กฎหมายอนุรักษ์พลังงานในอาคารฉบับใหม่

Main Article Content

ศุทธา ศรีเผด็จ

Abstract

บทคัดย่อ

พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารมีผลบังคับใช้มานานตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2535 แต่สถาปนิก วิศวกร ผู้ออกแบบกลับมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายอนุรักษ์พลังงานค่อนข้างน้อย การออกแบบอาคารเพื่อการประหยัดพลังงานในปัจจุบันส่วนใหญ่เกิดจากความกระตือรือร้นของเจ้าของอาคารหรือผู้ออกแบบอาคารมีความรู้ความสามารถและใช้อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงในอาคารนั้นเอง บทความนี้จะเน้นความเข้าใจในภาพรวมของกฎหมายการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอดีตและมีการปรับปรุงพัฒนาจนถึงปัจจุบัน พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานฉบับใหม่ พ.ศ. 2550  ได้ทำการปรับปรุงค่าจากกฎหมายเดิมคือ กำหนดประเภท ขนาดอาคารควบคุมใหม่โดยอาคารขนาดใหญ่ทุกประเภทที่มีพื้นที่ใช้งานเกินกว่า 2,000 ตารางเมตร โดยแบ่งประเภทอาคารตามลักษณะรูปแบบการใช้งานเป็นหมวดหมู่ จากเดิมเป็นอาคารขนาดใหญ่ใช้พลังงานเกินกำหนดแบ่งเป็นอาคารเก่าและอาคารใหม่ มีการปรับปรุงเกณฑ์มาตรการระบบกรอบอาคาร ระบบปรับอากาศ ระบบแสงสว่าง เพิ่มระบบอุปกรณ์ผลิตน้ำเย็น น้ำร้อน  การใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร และการชดเชยโดยใช้พลังงานทดแทนในอาคาร ที่มีความยืดหยุ่นและมีความทันสมัยกว่า การบังคับใช้เป็นการปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางที่ผู้ออกแบบยึดถือให้เป็นแนวทางเดียวกัน อันจะเป็นการสร้างองค์ความรู้ สร้างบุคคลากรที่มีความสามารถพร้อมจะดำเนินการในสาขาวิชาชีพให้บรรลุผลสำเร็จของการประหยัดพลังงานซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของอาคารโดยตรงและประเทศชาติ

คำสำคัญ : พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร, เกณฑ์ประสิทธิภาพพลังงานของอาคาร ,ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของกรอบอาคาร, ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของหลังคา

 

Abstract

The old National Energy Conservation Promotion Act dating back in 1992 was not so popular and widely referred among building designers until 2007, when the new code was improved, launched and announced officially. This article aim is to introduce and interpret this new Energy Conservation Promotion Act 2007. It is the right time when most owners and designers are aware and appreciate because this new Act seems to match well and applicable to various building categories and characteristics. Many details of usage are classified, such as, size and type of the building (mostly indicated for building of 2,000 square meters or larger),type of building envelope, building equipment system ,for examples air-conditioning, illumination and the alternative energy consumption target, etc.

Nowadays, this Act is being accepted in wider area. Not only be valuable for users but also motivating qualified personnel who would be authorized and can be referred for the energy efficient and conservation plans of the building being under control. In the long run this will be valuable for the National Budgetary Development.

Keyword: The National Energy Conservation Promotion Act, Building energy code, OTTV; Overall Thermal Transfer Value, RTTV; Roof Thermal Transfer Value

Article Details

How to Cite
ศรีเผด็จ ศ. (2012). กฎหมายอนุรักษ์พลังงานในอาคารฉบับใหม่. Asian Creative Architecture, Art and Design, 12(1), 1–8. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/4164
Section
Research Articles