โครงการต้นแบบงานออกแบบโลหะ เพื่อตอบสนองการพัฒนาสินค้าในระดับหมู่บ้าน โดยมุ่งเน้นสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์โลหะ เพื่อแข่งขันในระดับสากล
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการปฏิบัติที่เป็นแบบแผนในการออกแบบ และการพัฒนาสินค้าโลหะในระดับ หมู่บ้าน มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์โลหะ โดยการศึกษาองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน ดังต่อไปนี้ 1. ความต้องการ งานออกแบบที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิต (Process+Technique) 2. ความต้องการงานออกแบบที่เกี่ยวเนื่องกับบุคคล (People) 3. ความต้องการงานออกแบบที่เกี่ยวเนื่องกับเวลา (Time) และ 4. ความต้องการงานออกแบบที่เกี่ยวเนื่องกับ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Idea+Design) ซึ่งจะสร้างศักยภาพให้แก่ชุมชน ในการสร้างมาตรฐาน และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ โลหะ เพื่อสามารถแข่งขันในระดับสากล
ข้อมูลที่นำมาศึกษานั้นมี 2 ระดับคือ ระดับปฐมภูมิ และ ระดับทุติยภูมิ ในระดับปฐมภูมิศึกษาจาก การผลิตสินค้า โลหะ จำนวน 500 ตัวอย่าง จาก 8 กลุ่มชุมชน ดำเนินการวิจัยเชิงเหตุผล (Causal Research) โดยการใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก แล้วนำข้อมูลที่ไต้มาวิเคราะห์หา ค่าความกี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ด้วยวิธี Pearson Product Moment Correlation Analysis โดยวิธี Forward Stepwise ส่าหรับ ข้อมูลระดับทุติยภูมิ จะศึกษาจากแหล่งข้อมูลการจดสิทธิบัตรจากหน่วยงานของรัฐ รายงานอันดับมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ ที่ทำจากโลหะของประเทศทั่วโลกประจำปี กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จากการวิจัยพบว่า ความต้องการ งานออกแบบเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตไม่มิความสัมพันธ์เชิงเส้นกับการเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่สามารถแข่งขันเพื่อการ ส่งออก ความต้องการงานออกแบบเกี่ยวเนื่องกับบุคคล เกี่ยวเนื่องกับเวลา และเกี่ยวเนื่องกับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์เชิงเส้นกับการเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่สามารถแข่งขันเพื่อการส่งออกของชุมชน
จากผลการศึกษาในครั้งนี้ทำให้ทราบถึงสมการพยากรณ์ ที่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง ความต้องการ งานออกแบบ กับการตอบสนองการพัฒนาผลิตภัณฑ์โลหะในระดับหมู่บ้านที่น่าไปสู่การแข่งขันระดับสากล ซึ่งเป็นรูปแบบ ผลิตภัณฑ์โลหะที่ผู้ประกอบการและผู้ทำงานเกี่ยวกับงานออกแบบโลหะของชุมชนต้องการ ที่มีผลต่อการกำหนดแนวทาง ปฏิบัติด้านการออกแบบงานโลหะ รวมทั้งสามารถน่าผลสรุปที่ได้รับจากการศึกษาไปเป็นแนวทางในการกำหนดรูปแบบของ สินค้า เพื่อใช้ผลิตสินค้าแล้วไม่เกิดปัญหาสินค้าคงเหลือในคลังสินค้าของชุมชน จนเกิดเป็นภาระในภายหลังได้.
ค่าสำคัญ : ต้นแบบงานออกแบบโลหะ, ตอบสนองการพัฒนาสินค้าในระดับหมู่บ้าน, สร้างสรรค์มูลค่าเพิ่ม
Abstract
Prototype of Metal Design for Local Responsiveness to Value creation of Matal Product in global competition The aim of this study was to find sound practices in metal design for local responsiveness of communities to create more value on metal products in Thailand. Four factors were being used in this study: Process+Technique,People,Time and idea+Design. These could enable communities to standardize and create value to the products in order to compete in global market.
The data were collected from both primary and secondary sources.Primary data were collected by using questionaires and indeep interview .Five hundred questionaires were handed out to 8 communities which produce metal goods. Data were analyzed by Pearson product moment correlation method in forward stepwise to find frequency, percentage, mean, standard deviation and correlation.Secondary data were form the Department of Foreign Trade Ministry of Commerce. It was found that there was no statistical significance related to 4 factors of the production, value creation and potential to compete in global market.
This research would provide useful information for local metal products and would be helpful for government sectors to set up commercial national policies.
Keywords: Prototype of metal design, Local Responsiveness, Value creation
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Copyright Transfer Statement
The copyright of this article is transferred to Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang with effect if and when the article is accepted for publication. The copyright transfer covers the exclusive right to reproduce and distribute the article, including reprints, translations, photographic reproductions, electronic form (offline, online) or any other reproductions of similar nature.
The author warrants that this contribution is original and that he/she has full power to make this grant. The author signs for and accepts responsibility for releasing this material on behalf of any and all co-authors.