โครงสร้างเมืองเชิงพื้นที่: ตอนที่ 2 ความหลากหลายของศูนย์กลางของกรุงเทพมหานคร ที่ได้มีการนำเสนอไว้ในเชิงเอกสาร (Reviews of Urban Spatial Structure: Part II A Variety of Literarily Presented Centers of Bangkok)

Main Article Content

ณรงศักดิ์ กิตติสาร

Abstract

     บทความให้ความสำคัญกับการหาข้อสรุปเกี่ยวกับโครงสร้างเมืองกรุงเทพมหานคร รวมถึงที่ตั้งหรือขอบเขตของแต่ละศูนย์กลาง ซึ่งจากการปริทัศน์งานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างเมือง พบว่า มีทั้งงานที่ให้ข้อสรุปว่า กรุงเทพมหานครมีโครงสร้างเมืองแบบศูนย์กลางเดี่ยวและพหุศูนย์กลาง โดยเป็นที่ยอมรับให้ย่านสีลมเป็นศูนย์กลางหลัก ในขณะที่ ศูนย์กลางรองอื่นๆ มีความแตกต่างกันไปในแต่ละการศึกษา ข้อสรุปว่ากรุงเทพมหานครเป็นเมืองพหุศูนย์กลางส่วนใหญ่พบในงานที่ใช้การพรรณนาเชิงพื้นที่ ในขณะที่ งานที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์เมือง
ให้ข้อสรุปว่ากรุงเทพมหานครเป็นเมืองศูนย์กลางเดี่ยว ส่วนสุดท้ายของบทความได้อภิปรายถึงจุดอ่อน

ของการพรรณนาเชิงพื้นที่และการอ้างอิงศูนย์กลางจากนโยบายหรือแผนพัฒนาเมือง และได้เสนอแนะให้มีการใช้วิธีการทางสถิติต่างๆ ในการศึกษาโครงสร้างเมือง ซึ่งเป็นแนวทางที่เกิดขึ้นกับแวดวงวิชาการตะวันตก ในขณะที่ พัฒนาการทางวิชาการของไทยค่อนข้างคงที่และเทียบได้กับช่วงแรกของพัฒนาการด้านการศึกษาโครงสร้างเมืองของนักวิชาการตะวันตกเท่านั้น


คำสำคัญ: โครงสร้างเมือง กรุงเทพมหานคร แบบจำลองเมืองศูนย์กลางเดี่ยว แบบจำลองเมืองพหุศูนย์กลาง การพรรณนาเชิงพื้นที่

      The article tries to find conclusion about urban structure of Bangkok including each center delimination. Literature review reveals that both polycentric and monocentric city are stated. The former is found mainly in
spatial descriptive type research, while data analysis type research, spacifically urban economic model, is pointed into the latter structure. Silom is commonly accepted as central business district, while other subcenters are difference between each study. The article ends with a discussion about weakness of spatial description and center delimination based upon urban development policy. In addition, using statistical techniques for urban structure study is suggested based upon the western academic development of urban structure research which has long history comparing the currently Thai academic standpoint.

Keywords: Urban Structure Bangkok Monocentric city model Polycentric city model Spatial description

Article Details

How to Cite
กิตติสาร ณ. (2015). โครงสร้างเมืองเชิงพื้นที่: ตอนที่ 2 ความหลากหลายของศูนย์กลางของกรุงเทพมหานคร ที่ได้มีการนำเสนอไว้ในเชิงเอกสาร (Reviews of Urban Spatial Structure: Part II A Variety of Literarily Presented Centers of Bangkok). Asian Creative Architecture, Art and Design, 19(2), 173–186. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/30328
Section
Academic Articles