ประสิทธิภาพการลดภาวะไม่สบายตาจากแผงบังแดดปรับองศากับช่องเปิดทิศใต้และทิศตะวันตก Performance of Sunscreen Shading Shutters on Visual Comfort and Glare in West and South Sides

Main Article Content

กฤติน อัศววิชัย

Abstract

บทคัดย่อ


     การศึกษาประสิทธิภาพการลดภาวะไม่สบายตาจากแผงบังแดดปรับองศากับช่องเปิดทิศใต้และทิศตะวันตก โดยการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน จากข้าราชการตำรวจที่ทำงานด้านสนันสนุน และอำนวยการด้วยวิธีการทดลองโดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามรูปแบบ GSV (Glare Sensitivity Vote) โดยการสร้างหุ่นห้องจำลองในมาตราส่วน 1:10 ห้องสูง 3 เมตร ห้องขนาด 3 x 6 เมตร โดยทำการจำลองวัดค่าในสภาพท้องฟ้าเปิดและท้องฟ้ามีเมฆมากในวันที่ 22-28 มกราคม ระหว่างช่วงเวลา 8.00-16.00 น. โดยมีตัวเปรียบเทียบเป็นแผงบังแดดอีก 2 รูปแบบ และช่องเปิด วัดในสองทิศ
คือทิศใต้ และ ทิศตะวันตก เพื่อวัดหาค่าแสดงระดับค่าแสงบาดตาจากความรู้สึก ซึ่งพบว่า แผงบังแดดปรับองศาส่งผลต่อค่าความน่าสบายทางสายตาและแสงบาดตาจากแสงธรรมชาติจริงโดยสามารถทำให้เกิดภาวะน่าสบายทางสายตา และลดแสงบาดตาได้จริง เมื่อเทียบกับหน้าต่างที่ไม่มีแผงบังแดด นอกจากนี้แผงบังแดดปรับองศาได้มีประสิทธิภาพในแง่ภาวะน่าสบายทางสายตา และลดแสงบาดตาได้ดีกว่าแผงบังแดดชนิดอื่นๆ สำหรับทิศตะวันตกในกรณีท้องฟ้าทั้งแบบเปิดและปิด ส่วนทิศใต้ในท้องฟ้า แบบปิดแผงบังแดดแบบปรับมุมได้ดีกว่าทุกแบบแต่ในกรณีท้องฟ้าแบบเปิดแผงบังแดดแบบผสมมีประสิทธิภาพในการลดแสงบาดตาได้ดีกว่า และแผงบังแดดปรับองศาได้มีข้อด้อยที่ไม่สามารถกันแสงที่แยงเข้ามาจากทางด้านข้างของช่องเปิดได้ ซึ่งมักจะเป็นปัญหาสำหรับทิศใต้ในวันที่มีสภาพท้องฟ้าแบบเปิด

คำสำคัญ: แสงบาดตา ภาวะไม่น่าสบายทางสายตา แผงบังแดดปรับองศาได้ ช่องเปิดทิศตะวันตกและทิศใต้

 

Abstract


     The efficacy and discomfort reduction from adjustable shading and the opening to the south and west study were performed by randomly collecting data from 100 police officers who worked in offices. Experimental
data was collected from a GSV (Glare Sensitivity Vote) questionnaire by creating a 1:10 scale model of a room with the height of 3 meters and the area of 3 x 6 meters. The simulated clear and cloudy skies measurements were recorded between 22-28 January 2014 from 8.00-16.00 with a comparison of the two shading patterns and the south and west opening to measure the feeling-of-glare level. Shading angle was found to affect the visual comfort and glare. It was able to reduce glare when compared with no-shading windows. The adjustable shading was more effective in reducing glare compared to other shadings when in the west in both clear and cloudy sky. It was more effective in the south but only in cloudy sky. On a clear sky day, the mix shading was more effective in reducing glare than the adjustable shading. The adjustable shading was not able to block the light from side of window. This was often a problem for the south on the clear sky day.

Keyword : Glare Visual Discomfort Adjustable Shading Opening to the South and West

Article Details

How to Cite
อัศววิชัย ก. (2015). ประสิทธิภาพการลดภาวะไม่สบายตาจากแผงบังแดดปรับองศากับช่องเปิดทิศใต้และทิศตะวันตก Performance of Sunscreen Shading Shutters on Visual Comfort and Glare in West and South Sides. Asian Creative Architecture, Art and Design, 20(1), 106–116. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/38577
Section
Research Articles