การศึกษาวิธีการย้อมสีผ้าฝ้ายด้วยเปลือกต้นโปร่ง

Main Article Content

ผ่องศรี รอดโพธิ์ทอง

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษากรรมวิธการย้อมผ้าฝ้ายด้วยสีจากเปลือกต้นโปรง ประสิทธิภาพของสารช่วยติด ความคงทนของสีต่อการซัก และความคงทนของสีต่อแสงของผ้าฝ้าย โดยนำเปลือกต้นโปรงมาสกัดเป็นน้ำสี นำไปย้อมผ้าฝ้ายที่ไม่แช่และแช่น้ำถั่วเหลือง โดยใช้สารช่วยติด  3  ชนิด  คือน้ำปูนขาว  3  เปอร์เซ็นต์  น้ำสารส้ม  5  เปอร์เซ็นต์  และน้ำสนิม  (อัตราส่วน 1 : 10)  เป็นสารช่วยติด  วัดค่าสีและทดสอบความคงทนของสีต่อการซักและต่อแสงของผ้าตัวอย่าง แล้วนำไปประเมินค่าสีและการเปลี่ยนแปลงของสี

ผลการวิเคราะห์ผ้าฝ้ายที่ไม่แช่และแช่น้ำถั่วเหลืองย้อมด้วยสีจากเปลือกต้นโปรง  โดยใช้สารช่วยติดต่างชนิดกัน พบว่า ผ้าฝ้ายที่ไม่แช่น้ำถั่วเหลืองที่ไม่ใช้และใช้สารช่วยติด  สีที่ย้อมได้จะมีสีน้ำตาลออกเหลือง  สีค่อนข้างสว่าง  ส่วนผ้าฝ้ายที่แช่น้ำถั่วเหลืองที่ไม่ใช้และสารช่วยติด  สีที่ย้อมได้จะมีสีน้ำตาลแดงออกคล้ำ  สีผ้าเข้มกว่าผ้าที่ไม่แช่น้ำถั่วเหลือง  เนื่องมาจากการปรับสภาพผ้าฝ้ายโดยการแช่ผ้าฝ้ายด้วยน้ำถั่วเหลืองซึ่งเป็นการเพิ่มโปรตีนให้กับเส้นใย  ทำให้ผ้าฝ้ายติดสีดีขึ้น

ผลการวิเคราะห์ความคงทนของสีต่อการซัก  พบว่า  ผ้าที่แช่น้ำถั่วเหลืองก่อนย้อมจะมีความคงทนของสีต่อการซักดีกว่าผ้าที่ไม่แช่น้ำถั่วเหลือง  และผลการวิเคราะห์ความคงทนของสีต่อแสง  พบว่าผ้าที่ไม่แช่และแช่น้ำถั่วเหลืองโดยใช้น้ำปูนขาวและน้ำสนิมเป็นสารช่วยติด  จะมีความคงทนของสีต่อแสงต่ำสุดทั้งสองกรณี

สรุปผลการวิเคราะห์การย้อมผ้าฝ้ายด้วยสีจากเปลือกต้นโปรง  ควรแช่ผ้าฝ้ายด้วยน้ำถั่วเหลืองก่อนย้อม  และใช้น้ำปูนขาวหรือน้ำสนิมเป็นสารช่วยติด  จะได้ผ้าที่มีสีเข้มและมีความคงทนของสีต่อแสงและการซัก

คำสำคัญ : ต้นโปรง, สีธรรมชาติ, น้ำถั่วเหลือง, สารช่วยติด

 

Abstract

The objectives of this research are to study about dyeing method with Ceriops decandra Ding Hou, efficacy of mordants, washing colorfastness and light colorfastness and light colorfastness of cotton fabric.  During the expwriment, the researchers tested three mordants  :  lime solution, alum solution, and ferrous sulfate solution.  Color values colorfastness to washing and light colorfastness of the fabrics were determined before the test and after the test.

In conclusion, dyeing cotton with Ceriops decandre Ding Hou in soymilk treatment and use lime solution or ferrous sulfate solution as mordant before dyeing not only causes the color darker but also increase washing colorfastness and light colorfastness

Keywords : Ceriops decandra Ding Hou, Natural dye,  Soymilk,  Mordant

Article Details

How to Cite
รอดโพธิ์ทอง ผ. (2012). การศึกษาวิธีการย้อมสีผ้าฝ้ายด้วยเปลือกต้นโปร่ง. Asian Creative Architecture, Art and Design, 9(2), 1–13. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/4201
Section
Research Articles