โครงการสาธิตอนุรักษ์เรือนไทยในพื้นที่คลองอ้อมนนท์จังหวัดนนทบุรี “ศูนย์ข้อมูลชุมชนวัดบางอ้อยช้าง”

Main Article Content

วัชรี วัชรสินธุ์

Abstract

บทคัดย่อ

ตามคำเชิญขององค์การบริหารส่วนตำบลบางสีทอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ในปี พ.ศ.2548 ที่ขอให้ผู้เขียนทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านศิลปะสถาปัตยกรรม “ศูนย์ข้อมูลชุมชนวัดบางอ้อยช้างซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสาธิตในโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมในพื้นที่คลองอ้อมนนท์จังหวัดนนทบุรี  โดย  สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ร่วมกับ  Danish International Development Assistance (DANIDA)  นั้น นับเป็นโอกาสอันดียิ่งทางวิชาการสำหรับผู้เขียน ในการที่ได้ปฏิบัติงานอนุรักษ์เรือนไทยในแหล่งมรดกวัฒนธรรม “คลองอ้อมนนท์ จังหวัดนนทบุรีในมิติของคุณค่าทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม

โครงการสาธิตดังกล่าว เป็นการย้ายเรือนไทยในโบราณอายุกว่า  100  ปี ซึ่งผู้มีจิตศรัทธาได้พร้อมใจกันซื้อมาถวายวัดให้ใช้เป็นโรงครัวมาเป็นเวลากว่า  50  ปี ซึ่งคณะกรรมการชุมชนฯ พิจารณาเห็นว่า มีสภาพทรุดโทรมและไม่เหมาะสมที่จะตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม นำไปปลูกขึ้น ณ สถานที่อันควรแห่งใหม่ โดยทำการซ่อมแซมตัวเรือน ต่อเติมชาน รั้ว ซุ้มบันไดทางขึ้น ตลอดจนปรับปรุงภูมิสถาปัตยกรรมโดยรอบอาคารเพื่อให้อาคารแลดูสง่างามเหมาะสมที่จะใช้เป็นอาคารเกียรติยศ “ศูนย์ข้อมูลชุมชนวัดบางอ้อยช้าง

ด้วยสำนึกของนักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและนักอนุรักษ์ ผู้เขียนได้ร้องขอคณะช่างให้รักษาตัวอักษรลายมือที่ฝาบานหน้าต่าง ได้สืบค้นประวัติความเป็นมาของเรือนและทายาทของเจ้าของเรือนที่ยงคงมีชีวิตอยู่ ได้สัมภาษณ์ประวัติย่อของผู้อาวุโสในชุมชนที่อาศัยอยู่รอบบริเวณวัด และลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงานก่อสร้าง จัดพิมพ์เป็นคำบรรยายประกอบภาพติดแสดงถาวรไว้เป็นฐานข้อมูลของศูนย์ฯ ตลอดจนได้ทำการศึกษาวิเคราะห์สัดส่วนตัวเรือนสกุลช่างเมืองนนท์บันทึกเก็บไว้

