มูลค่าก่อสร้างของอาคารเขียว (The Construction Cost of Green Building)

Main Article Content

บุญชัย พันธุ์ธีรานุรักษ์
ผศ.ดร.ชนิกานต์ ยิ้มประยูร

Abstract

    งานวิจัยนี้ได้ทำการเปรียบเทียบมูลค่าการก่อสร้างของอาคารที่ออกแบบก่อสร้างเพื่อให้ได้คะแนนตามเกณฑ์ LEED 2009 for New Construction and Major Renovations ในประเทศไทยที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและได้รับการรับรองในระดับ Platinum อันเป็นระดับสูงสุด หรืออนุรักษ์พลังงานและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้มากที่สุดจำนวน 3 โครงการ กับมูลค่าการก่อสร้างของอาคารเดียวกันที่ออกแบบก่อสร้างตามความรู้พื้นฐานงานออกแบบก่อสร้างตามปกติ โดยได้แสดงให้เห็นว่าค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจริงในการทำอาคารเขียวตามเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นเมื่อเทียบกับการทำอาคารเดียวกันโดยวิธีปกติทั่วไปมีค่าเท่ากับ 32 และ 40 เปอร์เซ็นต์สำหรับอาคารขนาดเล็ก (พื้นที่ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร) โดยที่มูลค่าส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นเป็นค่าใช้จ่ายในกระบวนการขอประเมินอาคารเขียว ค่าอุปกรณ์งานระบบที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อลดการใช้พลังงาน และเพื่อคุณภาพอากาศที่ดี ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับค่าก่อสร้างตามปกติของอาคารเดียวกันที่มีขนาดพื้นที่อาคารไม่มาก จึงเป็นอัตราส่วนที่ค่อนข้างสูง สำหรับอาคารขนาดกลาง (พื้นที่ไม่เกิน 10,000 ตารางเมตร) การทำอาคารเขียวมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก
การสร้างอาคารเดียวกันโดยวิธีการปกติในอัตราส่วนที่ไม่สูงมาก เท่ากับ 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวและบทวิเคราะห์สามารถนำไปเป็นข้อมูลประกอบแก่ผู้ออกแบบ ผู้ประกอบการ ในการตัดสินใจทำอาคารเขียว อันเป็นแนวทางที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สมควรได้รับการส่งเสริมให้ถูกนำไปปฏิบัติกันในสังคมอย่างแพร่หลาย

คำสำคัญ: ค่าก่อสร้าง อาคารเขียว

      This research has compared the construction cost of 3 buildings designed and constructed to achieve the LEED 2009 for New Construction and Major Renovations criteria to typical construction practice buildings with the same building size in Thailand. The studied projects have been completed and certified in Platinum level which is the highest green building certified level. The exact additional construction costs of green building as per the mentioned scenario compared to the same building with typical design and construction methodare 32 and 40 percent for small size buildings (less than 1,000 square meters) and 5 percent for medium size building (less than 10,000 square meters). Most of the additional costs are LEED consultant service fee, high efficient mechanical and engineering equipment for energy conservation and indoor environmental quality. The result values are high for small projects because the costs of the additional works were compared to the small construction area. These results and analysis can be used by the designers, developers for decision making of the green building construction which has been accepted as a good practice that should be encouraged to implement popularly.

Keywords: Construction cost Green building

Article Details

How to Cite
พันธุ์ธีรานุรักษ์ บ., & ยิ้มประยูร ผ. (2015). มูลค่าก่อสร้างของอาคารเขียว (The Construction Cost of Green Building). Asian Creative Architecture, Art and Design, 19(2), 13–22. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/30285
Section
Research Articles