อิทธิพลของการใช้สีทาผนังภายนอกต่อการประหยัดพลังงานของบ้านพักอาศัยในกรุงเทพมหานคร : Energy Conservation in Single House due to The Effect of Paint Color: Case Bangkok

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์รุ่งโรจน์ วงศ์มหาศิริ
ดร.สราวุธ เวชกิจ

Abstract

บทคัดย่อ

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนได้จัดทำร่างกฎกระทรวงโดยการศึกษามาตรฐานทางพลังงานสำหรับวัสดุก่อสร้างชนิดต่างๆ อาทิเช่น ผนังสำเร็จรูป อิฐมวลเบา หลังคากระเบื้อง และแผ่นยิปซั่ม เป็นต้น เพื่อเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการให้เพิ่มกำลังการผลิตและคุณภาพด้านการประหยัดพลังงานพลังงานแก่วัสดุก่อสร้างต่างๆ

สีทาผนังเป็นอีกวัสดุหนึ่งที่ได้รับทุนการศึกษาดังกล่าวสีทาผนังเป็นวัสดุเคลือบผิวชั้นนอกสุดของอาคารที่รับรังสีดวงอาทิตย์โดยตรง จากการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องการใช้สีทาผนังที่มีค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับรังสีดวงอาทิตย์ที่แตกต่างกันมีผลต่อการรับพลังงานความร้อนจากรังสีดวงอาทิตย์ที่แตกต่างกันสีที่มีค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับรังสีดวงอาทิตย์ต่ำจะมีการรับพลังงานความร้อนเข้าสู่ผนังต่ำและสีที่มีค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับรังสีดวงอาทิตย์สูงจะมีการรับพลังงานความร้อนเข้าสู่ผนังสูง

ในการดำเนินการศึกษาทางผู้ศึกษาต้องการทราบถึงสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคารพักอาศัยที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการใช้สีทาผนังที่มีค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับรังสีดวงอาทิตย์ที่แตกต่างกัน จึงได้สร้างแบบจำลองของอาคารตัวแทน(Base Case Building) ขึ้นโดยโปรแกรมจำลองสภาพ DOE 2.1E โดยมีการปรับค่าคงที่ต่างๆ ของวัสดุให้สอดคล้องกับความเป็นจริง (Calibration) และทำการเปลี่ยนค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับรังสีดวงอาทิตย์ตั้งแต่ 10% ถึง 90% ร่วมกับการเปลี่ยนอัตราส่วนช่องเปิดที่มีกระจกของผนังภายนอกที่ค่า 10% และ 20 %

ผลการศึกษาพบว่าในอาคารพักอาศัยตัวแทนการปรับเปลี่ยนใช้สีทาผนังที่มีค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับรังสีดวงอาทิตย์ตั้งแต่ 10% ถึง 90% ในอัตราส่วนช่องเปิดที่มีกระจกของผนังภายนอกที่ค่า 10% มีช่วงการเปลี่ยนแปลงของพลังงานไฟฟ้าตลอดทั้งปี หรือสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 11% และในอัตราส่วนช่องเปิดที่มีกระจกของผนังภายนอกที่ค่า20% มีช่วงการเปลี่ยนแปลงของพลังงานไฟฟ้าตลอดทั้งปีหรือสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 9 %

คำสำคัญ: การประหยัดพลังงาน สีทาผนัง

Abstract

Department of Alternative Energy Development and Efficiency (DEDE) had been setting up regulationsfor energy conservation in many building’s materials (Precast Wall, Lightweight Concrete, Concrete Roof TileGypsum, etc.). These regulation would support producer’s sections for productivity and quality upgrade inmarket materials.

Paint colors were the next target in these regulations.Paint color is the front side of exterior wall that receive direct solar radiation. The using of paintcolor that has different solar reflectance will cause different heat transfer through the wall. High color’s reflectancewould receive a little heat transfer and lowcolor’s reflectance would receive more heat transfer.

This study wanted to know about the changed electrical energy of a single house when using differentsolar reflectance from paint color on the wall. DOE2.1E program was used to simulation, calibration andforecasting the changed electrical energy. Many scenario were set up by changing wall solar reflectance from10% to 90% with changing wall’s opening ratio from 10% to 20% and collecting the whole year’s electricalenergy.

The results shown that 10% opening base single house has the different of 11% in electrical energywhen changed wall’s solar reflectance from 10% - 90% and 20% opening base single house has the differentof 9% in electrical energy when changed wall’s solar reflectance from 10% - 90%

Keyword: Energy conservation Paint Color

Article Details

How to Cite
วงศ์มหาศิริ ผ., & เวชกิจ ด. (2014). อิทธิพลของการใช้สีทาผนังภายนอกต่อการประหยัดพลังงานของบ้านพักอาศัยในกรุงเทพมหานคร : Energy Conservation in Single House due to The Effect of Paint Color: Case Bangkok. Asian Creative Architecture, Art and Design, 18(1), 154–164. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/21567
Section
Academic Articles