ย่านชุมชนเก่า: นิยาม คุณค่า กลไกการฟื้นฟู สู่ชีวิตประจำวัน Traditional Communities: Definition, Value, Regeneration Mechanism to Everyday Life Practice

Main Article Content

ปูรณ์ ขวัญสุวรรณ

Abstract

บทคัดย่อ     

   การอนุรักษ์และพัฒนาย่านชุมชนเก่าในประเทศไทยยังต้องผ่านกระบวนการที่เกิดจากประสบการณ์จริง เพื่อให้เกิดประสบการณ์ในการอนุรักษ์ เริ่มจากย่านชุมชน ขยายไปถึงขอบเขตของระบบชุมชนทั้งกายภาพและนามธรรม สิ่งที่สำคัญก็คือบูรณภาพและคุณค่าความสำคัญที่แท้จริง ซึ่งเกิดจากคุณค่าขององค์ประกอบย่อยๆ รวมกัน (Collective Values) การยอมรับในความหลากหลาย และการเปลี่ยนแปลงอันเกิดขึ้นแล้วและเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่หล่อหลอมรวมกับ
การปรับตัวต่อสภาพแวดล้อม รวมไปถึงการยอมรับในคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมร่วมสมัย มรดกสภาพแวดล้อมพื้นถิ่นจะทำให้ภาพความเข้าใจในการอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่าชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะการวางแผนพัฒนาเมืองอันมีเป้าหมายใช่อื่นใด หากเพื่อความเป็นชมุ ชนนา่ อยู่ และมคี ณุ ภาพชีวติ ทีดี่ของชมุ ชนและคนร่นุ หลงั ต่อไปการอนุรักษ์เพียงแต่องค์ประกอบบางอย่างส่งผลให้เกิดการกระทบต่อคุณค่าของย่านชุมชนเก่าโดยรวม โดยเฉพาะการฟื้นฟูตลาดเก่า ตลาดริมน้ำ โดยเน้นที่การอนุรักษ์
ทางกายภาพ สถาปัตยกรรม และใช้วิธีการทางการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดเป็นกิจกรรมการค้าใหม่ขึ้นมาโดยอาศัยบรรยากาศของการอนุรักษ์เป็นฉากหลัง แม้ว่าจะกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของชุมชนได้ในระดับหนึ่ง แต่นั่นก็เป็นเพียงระยะสั้น กระบวนการดังกล่าวทำให้เกิดการเข้ามาของกล่มุทุน นายทุนขนาดเล็ก ใหญ่ หรือแม้แต่ความต้องการในการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ของเจ้าของพื้นที่เดิม ทำให้ระบบชุมชนเดิมไม่สามารถดำรงอยู่ได้ กลุ่มคนเล็กๆ ซึ่งเคยมีบทบาทต่อการดำรงอยู่ของชุมชน ไม่สามารถ
มีที่ทางอยู่ได้ในพื้นที่การอนุรักษ์ใหม่นี้

      บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเพื่อศึกษาจัดทำมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ประเภทย่านชุมชนเก่าในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2554-2555 เพื่อหาแนวทางการฟื้นฟูย่านชุมชนเก่า ทั้งจากระดับนโยบายจากภาครัฐ และการค้นหาพลังการฟื้นฟูจากระดับล่าง จากสามัญชนคนธรรมดา โดยพลังของชีวิตประจำวันที่ผู้คนพยายามหาที่ทางในการขับเคลื่อนและใช้งานย่านชุมชนเก่าอย่างมีพลวัต

คำสำคัญ: คุณค่า ชีวิตประจำวัน พลวัต ย่านชุมชนเก่า สามัญชน

Abstract

Conservation of Traditional Communities in Thailand still needs the practical processes to get more experiences on the real situation. This process should be extended from inside the community itself to reach the community system sphere in both tangible and intangible aspects to meet its most important significance and integrity which comprises from collective values. Diversity, continuity and change are parts of the historical life span of traditional community which nurture and adapt to its ecological environment. Moreover, recognition of contemporary heritage and built vernacular heritage within the community will offer the chance of understanding on conservation of traditional community to be as a whole, especially on urban development planning which
all aim to livable society and good quality of life for later generations. Only romanticized preservation of some community elements could make the impact to the whole value of traditional community. Even architectural conservation, façade treatment and pseudo economic booster by using the nostalgic atmosphere of traditional community as a back ground could activate local economic activities in some degree but it is just a short term. This method could provide the opportunities for the new upscale business sectors to replace the local people by gentrification process which will reduce the existence of local community system and make local communities cannot have a place and would be departed from this new conservation space. This paper had been adopted from the research study of the Standard for the Quality of Cultural Environment: Traditional Communities in Central and Eastern Region Project in 2011-2012 to find the conservation mechanism of conservation of traditional communities both from central policy and power from the bottom communities, from ordinary people, and from the ordinary power of everyday life practice which also motivate and try to express their use of traditional communities dynamically.

Keywords : Value Everyday Life Dynamic Traditional Communities Ordinary People

Article Details

How to Cite
ขวัญสุวรรณ ป. (2015). ย่านชุมชนเก่า: นิยาม คุณค่า กลไกการฟื้นฟู สู่ชีวิตประจำวัน Traditional Communities: Definition, Value, Regeneration Mechanism to Everyday Life Practice. Asian Creative Architecture, Art and Design, 20(1), 1–17. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/38521
Section
Academic Articles