ปัจจัยเพื่อการออกแบบเครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ผลิตภัณฑ์หรือผลผลิตทางการเกษตร: กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาครและสมุทรสงคราม

Main Article Content

สุมิตรา ศรีวิบูลย์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสำคัญและรูปแบบของเครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือเครื่องหมายรับรอบอื่นๆ ซึ่งใช้เพื่อให้ความคุ้มครองผลิตภัณฑ์หรือผลผลิตทางการเกษตรที่ใช้อยู่ในประเทศต่างๆ และนำข้อมูลมาเป็นแนวทางในการออกแบบสำหรับประเทศไทย ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้เลือกศึกษาจังหวัดสมุทรสาครและสมุทรสงคราม โดยใช้การวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนในระดับต่างๆ ของจังหวัด เพื่อหาผลิตภัณฑ์หรือผลผลิตทางการเกษตรที่มีความโดดเด่นของแต่ละจังหวัดที่ควรนำมาขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงศึกษาเพื่อค้นหาปัจจัยเป็นตัวกำหนดกรอบในการออกแบบเครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้กับจังหวัดทั้งสองด้าน

คำสำคัญ: เครื่องหมายบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

 

Abstract

This study aims to conduct a qualitative and operational research, with an objective to investigate the significance and style of Geographical Indication (GI) that is used specifically to protect agricultural or non-agricultural products in various countries. A design of GI was finally created for the selected 2 provinces of Thailand which are Samutsakorn and Samutsongkram. The distinguished agricultural and non-agricultural products of each province were identified from document analysis and in-depth interviews with key respondents. The gathered data were scrutinized and refine to extract the possible design of GI for both provinces.

Keywords: Geographical indication (GI)

Article Details

How to Cite
ศรีวิบูลย์ ส. (2012). ปัจจัยเพื่อการออกแบบเครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ผลิตภัณฑ์หรือผลผลิตทางการเกษตร: กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาครและสมุทรสงคราม. Asian Creative Architecture, Art and Design, 8(1), 57–68. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/4206
Section
Research Articles