การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากคลื่นพายุซัดชายฝั่งโดยวิเคราะห์ซ้อนทับกลุ่มข้อมูลเชิงพื้นที่แบบกำหนดเงื่อนไข กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ไอศูรย์ เรืองรัตนอัมพร

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาเพื่อการวางแผนในกรณีที่เกิดภัยคลื่นพายุซัดฝั่ง พื้นที่ศึกษา จังหวัดสมุทรปราการโดยมีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อวิเคราะห์พื้นที่ปลอดภัย โดยใช้การวิเคราะห์ด้วยข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ สารสนเทศ  2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมของประชาชนที่อยู่อาศัยพื้นที่เสี่ยงภัย รวมไปถึงการรับรู้ภัยของภาคประชาชน และ 3. เพื่อวางแผน การเตรียมความพร้อมเพื่อบรรเทาเมื่อเกิดภัยพิบัติจากภัยคลื่นพายุซัดฝั่งซึ่งได้ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศด้วยวิธีการ Multi-Criteria Decision Analysis (MCDA) และกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่โดยใช้ปัจจัยต่างๆ อาทิ การเข้าถึงพื้นที่ พื้นที่เสี่ยงภัยคลื่นพายุซัดฝั่ง พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำล้นตลิ่ง ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า พื้นที่ที่จัดว่าเป็นพื้นที่ปลอดภัยจากคลื่นพายุซัดฝั่งและภัยต่อเนื่องในพื้นที่ศึกษานั้นอยู่ในระดับที่มีความปลอดภัยระดับปานกลาง ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติคลื่นพายุซัดฝั่ง  ซึ่งมีความจำเป็นต่อการวางแผนเพื่อรับมือภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

คำสำคัญ : พื้นที่หลบภัย, การบรรเทาภัยพิบัติ, แนวคิดระบบชีวิต, คลื่นซัดฝั่ง, การวิเคราะห์ซ้อนทับกลุ่มข้อมูลเชิง พื้นที่แบบกำหนดเงื่อนไข

 

Abstract

This article was to study for establishing plan for storm surge consequence. In the study area of Samut Prakarn Province. The objectives of this study are 1.) to analyze levels of safety area by using GIS application 2.) to study the human behavior in storm surge sequence and perception of civilians in risk area and 3.) to plan and guide for reducing risk due to storm surge consequence. the preliminary study shown that the level of safety area in Samut Prakarn by using Multi-Criteria Decision Method (MCDM) and set criteria for analysis such as accessibility, flood risk area, riverflood risk area and storm surge risk area. The result of the preliminary study shown that most area of Samut Prakarn is in the moderate safety level, and therefore to establish a plan for mitigating risk due to storm surge consequence.

Keywords: Shelter, Disaster mitigation, Vitae system, Storm surge, Multi-Criteria Decision Method

Article Details

How to Cite
เรืองรัตนอัมพร ไ. (2012). การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากคลื่นพายุซัดชายฝั่งโดยวิเคราะห์ซ้อนทับกลุ่มข้อมูลเชิงพื้นที่แบบกำหนดเงื่อนไข กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ. Asian Creative Architecture, Art and Design, 10(2), 61–71. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/4229
Section
Research Articles