การวิเคราะห์หาพื้นที่สีเขียวยั่งยืนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาพื้นที่สีเขียวยั่งยืนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) ที่ตั้งในเทศบาลนครนครราชสีมาของจังหวัดนครราชสีมา ภายใต้แผนปฏิบัติการเชิงนโยบายด้านการจัดการพื้นที่สีเขียวชุมชนเมืองอย่างยั่งยืนของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ซึ่งเชื่อมโยงกับนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวของมทร.อีสาน ในด้านการรักษาพื้นที่สีเขียวและพืชพรรณดั้งเดิม โดยมีขั้นตอนของการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 1) การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การศึกษาพื้นที่สีเขียวยั่งยืนในเมือง และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ 2) การรวบรวมและการสำรวจข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลพื้นที่สีเขียวใน มทร.อีสาน จากภาพถ่ายทางอากาศในโปรแกรม Google Earth เพื่อนำมาสำรวจพรรณไม้ยืนต้นด้วยเว็บ ArcGIS Survey123 3) การเตรียมข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ได้จากข้อ (2) เป็นชั้นข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยโปรแกรม ArcGIS 4) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ในโปรแกรม ArcGIS ด้วยเทคนิคการซ้อนทับระหว่างผลที่ได้ในข้อ (3) เพื่อวิเคราะห์หาพื้นที่สีเขียวยั่งยืน และ (5) การรายงานและสรุปผลข้อมูล ได้แก่ แผนที่ ตาราง และการบรรยายเพื่อนำเสนองานเชิงพื้นที่
ผลการศึกษาพบว่ามีพื้นที่สีเขียว 217.74 ไร่ (ร้อยละ 65.98) และไม่ใช่พื้นที่สีเขียว 112.26 ไร่ (ร้อยละ 34.02) ของพื้นที่ศึกษา (330.00 ไร่) และจากผลของการสำรวจพรรณไม้ยืนต้นตามที่กำหนดในแต่ละประเภทพื้นที่สีเขียวในพื้นที่ศึกษา เป็นพื้นที่สีเขียวยั่งยืน 170.98 ไร่ (ร้อยละ 51.82) โดยมี 1,239 จาก 1,363 ต้น (ร้อยละ 90.90) และ 57 จาก 58 ชนิด (ร้อยละ 98.28) โดยส่วนมากของพื้นที่สีเขียวยั่งยืนพบในประเภทริ้วยาว ริมทางสัญจร (ร้อยละ 100.00) และประเภทบริการด้านนันทนาการและความงามทางภูมิทัศน์ (ร้อยละ 91.88) ทั้งนี้สัดส่วนพื้นที่สีเขียวยั่งยืนของ มทร.อีสาน ที่วิเคราะห์ได้นี้มีความสอดคล้องกับแผนฯ ของ สผ. ดังนั้นทางมทร.อีสานจะนำไปพัฒนาและปรับปรุงด้านการดูแลและรักษาพื้นที่สีเขียวยั่งยืนเหล่านี้ต่อไป เพราะเป็นหนึ่งภารกิจที่สำคัญของนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวในด้านการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานของมทร.อีสาน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Copyright Transfer Statement
The copyright of this article is transferred to Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang with effect if and when the article is accepted for publication. The copyright transfer covers the exclusive right to reproduce and distribute the article, including reprints, translations, photographic reproductions, electronic form (offline, online) or any other reproductions of similar nature.
The author warrants that this contribution is original and that he/she has full power to make this grant. The author signs for and accepts responsibility for releasing this material on behalf of any and all co-authors.
References
กรมชลประทาน. (2559). แอปพลิเคชั่นพร้อมใช้งาน Survey123 for ArcGIS. เข้าถึงได้จาก: http://water.rid.go.th/hydhome/ma/pictures/2559%20%202559/2559%202559%202559/5531.pdf
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2564). คู่มือการใช้งาน Application Survey123 for ArcGIS. เข้าถึงได้จาก: https://gisportal.pea.co.th/portal/home
ชรัยย์รัชฎ์ บวรวัฒนะ และณัชวิชญ์ ติกุล. (2558). แนวทางการประเมินการจัดการพื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในสถาบันอุดมศึกษา. เข้าถึงได้จาก https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MTg2NDY5&method=inline
ทิฆัมพร หัดขุนทด เยาวเรศ จันทะคัต และปฐมาวดี คุ้นกระโทก. (2563). การศึกษาพื้นที่สีเขียวด้วยหลักการการจัดการพื้นที่สีเขียวชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา (ศูนย์กลาง). วารสารวิชาการเพื่อพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่. 1(3), 1-12.
ปุณยนุช รุธิรโก และชนิษฎา ชูสุข. (2562). การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการหาพื้นที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อนันนทนาการในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่และเทศบาลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 21(2), 10-21.
พงศ์ปกรณ์ ผิวผ่อง, สุรินทร์ อ้นพรม และ ศศิยา ศิริพานิช. (2561). แนวทางการจัดการพื้นที่สีเขียวในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารการจัดการป่าไม้, 12(23), 77-87.
