การเทียบสมรรถนะด้านการใช้พลังงานของโครงการโรงเรียนสีเขียวของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย Energy Consumption Benchmarking of EGAT Green School Program

Main Article Content

สรญา กังวาล
วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์

Abstract

บทคัดย่อ


     ในปัจจุบันจากปัญหาเรื่องวิกฤติการณ์ทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ผู้คนทั่วโลกต้องประสบ ทั้งจากวิกฤติทางพลังงานภาวะโลกร้อน สภาพอากาศที่แปรปรวน รวมทั้งมหันตภัยทางธรรมชาติต่างๆ ส่งผลให้ผู้คนหันมาให้ความสนใจในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่ในอาคารประเภทโรงเรียนนั้นมีองค์ความรู้ในด้านการอนุรักษ์พลังงานอยู่อย่างจำกัดเนื่องจากโรงเรียนมีความหลากหลายทั้งในรูปแบบอาคาร ลักษณะการใช้งานภายในอาคารรวมถึงมีผู้ใช้อาคารเป็นจำนวนมากจึงส่งผลให้มีการใช้พลังงานสูง การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมด้วยการพัฒนาการเทียบสมรรถนะด้านการใช้พลังงานภายในอาคารเป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยประหยัดพลังงานและเกิดการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมภายในอาคารจากการทำให้ผู้บริหารหรือหน่วยงานดูแลระบบงานอาคารได้เข้าใจถึงลักษณะการใช้พลังงานภายในอาคาร ในปัจจุบันการศึกษาถึงการเทียบสมรรถนะด้านการใช้พลังงานภายในโรงเรียนได้มีการทำการศึกษาเฉพาะในต่างประเทศ ในประเทศไทยนั้นได้มีการทำการศึกษาเฉพาะในอาคารสำนักงานของกรุงเทพมหานคร การเทียบสมรรถนะด้านการใช้พลังงานสำหรับโรงเรียนในประเทศไทยจึงยังไม่มีความชัดเจน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าเกณฑ์การเทียบสมรรถนะด้านการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสมภายในโรงเรียนสีเขียวและเปรียบเทียบค่าดัชนีการใช้พลังงานไฟฟ้าของแต่ละโรงเรียนได้ เพื่อให้โรงเรียนสามารถพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโรงเรียนต่อไปในอนาคต โดยศึกษาจากการเก็บข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของโรงเรียนจากการประเมินโรงเรียนสีเขียวของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2556 จำนวนทั้งสิ้น 74 โรงเรียนที่ถือว่าเป็นอาคารตัวอย่างในด้านการอนุรักษ์พลังงาน และทำการประเมินจากค่าดัชนีการใช้พลังงานต่อพื้นที่ (kWh/m²/Year) และค่าดัชนีการใช้พลังงานต่อคน (kWh/Person/Year)
ผลจากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าการกระจายตัวของค่าดัชนีการใช้พลังงานต่อพื้นที่และค่าดัชนีการใช้พลังงานต่อคนเป็นการกระจายตัวแบบไม่ปกติ (Non-Normal Distribution) ที่มีลักษณะเบ้ขวา (Right-Skewed) โดยมีความใกล้เคียงกับการวิจัยของ Sharp (1998) ที่ทำการเทียบสมรรถนะด้านการใช้พลังงานของโรงเรียนในสหรัฐอเมริกา และพบว่าค่ามัธยฐานของค่าดัชนีการใช้พลังงานของโรงเรียนต่อพื้นที่มีค่าเท่ากับ 27.03 kWh/m²/Year เป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 81.08 บาทต่อตารางเมตร
ต่อปี และค่ามัธยฐานของค่าดัชนีการใช้พลังงานของโรงเรียนต่อคนมีค่าเท่ากับ 135.42 kWh/Person/Year เป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 406.26 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งเบื้องต้นสามารถใช้ค่านี้เป็นเกณฑ์มาตรฐานด้านการใช้พลังงานสำหรับโรงเรียนสีเขียวเพื่อเปรียบเทียบการใช้พลังงานของแต่ละโรงเรียนของโครงการโรงเรียนสีเขียวจากค่าเกณฑ์มาตรฐานและประเมินสมรรถนะด้านการใช้พลังงานของโรงเรียนจากค่าเกณฑ์ได้ ทั้งนี้ สามารถใช้เป็นเกณฑ์ตัวอย่างสำหรับการประเมินโรงเรียนอื่นๆ ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโรงเรียนในการศึกษานี้เป็นการศึกษาเบื้องต้น จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าวเพื่อให้เกณฑ์การใช้พลังงานในอาคารเรียนมีความชัดเจนและแม่นยำมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ : โรงเรียนสีเขียว โรงเรียนสีเขียวของ กฟผ. การเทียบสมรรถนะการใช้พลังงานไฟฟ้า ดัชนีการ

             ใช้พลังงาน

 

Abstract


     Nowadays, from the environmental crisis issues people suffer all around the world such as energy crisis, global warming, climate changes and various natural disasters. As a result, people turn their attention
to energy conservation and environment. Energy consumption benchmarking is one of the ways to conserve energy and optimize energy use. One of interesting building types is a school building because the school building has various spaces and functions, as well as a lot of building users. As a result, it affectsthe whole energy consumption in school buildings. This paper presents energy consumption benchmarking of evaluated green school in Thailand based on green schools program of Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT) in terms of kWh/m²/year and kWh/person/year. This paper aims to develop energy consumption benchmarking of school buildings from the data of EGAT green schools in total 74 schools from 2009-2014 period to find appropriate energy consumption benchmarking standard in green school and compare energy index against others for developing energy performance of school buildings in the future. The result of this study finds that the frequency distribution of energy index in both per area and per
person were non-normal distribution which were right-skewed. It is similar to the research of Sharp (1998) assessed schools energy consumption in the United States of America. The greenschool energy benchmarking
in this study were 27.03 kWh/m²/year at a cost of 81.08 baht/m²/year and135.42 kWh/person/year at a cost of 406.26 baht/person/year. This study is an introduction to benchmark energy use in green schools, assessing the energy use direction and comparing the energy consumption of each schools. This study can be used as a basis for evaluating samples to other schools to improve energy efficiency. This paper is a preliminary study, so this subject should be further study for more clarity and accuracy.

Keyword: Green School EGAT Green School Energy Benchmarking Energy

               Index

Article Details

How to Cite
กังวาล ส., & อิงคโรจน์ฤทธิ์ ว. (2015). การเทียบสมรรถนะด้านการใช้พลังงานของโครงการโรงเรียนสีเขียวของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย Energy Consumption Benchmarking of EGAT Green School Program. Asian Creative Architecture, Art and Design, 20(1), 144–153. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/38580
Section
Research Articles