การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสนเทศสามมิติและสื่อบูรณาการ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Main Article Content

อภินภัศ จิตรกร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา และคุณลักษณะเฉพาะด้านตามผลลัพธ์การเรียนรู้อันพึงประสงค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ในสภาพความเป็นจริงและสภาพที่คาดหวัง 2) ศึกษาค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของหลักสูตรฯ 3) ศึกษาระดับความสำคัญของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของหลักสูตรฯ 4) ศึกษาความคิดเห็นของคณาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้เชี่ยวชาญต่อการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ กลุ่มประชากรคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1/2565 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการออกแบบสนเทศสามมิติและสื่อบูรณาการ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวน 33 คน อาจารย์ประจำหลักสูตรจำนวน 6 คน และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน เครื่องมือในการวิจัย 1)แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 2) แบบสอบถามอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความสำคัญ


ผลการวิจัย 1) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาในสภาพความเป็นจริงอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.87, S.D.= 0.93) และในสภาพที่คาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.71, S.D. = 0.55) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นคุณลักษณะเฉพาะด้านในสภาพความเป็นจริงอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.76, S.D. = 0.91) และในสภาพที่คาดหวังอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.36, S.D. = 0.66) 2) ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นตามมาตรฐานคุณวุฒิมีค่าเท่ากับ 0.22 และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นคุณลักษณะเฉพาะด้าน มีค่าเท่ากับ 0.24 3) ระดับความสำคัญของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.60, S.D. = 0.84) และระดับความสำคัญของคุณลักษณะเฉพาะด้านที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.31, S.D. = 0.87) ผลความคิดเห็นจากแบบสอบถามอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้เชี่ยวชาญพบว่า ควรพัฒนาผู้เรียนด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านจริยธรรม และด้านลักษณะบุคคลควบคู่กัน โดยบูรณาการรายวิชาในหลักสูตรหลายรายวิชาเข้าด้วยกัน ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะพื้นฐานผู้เรียนให้รอบด้าน และมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีจริยธรรมและทักษะด้านลักษณะบุคคลเป็นพื้นฐาน

Article Details

How to Cite
จิตรกร อ. (2023). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสนเทศสามมิติและสื่อบูรณาการ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. Asian Creative Architecture, Art and Design, 36(2), 1–15. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/265640
บท
บทความวิจัย

References

Ekwutwongsa, S. (2016). A development design learning book on analytical thinking for product design. The Fine and Applied Arts Journal, 11(1), 105-126. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/233831/160716 (in Thai)

Khlaichom, S., Lo̜meng, A., Pho̜wongpinyo, N., Thanchaichon, S., & Paenklam, K. (2022). The developing potential for teaching management in architecture design by project -based learning. Buabandit Journal of Education Administration, 22(2), 15-24. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD/article/view/250603/176032 (in Thai)

Maun, B. (2016). Effective management of teaching and learning at the higher education level. Journal of Southern Technology, 9(2), 169-176. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/82156 (in Thai)

Ministry of Education, Office of the Basic Education Commission. (2015). 21st Century skills. Ebook. https://secondary.obec.go.th/newweb/wp-content/uploads/2017/12/E-CEN21book.pdf (in Thai)

Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. (2022, March 31). Ministerial regulations

on higher education qualification standards. https://www.mhesi.go.th/images/2565/T_1390028.PDF (in Thai)

Orathai, P., & Tengtrakoon, S. (2011). An educational needs assessment for a Bachelor of Nursing Science program as perceived by Ramathibodi nursing graduates. Rama Nurse Journal, 17(3), 463-477. https://he02.tci- thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/9051/7710 (in Thai)

Toemyuan, T. (2005). A development of an effective instructional model for bachelor’ s degree program in higher education institute under the Jurisdiction of Fine arts department [Doctoral dissertation, Srinakharinwirot University]. http://thesis.swu.ac.th/swudis/Hi_Ed/Tawat_T.pdf (in Thai)

Wongwanit, S. (2015). Needs assessment research. Chulalongkorn University Press. (in Thai)