การวิเคราะห์ศัยภาพเชิงพื้นที่สำหรับการวางแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย: กรณีศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ประพัทธ์พงษ์ อุปลา
ชาญวิทย์ พงษ์ขวัญ
นายกฤษณะ แพทย์จะเกร็ง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่ (Potential Surface Analysis (PSA) เป็นเทคนิควิธีหนึ่งที่สามารถใช้ประเมินและวิเคราะห์หาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาที่อยู่อาศัย นิคมอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม แหล่งท่องเที่ยว ฯลฯ การวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่พัฒนามาจากหลักการของเทคนิคการวิเคราะห์แบบซ้อนทับแผนที่ (Overlay Mapping) ซึ่งต้องใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) และข้อมูลรายละเอียด (Attribute Data) จากระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) มาทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์รวมกัน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหาพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสม สำหรับการวางแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในอนาคต โดยมีการกำหนดปัจจัย 5 กลุ่ม เพื่อใช้ในการวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญด้านที่อยู่อาศัยประกอบไปด้วย 1. ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ในการปลูกสร้างอาคาร  2. ความสามารถในการเข้าถึงบริการชุมชน  3. โอกาสการพัฒนาตามข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน (ผักเมืองรวมพระนครศรีอยุธยา๗  4. กรรมสิทธิ์ที่ดินและพื้นที่ว่างที่ไม่ได้มีการพัฒนา และ 5. การรองรับและคุณภาพการใช้อาคารและที่ดินในปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า บริเวณที่มีศักยภาพเหมาะสมที่สุดสำหรับการพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่ พื้นที่ทางด้านทิศใต้ของเทศบาลเมืองอโยธยา (ตำบลไผ่ลิง ตำบลคลองสวนพูล) พื้นที่บริเวณทางหลวงหมายเลข 3056 (บริเวณตำบลคุ้งลาน ทางตะวันออกของพื้นที่ศึกษา) และพื้นที่ทางด้านเหนือของเทศบาลเมืองอโยธยา (ตำบลหันตรา)

คำสำคัญ: การวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่  การวิเคราะห์แบบซ้อนทับแผนที่  การพัฒนาที่อยู่อาศัย

 

Abstract

Potential Surface Analysis (PSA) is an alternative technique for evaluation and analysis of the potential location for residential, industrial, commercial, and recreation development. PSA was developed from the overlay mapping technique that combined the spatial data and the attribute data from Geographic Information System (GIS). In this paper, Phranakhonsri ayotthaya Province is to analyze the appropriate location for the settlement of residential development in the future. Following housing professional agreement, the five main factors analyze on this research including  1. Physical and restricted for housing development  2. Accessibility on facility community  3. Comprehensive  plan   4. Land acquirement and vacant area, and  5. Land use capacity. The results shown that the potential location is on the Southern of Ayotthaya Municipal (Pai-Ling District and Khlong Suan Phu District), alongside the Highway no. 3056 (Khung-Lan District), and the Northern of Ayotthaya Municipal (Hum-Ta District).

Keywords: Potential Surface Analysis (PSA), Overlay Mapping, Residential Development

Article Details

How to Cite
อุปลา ป., พงษ์ขวัญ ช., & แพทย์จะเกร็ง น. (2012). การวิเคราะห์ศัยภาพเชิงพื้นที่สำหรับการวางแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย: กรณีศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Asian Creative Architecture, Art and Design, 8(1), 47–56. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/4204
Section
Research Articles