การประเมินผลกระทบทางทัศนียภาพของป้ายโฆษณาที่ติดตั้งบนอาคารและทางเท้า กรณีศึกษา: ป้ายโฆษณาบริเวณถนนราชดำเนิน และถนนชุมพล อ.เมือง จ.นครราชสีมา

Main Article Content

อลงกรณ์ ถนิมกาญจน์

Abstract

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อสำรวจทัศนคติของประชาชน เกี่ยวกับผลกระทบทางทัศนียภาพจากป้ายโฆษณาที่ติดตั้งบนอาคารและทางเท้า พื้นที่ศึกษาคือ ถนนราชดำเนิน และถนนชุมพล ซึ่งเป็นถนนที่อยู่บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีและเป็นถนนสายสำคัญใจกลางเมือง จ.นครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่อาศัยและนักท่องเที่ยวที่สัญจรผ่านไปมารอบๆ พื้นที่ที่ศึกษา จำนวน 235 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อประเมินการรับรู้ และการตอบสนองร่วมกันของสาธารณชนต่อทัศนียภาพของเมือง ผลจากการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าลักษณะ และรูปแบบของป้ายโฆษณาไม่ตรงกับข้อบังคับและกฎหมาย โดยส่วนใหญ่มีขนาดที่ใหญ่เกินข้อกำหนด มีลักษณะยื่นล้ำเข้าไปในเขตทางสาธารณะ มีการใช้วัสดุ และสีสันที่หลากหลายเกินไป ทำให้เกิดผลกระทบทางทัศนียภาพในบริเวณที่สำคัญๆ ดังนั้นเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของเมือง จึงควรกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมรูปแบบ และตำแหน่งการติดตั้งของป้ายโฆษณาที่อยู่ในเขตเมือง เพื่อลดการบดบังทัศนียภาพของอาคาร หรือบดบังภูมิทัศน์ที่สวยงามของเมือง

คำสำคัญ: ผลกระทบทางทัศนียภาพ ป้ายโฆษณาที่ติดตั้งบนอาคารและทางเท้า


Abstract


The purpose of this research was to survey people’s attitude about the visual impact of billboards installed on buildings and sidewalks. The area where studied were Ratchadamnoen Road and Chumphon Road where are around Taosuranari Monument, Nakhon Ratchasima Province were studied. The sample group
consisted of 235 residents who are living and tourists who were in the vicinity area. The instruments for data collection were Likert Scale questionnaire asking the people’s attitude. Data analysis was drawn by frequency, percentage, means, and standard deviation in order to assess people’s response to province view. The survey result showed that most sample group agreed that billboard features haven’t been standardized like model and size. Mainly billboards are too large and disorganized according to organizing policy. Moreover, there were too various materials and colors. These resulted in the visual impact in the main
area. Therefore, control measure of model and installation location of billboards in the province should be regulated to maintain buildings’ scenery and to build good image of the province.


Keyword : Visual Impact Billboards Installed on the Building and the Sidewalk

Article Details

How to Cite
ถนิมกาญจน์ อ. (2015). การประเมินผลกระทบทางทัศนียภาพของป้ายโฆษณาที่ติดตั้งบนอาคารและทางเท้า กรณีศึกษา: ป้ายโฆษณาบริเวณถนนราชดำเนิน และถนนชุมพล อ.เมือง จ.นครราชสีมา. Asian Creative Architecture, Art and Design, 20(1), 72–82. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/38547
Section
Research Articles