แนวทางการออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อรองรับชีวิตปกติวิถีใหม่ กรณีศึกษาพื้นที่สาธารณะริมกว๊านพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อหาแนวทางการออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อรองรับชีวิตปกติวิถีใหม่ กรณีศึกษาพื้นที่สาธารณะริมกว๊านพะเยา เนื้อที่ 17,800 ตารางเมตร โดยทำการศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสภาพการใช้งานปัจจุบัน ศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้งานพื้นที่ ศึกษาความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอย และศึกษาแนวความคิดการออกแบบพื้นที่สาธารณะตามแนวความคิดชีวิตปกติใหม่ เพื่อทำการสรุปสู่การออกแบบ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ ภาพถ่ายสภาพแวดล้อมปัจจุบันและภาพถ่ายทางอากาศ การสังเกตพฤติกรรมผู้ใช้งานด้วยแบบบันทึกพฤติกรรมจำนวน 100 ตัวอย่าง และแบบสอบถามความต้องการประโยชน์ใช้สอยโดยสุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานในพื้นที่จำนวน 300 ตัวอย่าง ผลการศึกษา พบว่า สภาพปัจจุบันมีลักษณะพื้นที่เป็นพื้นที่เปิดและลานโล่งกว้าง ไม่มีระบบสัญจรภายในพื้นที่มีพื้นที่กิจกรรมกีฬาแบบกลุ่มและอุปกรณ์ออกกำลังกายตั้งวางเป็นบางจุด พฤติกรรมผู้เข้าใช้งานพื้นที่เป็นลักษณะการใช้พื้นที่เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและการออกกำลังกายด้วยอุปกรณ์ การศึกษาความต้องการผู้ใช้งานมีความต้องการการออกแบบพื้นที่เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ต้องการระบบการสัญจรเพื่อการออกกำลังกายด้วยการเดินและวิ่งและพื้นที่ชมภูมิทัศน์ การสรุปแนวความคิดการออกแบบพื้นที่สาธารณะในแนวความคิดชีวิตปกติใหม่ ควรมีการออกแบบพื้นที่ให้มีความยืดหยุ่นมีทางเข้าออกพื้นที่หลายช่องทาง ระบบสัญจรภายในพื้นที่ควรมีลักษณะเดินเส้นทางเดียว ระยะช่องทางเดินมีความกว้างมากขึ้น การเข้าถึงพื้นที่ใช้สอยควรออกแบบให้เข้าถึงพื้นที่กิจกรรมเดี่ยวก่อนพื้นที่สำหรับกิจกรรมกลุ่ม ควรมีการเพิ่มพื้นที่สีเขียว การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ระหว่างบุคคลกับธรรมชาติ การยืดหยุ่นของพื้นที่ใช้งานที่สามารถปรับรูปแบบได้หลากหลาย การเพิ่มพื้นที่เพื่อการส่งเสริมธุรกิจท้องถิ่น แนวทางการออกแบบพื้นที่การแบ่งพื้นที่ใช้สอยเรียงลำดับจากทางเข้าหลัก โดยมีการเรียงลำดับการเข้าถึงลำดับแรกพื้นที่เพื่อการชมภูมิทัศน์และพักผ่อนหย่อนใจแบบพื้นที่นั่งเดี่ยว การเข้าถึงลำดับสองพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจแบบกลุ่ม การเข้าถึงลำดับสามพื้นที่ออกกำลังแบบเดี่ยว การเข้าถึงลำดับสี่พื้นที่ออกกำลังกายแบบกลุ่ม และการเข้าถึงลำดับห้าพื้นที่เพื่อกิจกรรมการกีฬาแบบทีม โดยทุกพื้นที่มีการเชื่อมโยงพื้นที่ระหว่างพื้นที่กิจกรรมกับพื้นที่สีเขียว
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Copyright Transfer Statement
The copyright of this article is transferred to Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang with effect if and when the article is accepted for publication. The copyright transfer covers the exclusive right to reproduce and distribute the article, including reprints, translations, photographic reproductions, electronic form (offline, online) or any other reproductions of similar nature.
The author warrants that this contribution is original and that he/she has full power to make this grant. The author signs for and accepts responsibility for releasing this material on behalf of any and all co-authors.
References
Chaijan, S., & Laiprakobsup, N. (2016). Public concepts of urban public space [doctoral dissertation]. Kasetsart University. (in Thai)
Chudasri, T. (2014). The concept for approoriatr public space to the behavior of the generation Y [Master dissertation]. Silpakorn University. (in Thai)
Chomchưrn, P. (2021). The spread of covid-19 and the use of public space and urbanization. The Office of the council of State of Thailand. (in Thai)
Department of local administration Thailand. (2023). Standards for recreational facilities. https://www.dla.go.th/work/e_book/eb1/stan18/18.htm (in Thai)
Gubić, I, & Wolff, M. (2022). Use and design of public green spaces in Serbian cities during the covid-19 pandemic. Habitat International, 128(102651), 1-9. https://doi.org/10.1016/j.habitatint.2022.102651
Guo X., Tu X., Huang G., Fang X., Kong L., Wu J. (2022). Urban greenspace helps ameliorate people's negative sentiments during the COVID-19 pandemic: The case of Beijing, Building and Environment, 223(109449), 1-12. https://doi.org/10.1016/j.buildenv.2022.109449
Honey-Rosés, J., Anguelovski, I., Chireh, V. K., Daher, C., Konijnendijk van den Bosch, C., Litt, J. S., … Nieuwenhuijsen, M. J. (2021). The impact of COVID-19 on public space: an early review of the emerging questions – design, perceptions and inequities. Cities & Health, 5(sup1), S263–S279. https://doi.org/10.1080/23748834.2020.1780074
Horayangkura, V. (2015). Architectural programming for the creation of built environment. Bangkok.
Horayangkura, V. (2013). Environmental psychology: a basis for creation and management of livable environment. Bangkok.
Khateeb, S. E., & Shawket, I. M. (2022). A new perception; Generating well-being urban public spaces after the era of pandemics, Developments in the Built Environment, 9(2022), 1-9. https://doi.org/10.1016/j.dibe.2021.100065
Meng, L., & Wen, K. H. (2023) An overview and trend analysis of research on the relationship between urban streets and residents' health in China pre- and post COVID-19 pandemic. Front. Public Health 11(1126656). https://doi.org/10.3389/fpubh.2023.1126656
Sepe M. (2021). Covid-19 pandemic and public spaces: Improving quality and flexibility for healthier places. Urban Des Int, 26(2), 159–73. https://doi.org/10.1057/s41289-021-00153-x
Somsuk, P. (1994). Locational analysis of an open space for recreation in the Chiang Mai municipal area [Master dissertation]. Chiang Mai University. (in Thai)
Sukkan, M., & Kimnuan, P. (2021). The activities and physical factors of public space in Nakhon Si Thammarat Old Town. Journal of the Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang, 32(1), 28-42. (in Thai)
Toommala, P., Naivinit, W., Warinsitdhikul, P., & Warinsitdhikul, C. (2021). The process of collecting Information on the needs and behavior of Warin Chamrap Municipality Park users with Information technology to be used to determine the design guidelines. academic conference Ubon Ratchathani University, Thailand. (in Thai)
Ruki, U. A., & Wulandari, A. A. A. (2021). Post covid-19 public space adaption: a case study of building entrances in Jakarta. IOP Conf. Series: Earth and Environmental Science, 794(012243), 1-9. https://doi.org/10.1088/1755-1315/794/1/012243
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. Harper & Row.