การดำเนินงานก่อสร้างตลอดระยะเวลา  90  วัน ที่มีผู้เฒ่าผู้แก่ซึ่งเป็นที่นับถือของชุมชนหลายท่านได้แวะเวียนมาดูการปฏิบัติงานขอคณะช่างอยู่ไม่ขาด อีกทั้งการที่สมาชิกของชุมชนที่อาศัยอยุ๋ติดเขตวัดตลอดจนผู้ที่ต้องเดินทางผ่านไปมาอาศัยท่าน้ำของวัดได้เห็นภาพการปฏิบัติงานค่อย ๆ ดำเนินไปจากพื้นที่ว่างเปล่าจนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์เป็นเรือนอันสง่างามนั้น นับเป็นความสำเร็จของโครงการที่ประสงค์ให้คนในชุมชนเกิดจิตสำนึกใน “คุณค่าของเรือนไทยโบราณ” ประเมินผลได้จากความร่วมมือร่วมใจกันเป็นหนึ่งเดียวของบุคคลต่างสถานะภาพของชุมชนฯ ในการร่วมกันจัดงานฉลองขึ้นเรือนใหม่ ดายไม่รั้งรอพิธีเปิดศูนย์ฯ อย่างเป็นทางการ ในวันฉลองขึ้นเรือน นางอำนวย  แผ้วสกุล (อายุ 71 ปี) ทายาทเจ้าของเรือนรุ่นลูก เมื่อได้เห็นลายมือของบิดาที่เขียนด้วยดินสอพองไว้บนบานหน้าต่างฝาเสี้ยว บันทึกวันเดือนปีเกิดของลูก ๆ ทั้งหมด นางชี้ที่ตัวอักษรดังกล่าวพร้อมอ่านดัง ๆ ด้วยน้ำเสียงเครือว่า “อำนวย วันอังคาร แรม ๓ ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ นี่วันเกิดฉัน” เป็นความประทับใจที่มิอาจลืมได้เลยสำหรับผู้มาร่วมงานในขณะนั้น

ปัจจุบันนี้ศูนย์ข้อมูลฯ อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการชุมชนวัดบางอ้อยช้าง มีนักศึกษาและนักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศที่ล่องเรือมาตามคลองอ้อมนนท์ได้พากันขึ้นเยี่ยมชมเรือนอยู่อย่างไม่ขาดสาย

คำสำคัญ  :  คุณค่าของเรือนไทย, โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมในพื้นที่คลองอ้อมนนท์จังหวัดนนทบุรี, ศูนย์ข้อมูลชุมชนวัดบางอ้อยช้าง

Abstract

The Bang Sithong Tambon Adminstration inbited me to be the architectural art advisor to it’s conservation project in 2005.  The “Wat Bang Oy Chang Community Data Center” plan was part of the demonstration programs of the conservation project of artistic environment in Nonthaburi Om Canal area ; initiated by the office of Natural Resources and Environmental Policy and Plannning in cooperation with the Danish International Development Assistance (DANIDA).  The practical conservation work of moving and renovating a traditional Thai house offered an excellent academic opportunity for me to gain architectural insight of the Thai house in Nonthaburi Om Canal area.

The work involved moving an old wooden house dated over 100 years donated to the monastery by a group of devotees to be a kitchen for over 50 years.  The Wat Bang Oy Chang Community Council agreed that the house was too dilapidated to be left on the old site.  In order to have a distinguished center, extensive repair and addition of porch, railing, entrance and landscaping are needed.

For the interpretation of the conservation work of the Thai house to the public’s appreciation and understanding of our architectural history of the house and it’s occupants through time.  Senior members of the community were interviewed.  Steps in construction of the house were recorded and photographed for later permanent exhibit inside the Center.  The engineering structure and assembling style of the builders with detailed measurements of proportion were analyzed and documented.

During the 90 days of work, there were constant visits from respected senior local inhabitants, and passers-by.  They witnessed the raising of a heritage house.  The measure of success in raising community awareness of the “merit of ancient Nonthaburi Thai House” was evident on the day the community united to celebrate the opening day was of Mrs. Amnuay Paewsakul Z71 years old) pointing to her father’s handwriting in white clay on a window panel recording all his children’s birth dates.  She read with shaken voice, “Amnuay, Tuesday, 3rd day of waning moon, second month, year of the dog ; that’s my birthday.” Now the Center, under supervision of the Community Council, regularly attracts students and tourists.

Keywords : The merit of ancient Thai House, The conservation project of artistic environment in Nonthaburi “Om Canal  area, Wat Bang Oy Chang Community Data Center

 

Article Details

How to Cite
วัชรสินธุ์ ว. (2012). โครงการสาธิตอนุรักษ์เรือนไทยในพื้นที่คลองอ้อมนนท์จังหวัดนนทบุรี “ศูนย์ข้อมูลชุมชนวัดบางอ้อยช้าง”. Asian Creative Architecture, Art and Design, 9(2), 42–51. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/4212
Section
Research Articles