  แบบ แตกต่างกัน  จึงสรุปได้ว่า  รูปแบบฟอนต์แห่งชาติทั้ง  13  แบบที่แตกต่างกันนั้นส่งผลต่อมิติเชิงความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป  และส่วนของความสัมพันธ์ของรูปแบบตัวพิมพ์ ขนาดตัวพิมพ์และระยะการมองเห็นข้อความบนฉากรับภาพสื่อดิจิทัล  จากการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยระยะการมองเห็นข้อความของตัวพิมพ์ทั้ง  4  แบบ  ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  โดยมีขนาดตัวพิมพ์ที่ใช้ในงานวิจัย  6  ขนาด  พบว่า  กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ว่ารูปแบบของตัวพิมพ์ที่แตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยของระยะการมองเห็นข้อความบนฉากรับภาพสื่อดิจิทัลของแต่ละรูปแบบตัวพิมพ์  แตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่น  95%


 


คำสำคัญ : รูปแบบตัวพิมพ์  ขนาดตัวพิมพ์  ระยะการมองเห็นข้อความบนฉากรับภาพสื่อ


ดิจิทัล เครื่องฉายภาพ โปรเจคเตอร์


 


Abstract


This  research  studies  the  type  face  and  type  size  affecting  the  visual  length  on  the  screen  from  digital  media  by  using  the  case  study  from  projector.  The  objectives  of  this  work  are  to  study  and  collect  the  significant  data  related  to  the  specification  of  projector  and  the  main  factor  is  related  to  human  and  different  types  face.  The  effect  of  defferent  types  face  on  the  dimension  of  perception  and  recognition  of  the  group  of  samples  and  the  effect  of  correlation  of  type  face  and  type  size  on  visual  length  through  projector  have  been  studies.  The  same  13  types  face  for  this  study  are  TH  Sarabun  PSK  font  type.  The  methodology  for  this  research  utilizes  the  100  questionnaires  with  the  group  of  sample,  the  students  from  the  department  of  Interior  Architecture,  Faculty  of  Architecture, King  Mongkut’s  Institute  of  TechnologyLadkrabang.  The  samples  are  divided  by  social,  demograply,  gender  and  age.  The  analysis  of  characteristics,  interest  and  notability  of  samples  on  13  national  font  types  has  been  processed  on  the  basis  of  95  questionnaires.  The  questionnaires  on  the  size  of  the  font  in  Key  note  program  on  the  computer  of  Mac  book  pro  with  4  different  fontsThSarabun  PSK,  ThKoHo,  ThFahKwang  and  ThKrub  and  8  piecies  of  plates  with  6  font  sizes,  9,  18,  36,  72,  144,  and  288  points  have  been  studies.  The  sizes  of  the  font  for  this  study  are  the  standard  size  of  the  font  TH  Sarabun  PSK  in  the  computer. The  software  SPSS  has  been  used  to  analyze  and  calculate  the  statistical  data  of  percent  average  value  and  one – way  analysis  of  variance : oneway  ANOVA).  The  results  can  be  concluded  that  from  the  perception  and  recognition,  the   8  factors  in  of  13  national  font  type  characteristics  and  the  difference  in  average  values,  the  samples  have  different  dimension  of  perception  and  recognition  on  the  13  national  font  types.  Furthermore, for  the  relationship  of  type  and  size  of  typography  with  visual  length  on  the  screen  and  from  the  average  value  of  visual  length  for  4  type  of  font  both  in  Thai  and  English  with  6  sizes  of  fonts,  it  is  found  that  the  samples  have  recognized  the  difference  in  typography  and  average visual  length  on  screen  for  each  different  typography  has  95%  confidence.


 


Keywords : Type  face  Type  size  Visual  length  on  screen


Projector

Article Details

How to Cite
มณีอินทร์ ว. (2014). การศึกษารูปแบบและขนาดตัวพิมพ์ที่มีผลต่อระยะการมองเห็นข้อความบนฉากรับภาพ สื่อดิจิทัล; กรณีศึกษา : เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์ (Study of Type face and Type Size Afflected to Visual Length on Screen.; Case Study : Projector). Asian Creative Architecture, Art and Design, 16(1), 153–175. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/18523
Section
Research Articles