การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากอัตลักษณ์ศิลปะพื้นบ้านสำหรับนักท่องเที่ยว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวและอัตลักษณ์ศิลปะพื้นบ้านมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากอัตลักษณ์ศิลปะพื้นบ้านสำหรับนักท่องเที่ยว กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่นำมาศึกษาจำนวน 22 ชิ้น ผลิตขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2563 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ของลักษณะของที่ระลึก กล่าวคือ เป็นผลิตภัณฑ์ที่กระตุ้นให้ระลึกถึงและเกิดความทรงจำกับอัตลักษณ์ศิลปะพื้นบ้านของสถานที่นั้น ๆ สะท้อนผ่านการออกแบบ โดยนำเอาอัตลักษณ์ที่โดดเด่นมาเป็นแรงบันดาลใจ เพื่อดึงดูดความต้องการซื้อของนักท่องเที่ยว โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ตาราง Matrix Analysis และแผนภาพ Image Scale: Product Positioning ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลจากคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกตัวอย่าง และสรุปผลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่นำอัตลักษณ์ศิลปะพื้นบ้านมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ แบ่งได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 แบบอนุรักษ์ มีลักษณะอนุรักษ์นิยมและความซับซ้อน กลุ่มที่ 2 แบบประยุกต์ มีลักษณะรูปแบบสมัยใหม่แต่ยังคงลักษณะซับซ้อนของศิลปะพื้นบ้านบางประการไว้ และกลุ่มที่ 3 แบบสมัยนิยม มีลักษณะสมัยใหม่และเรียบง่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มหรูหรา ใช้การออกแบบแบบลดคุณสมบัติเพื่อให้เรียบง่ายด้วยการลดทอนรายละเอียดจากแบบดั้งเดิม และกลุ่มน่ารักสดใส จะเน้นสีสันสดใสและเพิ่มรูปแบบการเล่น ส่วนองค์ประกอบของการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวและอัตลักษณ์ศิลปะพื้นบ้าน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ประเภทศิลปะพื้นบ้าน ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักสาน งานแกะสลัก งานฉลุหนัง งานผ้า งานกระดาษ งานโลหะ งานปูนปั้น งานจิตรกรรม สถาปัตยกรรม งานประพันธ์ 2) สิ่งที่ศิลปะพื้นบ้านสะท้อนถึง ได้แก่ เรื่องราวคติความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณี ประจำท้องถิ่น 3) คุณสมบัติผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและความต้องการของผู้บริโภค ได้แก่ การสื่อความหมาย วัสดุ ขนาดและการใช้งาน การออกแบบสร้างสรรค์ 4) ประเภทของการออกแบบ แบ่งตามประโยชน์ใช้สอย ได้แก่ ของใช้ เครื่องประดับ ของเล่น ของตกแต่ง ของบริโภค 5) ตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ระหว่างอนุรักษ์นิยมหรือสมัยใหม่ และซับซ้อนหรือเรียบง่าย 6) การออกแบบ เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ไม่ซ้ำ จะใช้กระบวนการเปลี่ยน การพลิก การเพิ่ม การลด และการผสมผสาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Copyright Transfer Statement
The copyright of this article is transferred to Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang with effect if and when the article is accepted for publication. The copyright transfer covers the exclusive right to reproduce and distribute the article, including reprints, translations, photographic reproductions, electronic form (offline, online) or any other reproductions of similar nature.
The author warrants that this contribution is original and that he/she has full power to make this grant. The author signs for and accepts responsibility for releasing this material on behalf of any and all co-authors.
References
Studio. (2563). หัตถกรรมเพลิน ๆ กับเส้นสายลายไผ่. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/247studiobkk/
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2564). 9 แนวโน้มใหม่ในอนาคตการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
คาเซ่ สตูดิโอ. (2564 ก). เหรา. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/KazeStudio
คาเซ่ สตูดิโอ. (2564 ข). เหรา X อนูบิส. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/KazeStudio
จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง. (2548). เอกสารคำสอน รายวิชาหลักการออกแบบ. คณะศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
จารุสิทธิ์ เครือจันทร์. (2563). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับของที่ระลึก. เข้าถึงได้จาก: http://netra.lpru.ac.th/~weta/w1/index.html
ชรัญญา สุวรรณเสรีรักษ์ และคณะ. (2561). ความต้องการของลูกค้าด้านส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์เซรามิก ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ. 28(1), 179-193.
นฤทธิ์ วัฒนภู. (2555). ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านไทย. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.
นวลน้อย บุญวงษ์. (2542). หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ทหาวิทยาลัย.