พรพิชชา นันตา. (2563). แนวทางการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และการประเมินศักยภาพพื้นที่สีเขียวในเขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร. สาระศาสตร์, 3(4), 908-920.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2547). รายงานฉบับสมบูรณ์ มาตรการในการเพิ่มและการจัดการพื้นที่สีเขียวในเขตชุมชนอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. (2561). ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เรื่อง นโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว. เข้าถึงได้จาก: https://www.fte.rmuti.ac.th/main/sites/default/files/ประกาศ%20-%20นโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว.pdf
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. (2557). การจัดทำมาตรฐานพื้นที่สีเขียวในเมืองและชนิดพรรณไม้ที่เหมาะสมกับพื้นที่สีเขียวภายใต้โครงการพัฒนาเมืองและชุมชนเพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ปีงบประมาณ 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
เยาวเรศ จันทะคัต, เสกสรร มังคลานันท์, พรทิพย์ เอื้อธรรมถาวร, วรพล อารีย์, จอมภัค จันทะคัต และพงศ์พันธุ์ จันทะคัต. (2564a). รายงานฉบับสมบูรณ์ แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
เยาวเรศ จันทะคัต และ พงศ์พันธุ์ จันทะคัต. (2563). การเปรียบเทียบเชิงพื้นที่และเวลาเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงและความหลากหลายการใช้ที่ดินในเทศบาลนครนครราชสีมา อำเภอเมือง และจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 29(4), 728-740.
วราลักษณ์ คงอ้วน และ พุฒพรรณี ศีตะจิตต์. (2556). การจัดการพื้นที่สีเขียวในสถาบันการศึกษาตาม แผนปฏิบัติการเชิงนโยบายด้านการจัดการพื้นที่สีเขียวชุมชนเมืองอยางยั่งยืน. เข้าถึงได้จาก: http://www.arch.chula.ac.th/journal/files/article/a4pjcHtHRwThu90740.pdf
วราลักษณ์ คงอ้วน (2554). การจัดการพื้นที่สีเขียวในสถาบันศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., 13(2), 74-87.
ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย. (2542). ความหมายของคำว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) GIS. เข้าถึงได้จาก: http://www.gisthai.org/about-gis/gis.html
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน). (2562). ระบบภูมิสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. เข้าถึงได้จาก: https://www.hii.or.th/งานของเรา/งานวิจัยและพัฒนา/ 2019/10/02/ระบบภูมิสารสนเทศผ่านแค
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). พื้นที่สีเขียว. เข้าถึงได้จาก: https://www.onep.go.th/พื้นที่สีเขียว
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). แนวทางการขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน. เข้าถึงได้จาก: https://www.dol.go.th/plan/DocLib2/eurban-publi.pdf
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2550). แผนปฏิบัติการเชิงนโยบายด้านการจัดการพื้นที่สีเขียวชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน. เข้าถึงได้จาก: https://www.onep.go.th/book/แผนปฏิบัติการเชิงนโยบา/.
Bartlett, P.F. and Chase, G.W. (2013). Sustainability in Higher Education: Stories and Strategies for Transformation. Massachusetts: The MIT Press.
Bogerd, N., Dijkstra, S.C., Seidell, J.C. and Maas, J. (2018). Greenery in the university environment: Students’ preferences and perceived restoration likelihood. PLoS One 13(2): 1-19.
Campbell, J.B. (1987). Introduction to Remote Sensing. New York: The Guilford Press.
DAYEH University Sustainability. (2021). Current Situation on the Promotion of “Green University”—Da-yeh University: The Greenest University in Taiwan. Retrieved from http://green.dyu.edu.tw/en_2120.php
ESRI. (2019). Overlay analysis. Retrieved from: https://desktop.arcgis.com/en/arcmap/10.6/analyze/commonly-used-tools/overlay-analysis.htm
ESRI. (2016). Survey123 for ArcGIS. Retrieved from: https://webportal.bangkok.go.th/upload/user/00000138/train2563/Survey123%20For%20ArcGis.pdf
ESRI. (2021). ArcGIS survey 123. Retrieved from: https://www.esri.com/en-us/arcgis/products/arcgis- survey123/overview#:~:text=ArcGIS%20Survey123%20is%20a%20complete,when%20disconnected%20from%20the%20Internet
Fitzpatrick-Lins, K. (1981). Comparison of Sampling Procedures and Data Analysis for a Land-use and Land-cover Map. Photogrammetric Engineering & Remote Sensing. 55(4), 475-478.
Haas, W. D., Hassink, J. and Stuiver, M. (2021). The Role of Urban Green Space in Promoting Inclusion: Experiences
From the Netherlands. Retrieved from: https://www.wur.nl/en/Publication-details.htm?publicationId=publication-way-353836303930
Jantakat, Y. and Juntakut, P. (2020). Assessing Green City-based Tree Cover Change in Nakhonratchasima City Municipality. International Journal of Building, Urban, Interior and Landscape Technology (BUILT), 16, 33-46.
Jensen, J. R. (2007). Remote Sensing of the Environment: An Earth Resource Perspective. Massachusetts: Pearson Education, Inc.
Lang, R. E. and Dhavale, D. (2005). Beyond Megalopolis: Exploring America ond Megalopolis: Exploring America’s New “Megapolitans New “Megapolitan” Geography. Retrieved from: https://digitalscholarship.unlv.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1038&context=brookings_pubs
McFarland, A. L., Waliczek, T. M., and Zajicek, J. M.. (2008). The relationship between student use of campus green spaces and perceptions of quality of life. Horttechnology, 18 (2), 232-238.
Rajamangala University of Technology Isan. (2021). History of University. Retrieved from: https://rmuti.ac.th/main/about/history
The University of Sheffield. (2021). Sustainability at Sheffield. Retrieved from: https://www.sheffield.ac.uk/sustainability/green-spaces
UNESCO. (2021). Sustainable Development. Retrieved from: https://en.unesco.org/themes/education-sustainable-development/what-is-esd/sd. University of Indonesia. (2023). What is UI GreenMetric?. Retrieved from: https://greenmetric.ui.ac.id/about/welcome