พลวัตทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของเรือนไทใหญ่ในอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอนจากการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม : Dynamics of Vernacular Architecture in Tai Yai Houses in Khun Yuam District, Mae Hong Son Province Due to Cultural Assimilation
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาลักษณะเฉพาะและแบบแผนความเปลี่ยนแปลงเรือนไทใหญ่ของชาวไทใหญ่ในพื้นที่อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่สมัยเริ่มก่อตั้งชุมชนใน พ.ศ. 2374 ถึงปัจจุบัน และนำข้อมูลที่ค้นพบมาอภิปรายพลวัตปัจจัยของการผสมกลมกลืนทางสังคมวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดรูปแบบเรือนไทใหญ่ในปัจจุบัน และแนวโน้มของความเปลี่ยนแปลงดำรงอยู่ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนไทใหญ่ในอนาคต ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยการสำรวจภาคสนาม ทำการบันทึกข้อมูลรายละเอียดทางสถาปัตยกรรม ด้วยการสังเกต และสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้านผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำชุมชน โดยการเก็บข้อมูลจากเรือนไทใหญ่จำนวน 29 หลัง ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบเรือนพื้นถิ่นไทใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบดั้งเดิม โดยมีลักษณะร่วมที่คล้ายคลึงกับเรือนพื้นถิ่นล้านนา นอกจากนี้ยังปรับเปลี่ยนรูปแบบของเรือนไปตามลักษณะการใช้งานและความต้องการพื้นที่ใช้สอยของเจ้าเรือนรวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเรือนไปตามปัจจัยทางสภาพแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงวัสดุ และรูปแบบภายนอก แต่ยังพบว่าเรือนของชาวไทใหญ่ยังคงรักษาอัตลักษณ์ร่วม ในการจัดรูปแบบผังพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทางความเชื่อ โดยไม่สูญเสียอัตลักษณ์เฉพาะตนที่มีคุณค่าและความหมาย แสดงถึงภูมิปัญญาในการรักษาเอกลักษณ์และความสามารถในการปรับตัวของคนไทใหญ่เพื่อการอยู่อาศัยในพลวัตที่แปรเปลี่ยน ไปตามกาลเวลา
คำสำคัญ: ไทใหญ่ เรือนไทใหญ่ พลวัต การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
Abstract
This research explores the dynamics of Tai Yai vernacular houses in Khun Yuam district, Mae Hong Son province due to cultural assimilation. It aims to investigate the architectural patterns and to discuss the dynamics of architectural change due to cultural assimilation. The method of study is a qualitative survey and field research by physical, social, l and cultural characteristics of Tai Yai in Khun Yuam district. Altogether 3 villages
and 29 houses are explored. The findings revealed that the forms of Tai Yai houses have some dynamics and change due to the cultural assimilation with Lanna house characteristics as well as functional adaptation by the owners the influencing factors include environment, economic, social and cultural factors. However, Tai Yai people still maintain identity of Tai Yai villages and houses. While beliefs in housing construction and living spaces inside the houses remain those of the Tai Yai’s. These indicate the ability to conserve their
cultural identity and adaptation in globalizing context.
Keyword: Tai Yai Tai Yai House Dynamic Cultural Assimilation Vernacular Architecture
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Copyright Transfer Statement
The copyright of this article is transferred to Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang with effect if and when the article is accepted for publication. The copyright transfer covers the exclusive right to reproduce and distribute the article, including reprints, translations, photographic reproductions, electronic form (offline, online) or any other reproductions of similar nature.
The author warrants that this contribution is original and that he/she has full power to make this grant. The author signs for and accepts responsibility for releasing this material on behalf of any and all co-authors.