การศึกษาแนวทางการลดการถ่ายเทความร้อนจากหลังคาคอนกรีต

Main Article Content

ณัฐสิทธิ์ เลาหวรวุฒิกุล

Abstract

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้  ได้นำเสนอวิธีการทดลอง ค่าการวัดอุณหภูมิจากแบบจำลอง และผลการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบระหว่างวัสดุ และวิธีการที่ได้กำหนด  เพื่อหาแนวทางในการลดการถ่ายเทความร้อนจากหลังคาคอนกรีตเข้าสู่ห้องใต้หลังคา โดยเลือกใช้อาคารกรณีศึกษาเป็น อาคารพาณิชย์ 3 ชั้น เขตดอนเมือง จังหวัดกรุงเทพฯ  ตัวอาคารมีขนาด กว้าง  4  เมตร ยาว 12 เมตร และสูง 9.50 เมตร มีหลังคาเป็นคอนกรีต หนา 10 เซนติเมตร เพื่อที่จะศึกษาผลของการถ่ายเทความร้อนจากหลังคาคอนกรีต จึงจำเป็นต้องสร้างแบบจำลองแบบต่างๆ เพื่อใช้ในการวัดอุณหภูมิที่ผิวของวัสดุด้วยเครื่องมือวัดจากนั้นนำค่าที่ได้มาทำการวิเคราะห์

การทำแบบจำลองนั้นกำหนดให้มีขนาดพื้นที่ 1 ตารางเมตร (กว้าง 1 เมตร และยาว 1 เมตร) ใช้วิธีการสร้างแบบจำลองต่างๆ  ซึ่งได้ทำการเลือกจากตารางการหาค่าความเหมาะสมของการเลือกวัสดุให้เหมาะสมกับวิธีการทดลองดังนี้ คือ 1. แบบจำลองการทำหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์คลุมหลังคาคอนกรีต  2. แบบจำลองการจัดสวนไม้ประดับคลุมหลังคาคอนกรีต     และ 3. แบบจำลองการทำฝ้าเพดานยิปซั่มบอร์ดปูทับด้วยฉนวนใยแก้วใต้ท้องหลังคาคอนกรีต ผลของการทดลอง และการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถสรุปได้ดังนี้ว่า แบบจำลองที่ 1 คือ การทำหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์คลุมหลังคาคอนกรีตเพื่อบังแดดนั้นมีค่าความแตกต่างของอุณหภูมิที่ผิวของวัสดุภายนอก กับภายในมากที่สุด และมีระยะเวลาการหน่วงเหนี่ยวความร้อนของวัตถุนานที่สุด จึงสามารถลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคารได้ดีที่สุด

คำสำคัญ : หลังคาคอนกรีต, การสะสมความร้อน, การป้องกันความร้อน, การถ่ายเทความร้อน, การนำความร้อน

 

Abstract

This research suggested research methodologies, temperature measures from the models and results of data analysis in order to compare materials and determined research methodologies. The purpose of this research was to determine heat gain reduction from concrete roof. Three-levels building at Don Muang, Bangkok with 4 meters in width, 12 meters in length and 9.50 meters in height was selected as interested building in this research. The building has concrete roof with 10 centimeters of thickness. To study the outcomes of heat gain from concrete roof, it needed to build the models to measure temperature on materials surface by using temperature instrument. Then, resulted or measured values were analyzed.

Building the models, it required 1 square meter of area (1 meter in width and 1 meter in length.  The models were built by choosing the appropriateness of materials and research methodologies in the table as follows: 1. The model of fiber-cement roof covered concrete roof. 2. The model of garden tree covered concrete roof. 3. Gypsum board laid with glass fiber under concrete roof. The results and data analysis were concluded as follows: For the first model, the model of fiber-cement roof to protect the sunlight, temperature difference of materials surface between external and internal materials has highest value. Also, the delay of heat transfer has the highest value. Therefore, using the first model, it was the champion of heat gain reduction into the building.

Keywords: Concrete Roof, Heat gain, Heat Protection, Heat transfer, Conduction

Article Details

How to Cite
เลาหวรวุฒิกุล ณ. (2012). การศึกษาแนวทางการลดการถ่ายเทความร้อนจากหลังคาคอนกรีต. Asian Creative Architecture, Art and Design, 12(1), 65–74. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/4179
Section
Research Articles