ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมลดพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก อายุ 3-6 ปี

Main Article Content

อัญชิสา สิงห์โตแก้ว

Abstract

บทคัดย่อ

จากสภาพครอบครัวไทยในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม  พ่อแม่ต้องทำงานนอกบ้าน  เวลาในการอบรมเลี้ยงดูเด็กลดลง  วิธีการอบรมที่เน้นเพียงการส่งเสริมทางด้านการศึกษา  ความฉลาดของเด็ก  และสภาพสังคมในปัจจุบันส่งผลให้พฤติกรรมของเด็กมีความก้าวร้าวมากขึ้น จึงเกิดแนวคิดในการสร้างผลิตภัณฑ์ลดพฤติกรรมก้าวร้าวสำหรับเด็ก  โดยเน้นที่เด็กอายุ 3-6 ปี  หรือวัยอนุบาล 1-3  เนื่องจากเป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้  โดยผลิตภัณฑ์ลดพฤติกรรมก้าวร้าวเกิดจากการนำข้อมูลจากการค้นคว้ามาผนวกกับข้อมูลที่ได้จากการหาความต้องการของผู้บริโภคจากแบบสอบถาม  โดยใช้วิธีการบำบัดโดยการเล่น (Play Therapy) มาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ตามกระบวนการในการสร้างผลิตภัณฑ์   ได้ผลิตภัณฑ์ลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่มีคุณสมบัติในการช่วยให้เด็กสามารถระบายอารมณ์เมื่อมีอารมณ์โกรธ  ช่วยให้เด็กไม่มีอาการเก็บกด  เสียงบรรเลงเปียโนช่วยให้เด็กผ่อนคลายและทำให้อารมณ์สงบลง  เกิดสมาธิ  เมื่อเด็กเกิดสมาธิจึงเพิ่มนิทานที่ช่วยสอนให้เข้าใจอารมณ์และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเป็นการสอนทางอ้อม  ไม่ให้เด็กรู้สึกกดดันหรือเป็นการบังคับ  เด็กสามารถเล่นได้ตลอดเวลาเหมือนเป็นพื้นที่ส่วนตัวสำหรับเด็ก  ทั้งยังช่วยส่งเสริมจิตนาการ  สร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนได้  จากการทดลองเด็กสามารถเล่นได้นานกว่า  20 นาที  ดังนั้นควรมีการปรับเพิ่มเติมในเรื่องของเวลาการทำงานของผลิตภัณฑ์   และปรับโครงสร้างให้สะดวกต่อการขนย้าย

คำสำคัญ: นวัตกรรม, เทคโนโลยี, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่, ความก้าวร้าว, พฤติกรรม

 

Abstract

The Thai's family life nowadays has become  one which working parents spend fewer quality time with their children.  Together with deteriorated society, compensating floor time with putting more value on the development of the children's abilities and intellect result in more aggressive behavior in children.  The innovative product aims to reduce this aggressiveness in children 3-6 years of age at the point where the learning process starts.  The IP (innovative product) arises from the integration of research data and data from the survey of consumer requirements.  Play Therapy is the key concept applied in designing the IP in order to allow children to release their anger and depressed emotions.  The piano sound will allow children to feel more relaxed and calmed thus increase focus.  Story Telling is then used to help children better understand their emotions and as examples for social behavior. Children will not feel that this is forced upon them. They will feel that they can always play in their own private little space resulting in the stimulation of imagination and increased peer interaction.  The test results show that children play with the IP more than 20 minutes.  The plan to improve play time and the structure of the IP for more convenient transport is inevitable.

Keyword: Innovation, Technology, New Product Development : NPD, Aggressive, Behavior

 

Article Details

How to Cite
สิงห์โตแก้ว อ. (2012). ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมลดพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก อายุ 3-6 ปี. Asian Creative Architecture, Art and Design, 12(1), 75–88. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/4181
Section
Research Articles