บทบาทสตรีในการสร้างทุนทางสังคม และลดความยากจนในชุมชนผู้มีรายได้น้อย: กรณีศึกษา ชุมชนเจริญชัยนิมิตใหม่ ชุมชนคลองลำนุ่น และชุมชนเพชรคลองจั่น กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ฟาริดา บินล่าเต๊ะ

Abstract

บทคัดย่อ

อัตลักษณ์เพศหญิงที่ถูกกำหนดโดยสังคม เช่น ความละเอียดอ่อน ความรอบคอบ ความเสียสละ ความอ่อนน้อม และความอดทน ทำให้ผู้หญิงเป็นเพียงผู้สนับสนุนเบื้องหลัง แต่ปัจจุบันความเท่าเทียมระหว่างหญิง และชายมีเพิ่มมากขึ้น ผู้หญิงจึงเป็นทุนมนุษย์ที่ช่วยในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ของการพัฒนาชุมชนให้มีประสิทธิภาพ การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) ศึกษาลักษณะการทำงานของผู้หญิงกับบทบาทใน การขับเคลื่อนกิจกรรมชุมชน เพื่อนำไปสู่การสร้างทุนทางสังคม และลดความยากจนในชุมชน (2) ศึกษาปัญหา และอุปสรรค ที่มีต่อบทบาทผู้หญิงในการขับเคลื่อนกิจกรรมชุมชน (3) เสนอแนะแนวทางสนับสนุนบทบาทผู้หญิงต่อการทำกิจกรรมชุมชน เพื่อสร้างศักยภาพผู้หญิงที่เป็นพลังในการขับเคลื่อนกิจกรรมชุมชนให้มีประสิทธิภาพ ในการวิจัย ครั้งนี้ได้ทำการสำรวจข้อมูลทั้ง เชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ของผู้อยู่อาศัยทั้ง 3 ชุมชน คือ ชุมชนเจริญชัยนิมิตใหม่ ชุมชนคลองลำนุ่น และชุมชนเพชรคลองจั่น ซึ่งเป็นชุมชนผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพมหานคร โดยสำรวจทัศนคติ และความคิดเห็นต่อบทบาทผู้หญิงในการดำเนินงานกิจกรรมชุมชนจำนวน 84 ราย เป็นผู้หญิงจำนวน 68 ราย และผู้ชายจำนวน 16 ราย ในประเด็นกิจกรรมที่ช่วยลดความยากจนในด้านต่าง ๆ เช่น กลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน การจัดงานเทศกาล และประเพณี การรักษาสิ่งแวดล้อม การดูแลสุขภาพ การป้องกันภัยพิบัติ และการยอมรับจากผู้นำชาย ผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะการทำงานของผู้หญิงมีผลต่อการช่วยเหลือกิจกรรมของครอบครัว และชุมชน โดยแม่บ้านมีบทบาทในการช่วยเหลือกิจกรรมได้มากกว่าผู้หญิงทำงานนอกบ้าน เช่น การเลี้ยงดูลูก อบรมสั่งสอนลูก และการเข้าร่วมกิจกรรมชุมชน เนื่องจากมีเวลา และโอกาสที่ใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนตลอดเวลา จึงทำให้รู้ถึงสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชน และเกิดการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี  (2) ผู้หญิงมีบทบาทสำคัญในการสร้างทุนทางสังคม และลดความยากจน จากการสร้างความผูกพันในครัวเรือน และชุมชน ความต้องการช่วยเหลือกิจกรรม และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน ส่งผลให้ผู้หญิงเข้ามีบทบาทในการช่วยเหลือกิจกรรมชุมชนอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าผู้หญิงส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาน้อย เป็นแม่บ้าน และมีอาชีพรับจ้างทั่วไปที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย แต่มีการเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนลูก โดยมุ่งหวังให้ลูกมีการศึกษา และมีอาชีพที่มั่นคง อีกทั้งการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือกิจกรรม เช่น กลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน งานเทศกาล และประเพณี รักษาสิ่งแวดล้อม ดูแลสุขภาพ และป้องกันภัยพิบัติ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อบทบาทในการขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชน เช่น อัตลักษณ์ทางเพศ ความผูกพันในครัวเรือน และชุมชน การยอมรับจากผู้ชาย และกฎหมาย นโยบายที่สนับสนุนผู้หญิง เป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้บทบาทผู้หญิงเกิดการสร้างทุนทางสังคม และลดความยากจนในชุมชน

