อาคารและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่สูญเสียในสภาวะน้ำท่วม

Main Article Content

สมชาย ศรีสมพงษ์
ณรงค์ มณฑปใหญ่
อัครเดช ครุฑพุ่ม

Abstract

บทคัดย่อ

อาคารและสิ่งปลูกสร้างในที่ลุ่มโดยทั่วไปมีอายุการใช้งานสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารที่ตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่มีน้ำท่วมขัง ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่ซ้ำเติมก็คือปรากฏการณ์แผ่นดินทรุดตัวอย่างต่อเนื่อง  การศึกษาเรื่องนี้พบว่าเสาตอม่อของอาคารหลังหนึ่งในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังที่จมน้ำอยู่ประมาณ 30-35 ปี มีโครงสร้างเสาของอาคารถูกกัดกร่อนจนสูญเสียพื้นที่หน้าตัดของวัสดุโครงสร้างไปมากกว่าร้อยละ 80 จนต้องหยุดให้บริการงานใช้สอยโดยสิ้นเชิงเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายอันอาจจะเกิดจากการวิบัติ ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นกับอาคารที่มีส่วนของโครงสร้างหลักนั้นจมน้ำอยู่ ทำให้เกิดคำถามถึงแนวทางแก้ไขและป้องกันความเสียหายดังกล่าวในระยะยาวสำหรับอาคารที่ปลูกสร้างในสภาพภูมิศาสตร์เช่นนี้

คำสำคัญ : การกัดกร่อนจากคลอไรด์, อะควาแรพพ์, ความซึมได้ในคอนกรีต, น้ำกร่อย, แผ่นสังเคราะห์กั้นน้ำ “FRP“

Abstract

Under a flooded environment corrosion can occur to the building structures in moderate climates, besides, the soil-subsidence phenomenon is yet an aggravating factor to the damages. The author found that main rebars and the covering concrete of 42 footing-columns of a brackish-water submerged reinforced concrete building in KMITL campus was about 80% corroded after approximately 30-35 years of service life. All service activities of the building then were strictly prohibited waiting for a reasonable resolution for the problem. The said damages are commonly seen and thus raise a big question of how the submerged structures can be saved, especially in the flood-prone environment which will prevail in this specific Geography.

Keywords : Depassivation of steel, Chloride induced corrosion, Aqua wrap, Permeability of concrete, Brackish water, Fiber Reinforced Plastic (FRP)

 

Article Details

How to Cite
ศรีสมพงษ์ ส., มณฑปใหญ่ ณ., & ครุฑพุ่ม อ. (2012). อาคารและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่สูญเสียในสภาวะน้ำท่วม. Asian Creative Architecture, Art and Design, 10(1), 39–56. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/4241
Section
Research Articles