นวลลออ ทินานนท์. (2543). ศิลปะพื้นบ้านไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พรเทพ เลิศเทวศิริ. (2545). Design Education 1: รวมบทความและงานวิจัย ศาสตร์แห่งการออกแบบ. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส แอนด์ กราฟฟิค.
พรเทพ เลิศเทวศิริ. (2547). การคิดออกแบบและมิติทางวัฒนธรรม Design Education 2: รวมบทความวิชาการและบทความวิจัยทางการออกแบบ. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2546). ศิลปะชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
วุฒิ วัฒนสิน. (2541). ศิลปะระดับมัธยมศึกษา. ปัตตานี: ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ. (2550). การศึกษาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพมหานคร: สํานักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2563). เจาะเทรนด์โลก 2021: Reform This Moment. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์.
อรัญ วานิชกร. (2559). การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bai Tong collection. (2561). ต่างหูใบตองพับ. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/LaeSiam/
CULTEES. (2564). กระสือ Plastic. เข้าถึงได้จาก: https://cultees.co/
Globalsources. (2561). Azo-free dye. Retrieved from: https://www.globalsources.com/gsol/I/Cardboard-gift/a/9000000147615.htm
Guesthouse Hitotomaru. (2564). Bookmark. Retrieved from: https://www.facebook.com/hitotomaru/
HOLEN. (2564 ก). กระเป๋าถือตุ๊กตุ๊ก ออลนิว. Retrieved from: https://www.facebook.com/holenhello/
HOLEN. (2564 ข). ยาดมสมุนไพรรามเกียรติ์. Retrieved from: https://www.facebook.com/holenhello/
Kattara Thaitally. (2563). กระเป๋าผ้าแรงบันดาลใจจากถาดสังกะสี. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/KATTARAofficial/
Ke, W. (2020). Exploration of Design Ideas of Local Cultural and Creative Products Based on Traditional Culture. International Conference on Modern Educational Technology and Innovation and Entrepreneurship (ICMETIE 2020). (pp. 85-88). China: Atlantis Press.
Kobayashi, S. (1998). Colorist: A Practical Handbook for Personal and Professional Use. Japan: Kodansha International.
LaeSiam. (2563). ทอเทปแพรวา. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/LaeSiam/
Lively Ware. (2564). ปิ่นโตเซรามิกส์. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/livelyware
Liyan, B. (2019). Research on the Design of Cultural Creativity Products Based on Zigong Well Salt Culture. Earth and Environmental Science. 223(2), 1-6.
MCA Store. (2564). Face Expression Mobile. Retrieved from: https://www.mcachicagostore.org/shop/face-expression-mobile-59047
Milani. (2562). Makemaki Sushi Game, Multicolor. Retrieved from: https://www.amazon.com/Milani-IM6602-Makemaki-Sushi-Multicolor/dp/B01GJD7Y2I/ref=cm_cr_arp_d_product_top?ie=UTF8
Million Girls Project. (2560). Un-burera. Retrieved from: https://www.facebook.com/japantourlist/posts/1496608027189137
Museum Selection. (2017 a). OXFORD CARITAS PANEL. Retrieved from: https://www.museumselection.co.uk/home-accessories/oxford-caritas-panel/?refSrc=14637&nosto=productpage-nosto-1
Museum Selection. (2021 b). THE WORLD OF SHAKESPEARE JIGSAW. Retrieved from: https://www.museumselection.co.uk/all-gifts/jigsaws/the-world-of-shakespeare-jigsaw/
Museum Victoria Store. (2564). Australian Animal Ornament Box Set. Retrieved from: https://store.museumsvictoria.com.au/collections/cards/products/australian-animal-ornament-box-set
Mutelu. (2564). โน๊ตลายยันต์เมตตาหานิยม. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/mutelusmile/posts/
Osgood, C.E., Suci, G.J. and Tannenbaum, P.H. (1957). The Measurement of Meaning. USA: University of Illinois Press.
Shuai, Y. (2018). Analysis of Modeling Language and Visual Culture of Russian Tourist Souvenirs Taking Heihe Russian Tourist Souvenirs as an Example. International Conference on Education & Training, Management and Humanities Science 2018 (ETMHS 2018). (pp. 435-438). China: Clausius Scientific Press.
Sweepy. (2564). ที่ใส่จดหมาย. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/sweepybysaj
Tomikohan. (2564). Tomikohan Delicious. Retrieved from: https://www.facebook.com/tonarijapanth/posts/
Wunderkammer.studio. (2564). On the cloud. Retrieved from: https://www.facebook.com/wunderkammer.studio/