การศึกษาประสิทธิภาพการระบายอากาศแบบดาวน์ดราฟต์ในอาคารตึกแถว กรณีศึกษา : ตึกแถวเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สมชาย ศรีสมพงษ์
ธีรมน ไวโรจนกิจ
ดรุณี มงคลสวัสดิ์

Abstract

บทคัดย่อ

รายงานนี้แสดงผลการสืกษาประสิทธิภาพการระบายอากาศแบบดาวน์ดราฟต์ในอาคารตึกแถวที่อยู่ใน พื้นที่แออัด โดยเบื้องต้นได้ทำการทดสอบองค์ประกอบอาคารที่ทำให้อากาศเกิดการเคลื่อนที่จากชั้นบนลง ชั้นล่างก่อน ได้แก่ ที่ดักลม ปล่องลม และแนวทางการเคลื่อนที่ของลม จากนั้นจึงวิเคราะห์ผลเพื่อนำมาใช้ใน การออกแบบ และทดสอบตึกแถวที่มีการประยุกต์ใช้ที่ดักลมแบบต่าง ๆ 3 แบบ ได้แก่ แบบปล่องลมเข้าเดี่ยว

2 ชุด แบบปล่องลมเข้าเดี่ยวผสมกับแบบปล่องรวม และแบบใช้หลังคาดักลม ขนาดตึกแถวที่ทดสอบมีขนาด กว้าง 6 เมตร ลึก 12 เมตร สูง 3 ชั้นครึ่ง ทำการทดสอบแบบ 2 มิติ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับ คำนวณของไหล (ANSYS5.4 : Computational Fluid Dynamics - CFD) และแบบ 3 มิติ โดยทุ่นจำลองในอุโมงค์ลม ผลการทดสอบพบว่า เมื่อให้ความเร็วลมเรึ่มต้นในพื้นที่มีค่าเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ความเร็วลมเฉลี่ยภายใน ตึกแถวทั้ง 3 กรณี จะมีค่าเป็น 32, 27 และ 30 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ล่วนตึกแถวที่ไม่ได้มีการใช้เทคนิค ดังกล่าว วัดความเร็วลมเฉลี่ยภายในได้เป็น 25 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำผลที่ได้มาคำนวณเป็นความเร็วลม สำหรับ เขตกรุงเทพมหานครซึ่งมีความเร็วลมภายนอกเฉลี่ยตลอดปี 1.1 เมตร/วินาที จะได้ค่าความเร็วลมเฉลี่ย ภายในอาคารประมาณ 0.4 เมตร/วินาที ซึ่งค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตาม เมื่อได้นำผลไปเปรียบเทียบกับจังหวัด ภูเก็ต ซึ่งมีความเร็วลมภายนอกเฉลี่ยตลอดปี 2.2 เมตร/วินาที ทำให้ได้ค่าความเร็วลมเฉลี่ยภายในอาคารเป็น 0.7 เมตร/วินาที

 

Abstract

This paper presents the results of a study of the effectiveness of applying downdraught ventilation in row houses in high density urban area. Previously, three of building components consisting of wind catcher, wind tower and flow path, which are all important elements in order to create downdraught effect, were investigated. Following the results of the previous analysis, three different types of row house design which were integrated with downdraught ventilation, i.e. type 1 - two single inlets, type 2 - one single inlet and one dual inlet, and type 3 - roof as a wind catcher, were proposed and experimented. The typical row house used in these experiments is 6 m. wide, 12 m. long and has 3 1./2  storeys. All case studies were investigated by 2 dimensional models on computer simulation (ANSYS5.4 : Computational Fluid Dynamics - CFD) and 3 dimensional models in wind tunnel. The final results showed that average wind speeds measured in row house models are 32, 27 and 30% of the original wind speed, orderly. On the other hand, for the row house without downdraught technique, the average wind speed is only 25%.

Article Details

How to Cite
ศรีสมพงษ์ ส., ไวโรจนกิจ ธ., & มงคลสวัสดิ์ ด. (2012). การศึกษาประสิทธิภาพการระบายอากาศแบบดาวน์ดราฟต์ในอาคารตึกแถว กรณีศึกษา : ตึกแถวเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร. Asian Creative Architecture, Art and Design, 3(1), 31–40. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/4139
Section
Research Articles