เทคโนโลยีการก่อสร้างส้วม สำหรับบ้านพักอาศัยริมน้ำ กรณีศึกษา หมู่บ้านสาขลา ต.นาเกลือ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ สมุทรปราการ

Main Article Content

อรรจน์ กาญจนานุรักษ์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาเทคโนโลยีการก่อสร้าง ส้วม สำหรับบ้านพักอาศัยริมน้ำ กรณีศึกษา   หมู่บ้านสาขลา   ต.นาเกลือ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ เป็นการศึกษาเทคโนโลยีการก่อสร้าง ส้วม  ที่ทำการก่อสร้างโดยช่างก่อสร้างในหมู่บ้าน ซึ่งมีความชำนาญในพื้นที่เป็นอย่างดี ทำการก่อสร้างโดยการทดลองผิด ทดลองถูก เกิดการแก้ไขปัญหาในการก่อสร้างและการใช้งานจนเกิดการเรียนรู้ และ สามารถถ่ายทอดกันมาเป็นจนเกิดเป็นภูมิปัญญาของพื้นที่นั้นๆ ที่สามารถทำการก่อสร้าง และ ใช้งานได้ในพื้นที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ และ เมื่อสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการก่อสร้างสมัยใหม่ ก็สามารถนำเอาภูมิปัญญาที่มีอยู่นั้น มาประยุกต์เลือกใช้ได้กับเทคโนโลยีการก่อสร้างสมัยใหม่ได้ ซึ่งทำให้เกิดเป็นรูปแบบของเทคโนโลยีการก่อสร้าง ส้วม สำหรับพื้นที่นี้ โดยที่ช่างในพื้นที่สามารถ ก่อสร้างและแก้ไขปัญหาได้ ทั้งยังไม่มีเอกสาร หรือ แหล่งข้อมูลที่ให้ความรู้ในด้านนี้โดยเฉพาะ

หมู่บ้านสาขลา ตั้งอยู่ที่ ต.นาเกลือ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ จากการศึกษาข้อมูลภาพรวมของหมู่บ้านสาขลาพบว่า เทคโนโลยีการก่อสร้างของหมู่บ้านสาขลานั้นได้รับอิทธิพลจากจากปัจจัย 4 ข้อหลัก คือ ลักษณะภูมิประเทศของที่ตั้งที่มีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ มีลักษณะทางภูมิประเทศเป็น ที่ราบลุ่มปากแม่น้ำ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล และ เป็นพื้นที่ที่ชั้นดินมีระดับน้ำใต้ดินสูงตลอดเวลา ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับการทำงานของ ส้วม กล่าวคือ ระบบส้วมในประเทศไทยยังเป็นระบบการบำบัดของเสียแบบแยกแต่ละหลังคาเรือนจะมีระบบบำบัดเป็นของตัวเองก่อนปล่อยลงสู่สภาพแวดล้อม หรือ ระบบระบายน้ำสาธารณะ ในหมู่บ้านสาขลาซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่ตั้งอยู่ติดแม่น้ำ การก่อสร้างระบบระบายน้ำสาธารณะยังไม่สามารถเข้าถึงได้ หรือเข้าถึงได้ยาก

ภูมิประเทศของที่ตั้งจึงมีผลต่อการระบายน้ำที่ผ่านการบัดแล้วออกสู่ธรรมชาติโดยตรง  การคมนาคมขนส่งที่มีการเปลี่ยนแปลงจากทางน้ำเป็นการคมนามคมทางบกเป็นหลัก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการขนส่ง วัสดุและอุปกรณ์ในการก่อสร้าง  สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ทำให้เทคโนโลยีการก่อสร้างมีการพัฒนา เนื่องจากเจ้าของบ้านพักอาศัยในชุมชนมีฐานะดีขึ้น ประกอบกับ ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม ที่เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงอาชีพหลักของคนในชุมชน การติดต่อกับสังคมภายนอกได้อย่างสะดวกสบาย ทำให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้มากกว่าในอดีต ซึ่งปัจจัยทั้ง 4 ข้อนี้ส่งผลต่อเทคโนโลยีการก่อสร้างส้วมในหมู่บ้านสาขลา ให้มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย

การศึกษาเทคโนโลยีการก่อสร้าง ส้วม สำหรับบ้านพักอาศัยริมน้ำ นี้จึงเป็นการศึกษาเพื่อรวบรวม องค์ความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้าง ส้วม ปัจจัยต่างๆในการพิจารณาการเลือกใช้เทคนิคการก่อสร้าง และ วัสดุที่ใช้ ตลอดจน เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมภูมิปัญญาของช่างในท้องถิ่น ให้สามารถพัฒนาองค์ความรู้ที่มีอยู่ ในการประยุกต์ใช้กับเทคนิคการก่อสร้าง และ เทคโนโลยีการผลิตวัสดุ ที่มีการคิดค้นขึ้นมาใหม่อยู่ตลอดเวลา ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการ และ การแก้ปัญหาในการก่อสร้างและการใช้งานได้อย่างยั่งยืนสืบไป

คำสำคัญ: เทคโนโลยีการก่อสร้าง , ส้วม , เทคโนโลยีการก่อสร้างส้วม , ส้วมสำหรับบ้านพักอาศัยริมน้ำ , องค์ประกอบของการก่อสร้างส้วม , รูปแบบของเทคโนโลยีการก่อสร้างส้วม

Abstract

The study of toilet construction technology for riverside dwelling is the case study in Sakla village, Naglue district,Amphur Phra Samut chedi ,Samutprakan province. The toilet was constructed by local constructors who specialised in this landscape. Trial and error is the significant method that was used along the construction. The learning was emerged in the real working environment. This brings about local intellect which has been passed on generations. The villagers are able to perform the construction in this specific landscape. In addition, the local intellect is possibly adapted and used with advanced construction technology,then it  will be generated in this area. The local constructors will be able to build the toilet and solve the problems, even though the source of knowledge and supporting documents are not available.

Sakla village is located in Naglue district,Amphur Phra Samut chedi ,Samutprakan province. The general study of this village found that the construction technology in this area is influenced by 4 major factors. First of all, the particular landscape which is low-land estuary. This type of landscape is affected by rise and fall of sea level. Moreover, the level of underground water is typically high which directly affects toilet system. The toilet system in Thailand is separately operated in each household before releasing to public drainage system. Sakla village is situated on riverside, so there are difficulties of completing public drainage system. Generally speaking, the form of landscape influences the release of treated water to natural water resources. Furthermore, the change of major transportation from water to land causes the problems of carry construction tools and materials. Last of all, the development of social and economy brings about better construction technology. The community has changed in terms of living status, culture and career. The ease of connection among communities helps with technological development. To sum up, these four factors influence the toilet construction technology in Sakla village.

The study of toilet construction technology for riverside dwelling aims to gather the knowledge of toilet construction and factors that direct the selection of construction techniques as well as materials. Another advantage is that the study could be the guide line for local constructors to develop their intellect in order to meet new technology which is moving all the time. Eventually, the study will respond local needs in construction aspect in the long run.

Keyword: Construction technology , Toilet , The toilet construction technology, The toilet for riverside dwelling , Component of the toilet construction   ,The pattern of The toilet construction technology

Article Details

How to Cite
กาญจนานุรักษ์ อ. (2012). เทคโนโลยีการก่อสร้างส้วม สำหรับบ้านพักอาศัยริมน้ำ กรณีศึกษา หมู่บ้านสาขลา ต.นาเกลือ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ สมุทรปราการ. Asian Creative Architecture, Art and Design, 11(2), 23–34. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/4202
Section
Research Articles