โครงการพัฒนาแผนที่ทางวัฒนธรรม ของงานออกแบบโลหะภัณฑ์ในระดับหมู่บ้าน เพื่อจัดทำดัชนีสู่ความสำเร็จเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยมุ่งสร้างความเข้มแข็งของชุมชน สังคมสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมประสงค์ รุ่งเรือง

Abstract

     โครงการพัฒนาแผนที่ทางวัฒนธรรม ของงานออกแบบโลหะภัณฑ์ในระดับหมู่บ้าน เพื่อจัดทำดัชนีสู่ความสำเร็จเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยมุ่งสร้างความเข้มแข็งของชุมชน สังคมสร้างสรรค์ อย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดดัชนีสู่ความสำเร็จเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Successful Creativity Index) ของโลหะภัณฑ์ โดยนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นสังคมสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน โลหะภัณฑ์ของชุมชนคงภูมิปัญญาท้องถิ่น (Endowment) ตามรากฐานความเป็นมาของชุมชนโดยพัฒนาเป็นฐานข้อมูลในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของโลหะภัณฑ์แสดงเป็นแผนที่ทางวัฒนธรรม วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงเหตุผล (Causal research) โดยเก็บข้อมูลจากวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตโลหะภัณฑ์ จำแนก 4 ประเภท ดังนี้ 1) เครื่องประดับ(ศิราภรณ์และถนิมพิมพาภรณ์) 2) เครื่องมือเพื่อการใช้งาน 3) ภาชนะบนโต๊ะอาหารและครัว 4) ของตกแต่งและอื่นๆ 313 ตัวอย่าง แบ่งเป็นพื้นที่ตามภูมิศาสตร์ กำหนดวิสาหกิจชุมชนเป้าหมาย และกลุ่มตัวอย่าง การพัฒนาและจัดทำเครือข่ายโดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูล ประมวลผล และอภิปรายผลเพื่อแสดง ระดับดัชนีสู่ความสำเร็จเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (SCI) ประกอบข้อมูลระบุพิกัดภูมิศาสตร์ ผลการวิจัยทางสถิติเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ (ข้อมูล) กับตัวแปรตาม (ข้อมูลช่วง) ใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ (Analysis of Correlation) ด้วยวิธี Pearson Product Moment โดยวิธี Forward Stepwise พบว่าวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตโลหะภัณฑ์มีกิจกรรมที่รังสรรค์ สังคมสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์ความยั่งยืนของชุมชนนั้นๆ จากสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้แทนส่วนราชการ ผู้นำชุมชน และผู้รู้ในท้องถิ่น เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่าปัจจัยที่เป็นระดับดัชนีสู่ความสำเร็จเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (SCI) ทั้งผลการศึกษาเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ มีความสอดคล้องกัน สามารถเรียงลำดับความสำคัญตามผลเป็น 5 ระดับดัชนีสู่ความยั่งยืน ดังนี้ ระดับดัชนีที่ 1 วิสาหกิจชุมชนที่ผลประกอบการมีกำไรในทางบัญชีจำนวน 53 ตัวอย่าง ระดับดัชนีที่ 2 วิสาหกิจมีความเข้มแข็งของชุมชน สังคม และเศรษฐกิจ มีความสมดุลของวิสาหกิจชุมชนจำนวน 34 ตัวอย่าง ระดับดัชนีที่ 3 วิสาหกิจชุมชนมีความโปร่งใสเป็นธรรมาภิบาลจำนวน 78 ตัวอย่าง ระดับดัชนีที่ 4 วิสาหกิจชุมชนมีความปรองดองสมานฉันท์แนวทางปฏิบัติที่ดี รับผิดชอบสังคม และสิ่งแวดล้อมจำนวน 47 ตัวอย่างระดับดัชนีที่ 5 วิสาหกิจชุมชนนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ในภาคธุรกิจเกิดผลกำไรทางสังคมจำนวน 101 ตัวอย่าง จากผลการศึกษา สามารถอธิบายว่า วิสาหกิจโลหะภัณฑ์ในระดับหมู่บ้าน ที่เป็นชุมชนเข้มแข็ง และเป็นสังคมสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนนั้นวิสาหกิจชุมชนต้องมีการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ มีความรับผิดชอบต่อสังคม คงอยู่อย่างสมานฉันท์ ให้ความสำคัญต่อคู่ค้า คู่แข่งการค้า ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม จนก่อให้เกิดกำไรทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Profit) ที่ส่งผลให้สังคมอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืน


คำสำคัญ: ดัชนีสู่ความสำเร็จเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แผนที่ทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์งานให้เกิดมูลค่า

     The project for cultural mapping development of metal product design for local responsiveness in the successful creativity index of creative economy to strengthen creative societies stability. Purpose. Indicators of success for the creative economy (SCI.) of metal products. The concept of sufficiency economy. To create a sustainable society. Metal products of the Endowment as the foundation of the community. By developing a database on the Internet for metal products is a cultural map . Learn how to Causal research were collected
from the community that produced by four types of metal products. 1) The jewelry. 2) The tool to use. 3) Tableware and kitchen utensils. 4) The decorative item. On 313 samples of another geographical areas.The target community. And samples Development and networking. The qualitative and quantitative data
collection. Data analysis process and discusses the results to show. The index is a successful creative economy (SCI) the information specified geographic coordinates. The results of statistical correlation between independent variables on the dependent variable for the analysis of linear Multiple Regression Analysis and Analysis of Correlation with the ways Pearson Product Moment. Forward Stepwise method that produces metal product community has created. Social work for the creative economy. Concordant Sustainability of that community. In-depth interviews. Government representatives, community leaders and local scholar. The qualitative data. Found that the index is a successful creative economy (SCI).The quantitative results of the study. And qualitative. Consistent. Can prioritize according to 5 levels . The level 1st is an index for community that results in a Business Profit of 53 samples. The level 2nd enterprises are a strong indicator of community, social and economic needs of the community of 34 samples. The level 3rd for community Enterprise is a good and transparent governance of the 78 samples. The level 4th the index is a harmonious community that practices reconciliation. Social responsibility and environmental samples were 47 samples .The 5th the index is the philosophy of Sufficiency Economy Community Enterprise application in the social sector, the profit of 101 samples. The results of the study. Able to explain. Metal product enterprise in the village. A strong community. The creation of sustainable social and community enterprises that require the application of sufficiency economy.With social responsibility. Their partners. Community, social and Competitive trading Environment. The realization of Economic Profit that results in a peaceful and sustainable society.


Keywords: Successful Creativity Index Cultural Mapping Value Creation

Article Details

How to Cite
รุ่งเรือง ผ. (2015). โครงการพัฒนาแผนที่ทางวัฒนธรรม ของงานออกแบบโลหะภัณฑ์ในระดับหมู่บ้าน เพื่อจัดทำดัชนีสู่ความสำเร็จเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยมุ่งสร้างความเข้มแข็งของชุมชน สังคมสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน. Asian Creative Architecture, Art and Design, 19(2), 95–103. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/30302
Section
Research Articles