การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต : Physical Environmental Arrangement to Encourage Students’ Self-Directed Learning at Thammasat University, Rangsit Campus
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็น (Needs) ของนักศึกษาที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environmental Arrangement) ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เพื่อนำเสนอเป็นแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning) ของนักศึกษา กำหนดขอบเขตสภาพแวดล้อมทางกายภาพของมหาวิทยาลัยแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ บริเวณเรียน บริเวณบริการและสนับสนุนการเรียน บริเวณพักผ่อนหย่อนใจ และบริเวณที่พักอาศัย โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกคณะ โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) จำนวน 570 คน ในสัดส่วนใกล้เคียงกันและการจัดสนทนากลุ่มนักศึกษาผลการวิจัยพบว่านักศึกษามีความต้องการจำเป็นต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพของมหาวิทยาลัยทุกด้าน และสภาพแวดล้อมทางกายภาพได้มีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา โดยนักศึกษาที่มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองปานกลางมีความต้องการจำเป็นต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพสูงกว่านักศึกษาที่มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองสูง แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพของมหาวิทยาลัยจึงควรพิจารณาให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของนักศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพในพื้นที่ที่นักศึกษามีการใช้งานเป็นประจำให้สอดคล้องกับรูปแบบกิจกรรมเพื่อช่วยส่งเสริมให้นักศึกษามีการเรียนรู้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น
คำสำคัญ: สภาพแวดล้อมทางกายภาพ การเรียนรู้ด้วยตนเอง ความต้องการจำเป็นของนักศึกษา
Abstract
The objective of research was to study the needs of students in term of physical environmentalarrangement in Thammasat University, Rangsit Campus in order to present the guidance of physical environmentalarrangement in the university which supporting students’ self-directed learning. The physical environmentof university was separated into 4 sections; academic areas, service and supporting areas, recreation areasand residential areas. Data were from questionnaire from samples of bachelor students in every faculty byusing quota sampling which the total of 570 people in equally ratio and focus groups.The results of study indicated that students’ needs related to the physical environment of universityin every factor. In addition, the physical environment correlated with self-directed learning of students. In anotherword, students with moderate capability to self-directed learning required the factor of physical environmentrather than higher skilled students. As a result, the physical environmental arrangement should be consideredto relate with students’ needs. Especially, the physical environment was supposed to be renovated in the area where was usually used to have activities and match with what students really did to encourage them to havemore self-directed learning.
Keywords: Physical Environment Self-Directed Learning Students’ Needs
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Copyright Transfer Statement
The copyright of this article is transferred to Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang with effect if and when the article is accepted for publication. The copyright transfer covers the exclusive right to reproduce and distribute the article, including reprints, translations, photographic reproductions, electronic form (offline, online) or any other reproductions of similar nature.
The author warrants that this contribution is original and that he/she has full power to make this grant. The author signs for and accepts responsibility for releasing this material on behalf of any and all co-authors.