ปัจจัยด้านการศึกษาของบุตรในครอบครัวต่อโอกาส การพัฒนาทางเศรษฐกิจครัวเรือนของชุมชนรายได้น้อย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งอภิปรายส่วนหนึ่งของการศึกษาด้านการจัดหาที่พักอาศัยสำหรับ ผู้มืรายได้น้อย โดยรายงานเฉพาะปัจจัยด้านการศึกษาของบุตรในครอบครัวที่มีผลต่อ โอกาสในการพัฒนาทางเศรษฐกิจครัวเรือน (social mobility) ของชุมชนรายได้น้อย การวิจัยนี้ลุ่มตัวอย่างจากชุมชนรายได้น้อยจำนวน 1,000 ครัวเรือนจากชุมชนสี่ประเภท ในกรุงเทพฯชั้นใน ชั้นกลางและชั้นนอก สมมติฐานของการวิจัยตั้งอยู่บนพี้นฐานทฤษฎี ของ John F.C. Turner ที่ว่าด้วยความเป็นที่พักพิงของประชาชนรายได้ต่ำของชุมชน แออัด (bridgehead) ที่สามารถเอื้อประโยชน์ต่อผู้อยู่อาศัยให้พัฒนาตัวเองด้าน สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคม ก่อนย้ายออกจากชุมชนไป ปัจจัยด้านการศึกษาของบุตร จึงเป็นตัวชี้วัดความน่าจะเป็นด้านการพัฒนาการดังกล่าว งานวิจัยนี้ใช้วิธีการสำรวจ ด้วยแบบสอบถามเพื่อสรุปผลสองด้าน ได้แก่โครงสร้างครอบครัวที่มีผลต่อความ ต้องการที่พักอาศัย และการศึกษาของบุตรทั้งในปัจจุบันและอนาคตที่มีผลต่อ social mobility ของครอบครัว การศึกษานี้พบว่า สำหรับชุมชนแออัดซึ่งมีรายได้และความ สามารถในการจ่ายด้านที่อยู่อาศัยต่ำสุดในสี่ประเภทชุมชน แต่ในขณะเดียวกันโครงสร้าง ครัวเรือนของชุมชนดังกล่าวยังประกอบด้วยบุตรที่ต้องการการเลี้ยงดูจำนวนมากกว่า และมืความต้องการด้านพื้นที่พักอาศัยมากกว่าประเภทอื่น นอกจากนี้ยังพบว่า ครัวเรือน ในชุมชนแออัดมีข้อจำกัดด้านการส่งเสียให้บุตรที่มีอายุ 19-25 ปี ได้รับการศึกษาต่อเพี่อประกอบอาชีพ ลักษณะและข้อจำกัดของครัวเรือนเหล่านี้ จึงเป็นอุปสรรค์หลักในการ พัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือนของชุมชนแออัดเมื่อเทียบกับชุมชนรายไต้ต่ำประเภทอี่น การวิจัยยังพบอีกว่า ชุมชนแออัดมีความต้องการให้บุตรสำเร็จการศึกษาในระดับ ปริญญาตรีในอัตราที่ต่ำและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับชุมชนประเภทอื่นทั้งนี้เนื่องจาก มีขีดความสามารถในการส่งเสียต่ำกว่า นอกจากนี้ ที่ตั้งของสถาบันการศึกษาในละแวก ชุมชนมีผลต่อการตัดสินใจเลีอกอนาคตของบุตรทั้งในด้านอาชีพและระดับการศึกษา การวิจัยนี้จึงเสนอแนะว่า เนื่องจากชุมชนที่มีรายได้ต่ำสุดจะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยสูงสุดและมีความสามารถต่ำสุดในการให้การศึกษาแก่บุตร ภาครัฐ นอกจากจะต้องจัดการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ตาเป็นอันดับแรกโดยไม่คำนึงถึง ความสามารถในการจ่ายแล้วภาครัฐยังไม่ควรมองข้ามความสำศัญฃองโครงสร้างครัวเรือน และระบบการศึกษาในท้องถิ่นที่จะสามารถเอื้อประโยชน่ให้ชุมชนรายได้น้อยสามารถ ขยับตนเองด้วยการให้การศึกษาด้านวิชาชีพแก่บุตร
คำสำคัญ: นโยบายการให้บริการผังเมือง, ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ด้อยโอกาส, ความทัดเทียมในสังคม, Social mobility และการศึกษา, นโยบายภาครัฐ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Copyright Transfer Statement
The copyright of this article is transferred to Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang with effect if and when the article is accepted for publication. The copyright transfer covers the exclusive right to reproduce and distribute the article, including reprints, translations, photographic reproductions, electronic form (offline, online) or any other reproductions of similar nature.
The author warrants that this contribution is original and that he/she has full power to make this grant. The author signs for and accepts responsibility for releasing this material on behalf of any and all co-authors.