การศึกษาปัญหา และอุปสรรคที่มีต่อบทบาทผู้หญิงในการขับเคลื่อนกิจกรรมชุมชนพบว่า (1) แม่บ้านยังขาดความตระหนักในศักยภาพของตนเอง เช่น ความกล้าแสดงออก และการตัดสินใจในกิจกรรมของชุมชน ทำให้แม่บ้านเป็นเพียงผู้สนับสนุนเบื้องหลัง (2) ผู้หญิงที่ทำงานนอกบ้านยังขาดการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือกิจกรรมในชุมชน (3) โครงสร้างทางสังคม และวัฒนธรรมที่ยังคงให้เกียรติผู้ชายเข้ามามีอำนาจในการตัดสินใจ และเป็นผู้นำด้วยคุณสมบัติในเรื่องของการศึกษา หน้าที่การงานของผู้ชายที่ดีกว่าผู้หญิง และอัตลักษณ์เพศชายที่มีคุณสมบัติของการเป็นผู้นำมากกว่าผู้หญิง เป็นต้น ดังนั้น การวิจัยนี้จึงเสนอแนะแนวทางเพื่อส่งเสริมให้บทบาทผู้หญิงมีความเข้มแข็งมากขึ้น ได้แก่ (1) สร้างเครือข่ายสตรี ทั้งผู้หญิงที่ทำงานนอกบ้าน และแม่บ้านให้มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนกิจกรรมที่เหมาะสม เช่น ผู้หญิงที่ทำงานนอกบ้านหาเวลาในยามว่างเข้ามาถ่ายทอดความรู้ให้กับแม่บ้านให้มีความรู้ และทักษะในการพัฒนาชุมชน (2) การช่วยเหลือกิจกรรมของแม่บ้าน และผู้หญิงที่ทำงานนอกบ้านควรมีลักษณะที่เกื้อหนุนกัน เช่น ผู้หญิงทำงานนอกบ้านเป็นผู้ให้ความรู้จากการศึกษา และแม่บ้านเป็นผู้ให้ความรู้นอกระบบทางการ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน (3) ส่งเสริมบทบาทผู้หญิงในครัวเรือน เช่น ปรับเปลี่ยนเจตคติในบทบาท และความรับผิดชอบที่เน้นให้ผู้หญิง หรือภรรยาเข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจในครัวเรือนมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การยกระดับบทบาทในการช่วยเหลือกิจกรรมในชุมชน ที่ส่งผลต่อพลังในการขับเคลื่อนกิจกรรมชุมชนในการสร้างทุนทางสังคม และลดความยากจนอย่างแท้จริง

คำสำคัญ : บทบาทสตรี, การสร้างทุนทางสังคม, การลดความยากจน, ชุมชนผู้มีรายได้น้อย

Abstract

The social constructions of female identities such as meticulousness, caution, contribution, modesty and tolerance have made women as wire-pullers. In contrast, there is more equalization of gender roles that could be able to create positive roles for women. Therefore, women are human capital that contributes more efficiency in a progress of the communities’ activities. The objectives of this research; (1) to study women’s working classifications and roles in the communities’ activities to produce social capital building and poverty alleviation in the communities, (2) to study problems and threats of women’s roles in the communities’ activities, (3) to propose approaches for the roles of women that are able to contribute potential towards empowered activities to be more efficiency. The research method comprises of both qualitative and quantitative approaches by interviewing both males and females in the 3 communities; Charoenchainimitmai,

Khlong Lum Noon and Petch Klong Jun Communities, Bangkok. The quantitative data was collected by distributing a questionnaire to 84 persons who live in the study areas (68 females and 16 males). The

questionnaire consists of the opinions of women’s contribution to activities, such as saving cooperative, women’s welfare, festivals and traditions, environmental care, health care, disaster prevention and acceptance of gender roles in the communities. The results of the research reveal that (1) women’s working classifications affect the contribution of households and communities’ activities; housewives have more active roles than working women, such as taking care of children, guiding children and participating in communities’ activities because they have more time and chance to use their daily life in the communities. That makes them understand communities’ livelihood conditions and create social bridging capital, (2) women play important roles in social capital building and poverty alleviation from the social bonding, desirability of activities’ contributions, and communities’ participation; these will affect the roles of continuity in the communities’ contribution. Even though the majority of women were not well educated, being housewives and employees with low income, they have a positive perception to provide a good education to their children for future. In addition, they are important contributors for the community’s activities such as saving cooperative, women’s welfare, traditional and festivals, environmental care, health care, (3) the factors affect the roles in the progress of the communities’ activities, such as female identities, bonding social capital, male acceptance, and policy supports women’s roles; these are important factors to support women’s roles in social capital building and poverty alleviation in the communities. To study problems and threats of women’s roles in the communities’ activities, found that  (1) housewives lack awareness in self capability, such as timidity and indecision in the communities’ activities; make them as wire-pullers, (2) working women are not good participators in the contribution of communities’ activities, (3) men have more power in decision making and leadership because men’s qualifications are better than women’s and men’s identities are more suitable to be leaders than women. Therefore, the research proposes approaches that would support women’s roles, for example (1) to build a women’s network strengthened working women and housewives to share the suitable roles in a progress of activities, such as working women finding leisure to instruct housewives to gain more knowledge and skill to develop the communities, (2) their activities’ contribution should be more assisting, such as working women can give educational knowledge and housewives can give informal knowledge, learning from each other, (3) encourage women’s roles in households, such as change an opinion to encourage women to have more decision making in households so that women will play important roles to contribute to the communities’ activities that raise women’s role in  communities’ activities as to empower the social capital building and poverty alleviation.

Keywords :  Women’s Roles, Social Capital Building, Poverty Alleviation, Low Income Communities

Article Details

How to Cite
บินล่าเต๊ะ ฟ. (2012). บทบาทสตรีในการสร้างทุนทางสังคม และลดความยากจนในชุมชนผู้มีรายได้น้อย: กรณีศึกษา ชุมชนเจริญชัยนิมิตใหม่ ชุมชนคลองลำนุ่น และชุมชนเพชรคลองจั่น กรุงเทพมหานคร. Asian Creative Architecture, Art and Design, 10(1), 57–69. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/4243
Section
Research Articles