ความต้องการความงามที่เกินงาม

Main Article Content

ครรชิตพล อินทร์ชา

Abstract

บทคัดย่อ

ปัจจุบันความคิดและความนิยมเรื่องของการทำศัลยกรรมความงาม   กำลังได้รับการตอบรับจากบุคคลหลากหลายทางเพศ  และหลากหลายวัย  เด็ก  ผู้ใหญ่  คนชรา  ผู้หญิง  ผู้ชาย หรือแม้แต่ผู้ที่สังคมถือว่าเป็นเพศที่ 3   หรือเพศที่อยู่นอกเหนือจากเพศปรกติ บุคคลดังกล่าวหลายคนต้องการเปลี่ยนแปลงร่างกายด้วยเหตุที่แตกต่างกันไป      บ้างต้องการทำศัลยกรรมเพื่อแก้ไขความผิดปรกติของร่างกายบ้างต้องการทำเพื่อปรับเปลี่ยนสิ่งที่มีอยู่ให้แตกต่างไปจากเดิม   อย่างเช่น   การทำหน้า อกให้ใหญ่ขึ้น   ทำตาให้เป็น 2 ชั้น   ทำรูปจมูกใหม่   เหลาคางให้แหลม  และอาจรุนแรงจนถึงขนาดเปลี่ยนแปลงเพศที่ตนเองเป็นอยู่     ทั้งหมดทั้งสิ้นเหล่านี้     เป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่ไม่พึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่   ไม่พอใจในสิ่งที่ธรรมชาติให้มา

การทำศัลยกรรมดังกล่าว     อาจส่งผลต่อสภาพจิตใจในทางที่ดีขึ้น    มีความสุขมากขึ้นหากการกระทำดังกล่าวเกิดผลตามต้องการของตนเอง   ในทางกลับกันหากเกิดความผิดพลาด     หรือไม่เป็นไปตามที่ต้องการ   อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อร่างกายและจิตใจของผู้ทำ  ยิ่งไปกว่านั้นหากการทำศัลยกรรมเพื่อต้องการเพียงแค่ความงามของร่างกาย   มีความต้องการที่ไม่สิ้นสุด    อาจเกิดผลเสียที่สร้างความกดดันทำร้ายจิตใจตนเองทั้งในทางตรงและทางอ้อม      พอมีโอกาสได้สัมผัสกับการทำ ศัลยกรรมจิตใจก็เกิดความหลุ่มหลง      การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่อนำเสนอความต้องการความงามที่เกินงามของมนุษย์     ที่มีต่อร่างกายของตนเอง    ซึ่งความคิดฟุ้งซ่าน อยากได้ อยากมีกลายเป็นความทุกข์ให้กิเลส    ถูกสร้างขึ้นในมโนภาพของตนเองอย่างไม่รู้จักจบสิ้น

ข้าพเจ้าจึงใช้สิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวมากำหนดเป็นแนวความคิดเปรียบเสมือนสิ่งที่เกาะติด   ฝัง  กัดกิน  และบดบังความสุขของจิตใจ พอกพูน หนาขึ้นเรื่อย ๆ โดยยิ่งมีความต้องการเปลี่ยนแปลงตรง   ส่วนใดที่แตกต่างไปจากเดิม  ก็ยิ่งกลับรู้สึกเป็นปัญหาที่หนักขึ้น  ดังนั้น การสร้างสรรค์ผลงานของข้าพเจ้าจึงเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้       เพื่อพัฒนาขัดเกลาจิตใจของตนเองและผู้ชมผลงานศิลปะ ให้ตระหนักถึงการใช้ชีวิตให้มีความสุข     อยู่ด้วยการมีความพึงพอใจในสิ่งที่เองตนมี    ข้าพเจ้าถ่าย ทอดแนวความคิดดังกล่าว  เป็นลักษณะพื้นผิวและเทคนิคที่เปรียบเสมือนส่วนที่เป็นกิเลส  พร้อมทั้งนำเสนอรูปร่างและรูปทรงให้ผิดไปจากมุมมองที่เป็นปรกติ    ซึ่งทั้งหมดถูกสร้างให้มีสีสัน     และพื้นผิว   ที่ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา  เพื่อสื่อให้รู้สึกถึงความต้องการความงาม  ที่แฝงมากับความคิดฟุ้งซ่าน   และนำเอาทักษะส่วนตัวจากความถนัดในรูปแบบของผลงานภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut)  ที่ใช้หมึกพิมพ์สีน้ำมัน 2 มิติ    นำมาตอบสนองตัวเองได้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับวิธีคิดและสามารถอธิบายในสิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการสร้างสรรค์ สื่อแสดงออกร่วมกับผลงานได้เป็นอย่างดี

คำสำคัญ: การทำศัลยกรรม , ไม่พึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมี , ต้องการความงามที่เกินงาม , มโนภาพของตนเอง , ผลงานภาพพิมพ์แกะไม้

 

Abstract

Currently concept and popularity of cosmetic surgery has been responding from people in

various genders including adolescents, adult, senior people, female, male or the people in alternative sexes. In general, the people in alternative sexes are beyond the normal sexes, people in this group have different ideas in transforming their genders to be others. For example, some of them would like to transform their genders in order to improve their abnormality of their physical, some of them do the surgery for adjust, change or improve their existing appearance to be better, such as to enhance their breast/chest, making 2 layers eyes, making their noses to be bigger, sharpen their chin to be smaller or to be a better shape. Furthermore, some of them have a serious demanding in transforming their genders to be the opposite genders. All of these efforts, people do to respond their desire due to the dissatisfaction of their existence, meaning they are not satisfied with what nature provided to them.

To do those surgeries might effect to their mind and emotion in the way of making them feels better, happier in case that all the surgery are successful following their intention. On the contrary, if the surgery is failed and could not respond their desire, it might violently impact to both physical and psychological of the surgery makers. Furthermore, if the surgery that they have done just to respond the desire of physical beauty, this demand/desire are endless.  And this will cause the bad affect which increasing pressures in their mind. Creating the artworks presenting the desire in beauty exceed from the human-being’s beauty, which might affect to their physical appearance. An illusive ideas, demanding, possessive requirement become unhappiness and lust. All of the abovementioned have been created in their minds endlessly.

I have used those abovementioned to design a concept as if those incidents are similar to some things are sticking, burying, eroding and concealing the happiness in their minds. It gradually become thicker as well as their desire to improve in any parts of their bodies from the original and they feel their desires become bigger problems. Hence, my creative artworks will be the part of learning to develop and improve my mind and others who are my audiences and come to see my artworks, the audiences will be able to realize to spend their lives happily by satisfaction in whatever they have, accordingly.

I interpret my concept into my art works with the texture and technique which I compare as lust including presenting in the distort figures and forms to be different from the usual view. All of forms and textures are created in the colorful and the surface of the artworks can show the dynamic of it, in order to communicate of the feeling of beauty which comes together with the illusion idea. In addition, I have used my personal skill in doing the woodcut to use in my works by using 2 dimension oil printing colors to respond my self-desire with various processes and try to make all techniques and materials works together harmoniously with my concept and my thought. In order to explain all of things that I want to create and can communicate out to others through my artworks.

Keyword: cosmetic surgery , the dissatisfaction of their existence , the desire in beauty , learning to develop and  Improve my mind , woodcut to use in my works

Article Details

How to Cite
อินทร์ชา ค. (2012). ความต้องการความงามที่เกินงาม. Asian Creative Architecture, Art and Design, 11(2), 74–76. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/4236
Section
Research Articles