แนวทางการส่งเสริมการใช้จักรยานภายในมหาวิทยาลัย: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ได้นำเสนอแนวทางการส่งเสริมการใช้จักรยานภายในมหาวิทยาลัย 2 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีลักษณะคล้ายกันในด้านทำเลที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ในอดีตมหาวิทยาลัยทั้งสองมีนักศึกษาใช้จักรยานภายในมหาวิทยาลัยค่อนข้างมาก แต่ปัจจุบันรูปแบบการเดินทางของนักศึกษาได้เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้การใช้จักรยานภายในมหาวิทยาลัยลดน้อยลง การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเดินทางภายในมหาวิทยาลัย ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเดินทางด้วยจักรยานภายในมหาวิทยาลัย รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคของการเดินทางด้วยจักรยานภายในมหาวิทยาลัย เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการใช้จักรยานภายในมหาวิทยาลัยที่สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลในการวิจัยได้จากการสำรวจภาคสนาม เอกสารที่เกี่ยวข้อง และการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาที่ใช้จักรยานจำนวน 200 คน และไม่ใช้จักรยาน จำนวน 200 คน สรุปแนวทางการส่งเสริมการใช้จักรยานภายในมหาวิทยาลัยแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ แนวทางการส่งเสริมทางกายภาพและแนวทางการส่งเสริมด้านนโยบาย กล่าวคือ แนวทางการส่งเสริมทางกายภาพ มหาวิทยาลัยควรมีการจัดทำทางจักรยานให้มีความครอบคลุมและชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งการปรับปรุงเส้นทางจักรยานและจุดจอดจักรยานที่มีอยู่แล้ว และแนวทางการส่งเสริมทางด้านนโยบาย มหาวิทยาลัยควรมีการกำหนดแผนและนโยบายการส่งเสริมการใช้จักรยานอย่างต่อเนื่องและร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ การประชาสัมพันธ์และรณรงค์การใช้จักรยานภายในมหาวิทยาลัย การวางมาตรการควบคุมการจอดรถและการให้บริการจักรยานสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ: การใช้จักรยาน มหาวิทยาลัย
Abstract
This research is to introduce the guidelines for encouraging the usage of bicycles in 2 universities which are Burapha University and Silpakorn University, Sanam Chandra Palace Campus. These 2 universities have similar locations and sizes. In the past, there were a lot of bicycle usage, but with all the changes in modern life styles, there has much been less. The objectives of this research are to study how transportation in the 2 campuses goes, how students think about using bicycles and problems and difficulties of using bicycles in these 2 campuses in order to introduce campaigns which satisfies students’ needs in effective directions. Data was gathered by surveying the areas and studying relevant documents as well as using questionnaires for 200 bicycle users and 200 non-users. In conclusion, the guidelines for encouraging usage of bicycles have mainly been introduced in 2 aspects. First is physical guideline which is making new bicycle pathways and bicycle parking areas as well as improving the current ones. Second is launching plans and policies that promote usage of bicycles as well as efficiently coordinating with the working groups, publicize and campaign usage of bicycles in campus, control parking, and service the effectiveness in public bicycle.
Key words: Bicycle usage University
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Copyright Transfer Statement
The copyright of this article is transferred to Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang with effect if and when the article is accepted for publication. The copyright transfer covers the exclusive right to reproduce and distribute the article, including reprints, translations, photographic reproductions, electronic form (offline, online) or any other reproductions of similar nature.
The author warrants that this contribution is original and that he/she has full power to make this grant. The author signs for and accepts responsibility for releasing this material on behalf of any and all co-authors.