การศึกษาวิธีการลดความชื้นของอากาศภายในบ้านแถว เขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : บ้านแถว ทาวน์เฮ้าส์ 3 ชั้นหมู่บ้านศุภาลัยวิลล์ ถนนรัชดาภิเษก

Main Article Content

อรรณพ สัจจพงษ์

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการลดและการเพิ่มความชื้นของอากาศภายในบ้านแถว โดยบ้านแถวที่นำมาใช้เป็นกรณีศึกษา ได้มีการแบ่งพื้นที่ภายในออกเป็น 3 ส่วน คือส่วนต้อนรับ , ส่วนทำอาหารและส่วนพักผ่อน โดยมุ่งเน้นศึกษาวิธีการลดความชื้นที่เกิดจากกิจกรรมภายในบ้านแถว ซึ่งแต่ละรูปแบบของการทดลองอ้างอิงมาจากหลักในการลดความชื้น ดังนี้

การทดลองที่ 1 ที่สภาวะปกติ ไม่มีการควบคุมความชื้น เพื่อเป็นแบบอ้างอิงเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับการทดลองอื่นๆ

การทดลองที่ 2 การระบายอากาศ (Ventilation) พาความชื้นไปยังส่วนอื่น โดยการทดสอบกำหนดความเร็วลม 2   ระดับ คือที่ความเร็วลม 0.6 m/s และ  2.4 m/s (วัดที่ระยะ 10 cm. จากพัดลม) เพื่อเปรียบเทียบผลการทดลอง

การทดลองที่ 3 สารดูดความชื้น (Desiccant) เพื่อดูดซับความชื้นในอากาศ โดยการทดสอบเลือกใช้สารดูดความชื้น; Eco Dry ขนาด 1 Kg และ 2 Kg เพื่อเปรียบเทียบผลการทดลอง

จากการวิจัยสรุปคุณสมบัติและข้อจำกัดของการทดลองในแต่ละกรณี

1.  การระบายอากาศ เป็นวิธีที่สามารถลดความชื้นได้ทุกช่วงเวลาแต่เนื่องจากการทดลองนี้การะบายอากาศเป็นเพียงการย้ายอากาศชื้นจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เท่านั้น การที่จะทำให้ความชื้นลดลงได้จริงจึงต้องมีการถ่ายเทอากาศชื้นออกนอกหุ่นจำลอง

2.  สารดูดความชื้น Eco Dry สามารถลดความชื้นได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ แต่มีข้อจำกัดในเรื่องของความอิ่มตัว และราคาค่อนข้างแพงในการนำมาใช้ภายในอาคาร จึงควรลองใช้วัสดุท้องถิ่น เช่นถ่านจากกะลามะพร้าว ไม้โกงกาง ฯลฯ ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดความชื้นมาทดแทน

คำสำคัญ : ความชื้น, บ้านแถว, การระบายอากาศ, สารดูดความชื้น Eco Dry

 

Abstract

This project proposes to study a process of dehumidification of moist air of a row house, In specific: a 3 storey row house, Supalai ville on Ratchadapisak road. The internal area can be divided into 3 main functions; Living area , Pantry area and Privacy area. The objective is stressed to study of desiccant the behavior of moist air that occur from activities in building.

Simulation 1 Normal : not control humidity, it refer to compare efficiency with others.

Simulation 2 Ventilation : To move moist air to another place. By test with wind speed 2 levels at  0.6

m/s and 2.4 m/s (measure at 10 cm. from fan) to compare efficiency humid control in

different wind speed.

Simulation 3 Desiccant : by test with Eco Dry 1 Kg and 2 Kg to compare efficiency of different desiccant.

Conclusion of Benefit and Limited of each factors

1.   Ventilation is a method that can reduce humid in the air all of time but in this experiments ventilation is moved moist air from a place to another place. It dose not obliterate moist air. Procedure that reduce moist air should be created outlet for removing moist air to outside

2.   Eco Dry Desiccant is a method that reduce moist air quickly in a period of time. It has limit of  point of saturation and cost of desiccant. It can use local material such as coal from wood, coconut, etc instead.

Key words : Humidity, A row house, Ventilation, Eco dry desiccant

Article Details

How to Cite
สัจจพงษ์ อ. (2012). การศึกษาวิธีการลดความชื้นของอากาศภายในบ้านแถว เขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : บ้านแถว ทาวน์เฮ้าส์ 3 ชั้นหมู่บ้านศุภาลัยวิลล์ ถนนรัชดาภิเษก. Asian Creative Architecture, Art and Design, 10(2), 19–30. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/4224
Section
Research Articles