แนวทางการกำหนดมาตรฐานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับอาคารชุดพักอาศัย ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ยุพิน แซ่ตั้ง

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางกายภาพของอาคารชุดพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จากเกณฑ์การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางกายภาพ  แล้วกำหนดเป็นแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม  สำหรับอาคารชุดพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร  โดยวิเคราะห์รูปแบบของข้อกำหนดถึงความเป็นไปได้ในด้านการลงทุน  เพื่อพัฒนาเป็นแนวทางการกำหนดมาตรฐานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของอาคารชุดพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร

ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานและกระบวนการในการพิจารณาที่ถูกต้อง  โดยอาศัยการค้นคว้ารวบรวมเอกสารและข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม  กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการอาคารชุดพักอาศัย  ซึ่งเป็นผู้พักอาศัยรอบโครงการอาคารชุดพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร  ส่วนผู้ที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการทำรายงานฯ ประกอบด้วย สถาปนิก วิศวกร นักกฎหมาย นักพัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัยและผู้พักอาศัยในโครงการอาคารชุดพักอาศัย การสุ่มกลุ่มตัวอย่างเป็นการสุ่มแบบเจาะจง  ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงมีขนาด 400 คน  ส่วนกลุ่มตัวอย่างจากผู้ที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมแบ่งออกเป็นกลุ่มละ 25 คน  รวมทั้งสิ้น 125 คน

ผลจากการศึกษาพบว่า  ข้อกำหนดในการควบคุมการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการอาคารชุดพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครส่งผลในทางที่ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม  กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าข้อกำหนดในการควบคุมการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการอาคารชุดพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร  ยังไม่มีความเหมาะสมและควรมีการเพิ่มเติมข้อกำหนดบางประการลงไปเพื่อสร้างเป็นมาตรฐานในการนำไปใช้ในอนาคต

การศึกษาในครั้งนี้  พบว่า  ความต่างของนัยสำคัญสามารถอธิบายถึงความแตกต่างของปัจจัยต่าง ๆ ในแต่ละพื้นที่ ดังนั้น แนวทางการกำหนดมาตรฐานในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับอาคารชุดพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีความแตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยในแต่ละพื้นที่  ผลของการศึกษาจะได้แนวทางที่ดีต่อการพัฒนาที่พักอาศัย  สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยทางกายภาพของผู้พักอาศัย  อีกทั้งยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิต  การจราจร  ทัศนียภาพและสภาพแวดล้อมของชุมชนที่ดีขึ้น

 

Abstract

This research is intended to study problems relating to the physical characteristics of housing condominium in Bangkok by using the Environmental Impact  Assessment Standards as a criterion for evaluation. This study, along with an investment analysis, is then used to develop guidelines for establishing the Environmental Impact Assessment Standards for housing condominiums in Bangkok.

The results of this research finally show that significant differences can be attributed to the different factors found in each area. The Environmental in order to establish proper standards and criteria for consideration, various documents and information regarding environmental impact analysis are gathered. The research sample is divided into two groups. The first group consists of people who live close to Bangkok’s condominium projects and are therefore directly affected by the housing condominium’s environmental impact analysis. The second group consists of people such as architects, engineers, lawyers, project developers, and condominium residents who are indirectly affected by the environmental impact assessment. This type of purposive sampling is used with a sample group that is made up of 400 people who are directly affected by environmental impact assessment and 125 people who have been affected indirectly. The group of 125 people is then broken down into 5 subgroups of 25 persons each.

The results of this study show that government regulations controlling Bangkok’s housing condominium environmental impact analysis actually lead to negative effects on the environment. The sample group agrees that government  regulations controlling Bangkok’s housing condominium environmental impact analysis are inappropriate and shall be improved to establish better standards for future projects.

Impact Assessment Standards for Bangkok’s housing condominiums should therefore be applied differently in each area. It is the goal of this research to contribute to a better residential development, resident’s safety, traffic, scenery, and the overall environment and community.

Article Details

How to Cite
แซ่ตั้ง ย. (2012). แนวทางการกำหนดมาตรฐานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับอาคารชุดพักอาศัย ในเขตกรุงเทพมหานคร. Asian Creative Architecture, Art and Design, 7(1), 50–63. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/4194
Section
Research Articles