การเปลี่ยนแปลงเพื่อการคงอยู่ของตลาดชุมชนริมน้ำบริเวณริมแม่น้ำท่าจีน กรณีศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร

Main Article Content

กฤตพร ห้าวเจริญ

Abstract

บทคัดย่อ
        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของตลาดชุมชนริมน้ำที่ยังคงอยู่บริเวณริมแม่น้ำท่าจีน ในเขตจังหวัด
สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร การเปรียบเทียบรูปแบบและโครงสร้างของตลาดชุมชนริมน้ำบริเวณริมแม่น้ำท่าจีน
นำมาสู่บทสรุปรูปแบบและโครงสร้างการคงอยู่ของตลาดชุมชนริมน้ำบริเวณริมแม่น้ำท่าจีน ภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการทบทวนวรรณกรรม งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดชุมชนริมน้ำบริเวณริมแม่น้ำท่าจีนในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ภาพบันทึก ประวัติศาสตร์ ภาพถ่ายทางอากาศ และแผนที่ การลงสำรวจพื้นที่และการสังเกตการณ์ โดยบันทึกลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ และลักษณะการทำกิจกรรมภายในพื้นที่ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกในลักษณะของคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ กิจกรรมการค้าขายและบริการ ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม ประเพณี และวัฒนธรรมของชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงประเด็นเชิงลึกเกี่ยวข้องกับองค์กรชุมชน การจัดการ และแนวทางการฟื้นฟูตลาดชุมชนริมน้ำ ตลอดจนการสนทนากลุ่มย่อย ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม ทั้งผู้นำชุมชน และคนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นตัวแทนสำคัญของตลาดชุมชนริมน้ำกรณีศึกษา และนำความคิดเห็นมาประยุกต์ใช้ประกอบการวิเคราะห์
        ผลการวิจัยพบว่า ตลาดชุมชนริมน้ำบริเวณริมแม่น้ำท่าจีน ทั้งหมด 25 แห่ง ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม
และสมุทรสาคร มีเพียงตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี และตลาดดอนหวาย จังหวัดนครปฐม ที่เป็นตลาดชุมชนริมน้ำบริเวณริมแม่น้ำท่าจีนที่ยังคงอยู่ตามเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกตัวแทน ทั้งนี้ตลาดสามชุกและตลาดดอนหวายเป็นตลาดชุมชนริมน้ำที่มีรูปแบบและโครงสร้างการคงอยู่ของตลาดชุมชนริมน้ำอย่างสมบูรณ์ โดยตลาดสามชุกและตลาดดอนหวายมีปัจจัยหลักของรูปแบบและโครงสร้างการคงอยู่ตลาดชุมชนริมน้ำ คือ องค์ประกอบด้านพื้นที่ เนื่องจากด้านพื้นที่เป็นองค์ประกอบที่สะท้อนคุณค่าโดยรวมของตลาดชุมชนริมน้ำได้เป็นอย่างดีและสามารถรับรู้ถึงความเป็นตลาดชุมชนริมน้ำได้ดีที่สุด ทั้งรูปแบบการตั้งถิ่นฐานตามแนวแม่น้ำลำคลอง รูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะโดดเด่น ปรากฏให้เห็นจากรูปลักษณ์ภายนอก ปัจจัยรอง คือ องค์ประกอบด้านองค์กรชุมชนและด้านการจัดการ ซึ่งตลาดชุมชนริมน้ำทั้งสองแห่งให้ความสำคัญกับลำดับปัจจัยในส่วนนี้แตกต่างกัน และปัจจัยลำดับสุดท้าย คือ องค์ประกอบด้านการเรียนรู้ ตามเงื่อนไขการคงอยู่ของรูปแบบและโครงสร้างตลาดชุมชนริมน้ำ นำมาสู่บทสรุปของรูปแบบและโครงสร้างการคงอยู่ของตลาดชุมชนริมน้ำบริเวณริมแม่น้ำท่าจีนที่มีองค์ประกอบทางด้านพื้นที่เป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อการคงอยู่ของรูปแบบและโครงสร้างตลาดชุมชนริมน้ำบริเวณริมแม่น้ำท่าจีน รองลงมา คือ องค์ประกอบทางด้านองค์กรชุมชนและด้านการจัดการ มีความสำคัญในระดับเท่ากัน และองค์ประกอบทางด้านการเรียนรู้มีความสำคัญในระดับน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม รูปแบบและโครงสร้างการคงอยู่ของตลาดชุมชนริมน้ำจำเป็นต้องประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ทั้งด้านพื้นที่ ด้านองค์กรชุมชน ด้านการจัดการ และด้านการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดตลาดชุมชนริมน้ำเพื่อการท่องเที่ยวที่มีความสามารถในการคงอยู่ของตลาดชุมชนริมน้ำบริเวณริมแม่น้ำท่าจีนอย่างสมดุล ตลอดจนนำมาประยุกต์ ใช้กับตลาดชุมชนริมน้ำอื่นๆ ในการวิเคราะห์และการฟื้นฟูตลาดชุมชนริมน้ำเพื่อการท่องเที่ยว ภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

คำสำคัญ : ตลาดชุมชนริมน้ำ การเปลี่ยนแปลง การคงอยู่รอด แม่น้ำท่าจีน

Abstract
        This study examines the development of existing waterfront community markets along Tha Chin River in Suphan Buri, Nakhon Pathom and Samut Sakhon provinces. A comparative study of the form and the structure of the targeted waterfront community markets are concluded as a reason for their existence complied with sufficient economy for sustainable development. This research used qualitative methods ranging from reviewing literature, relevant research material, and history of the community markets and collecting
historic and aerial photographs and maps. The research was complemented with field survey and observation of physical characteristics and community activities and in-depth interview by employing an open-ended questionnaire about life style, commercial and service activities, relationship among physical, economic, social, tradition and cultural characteristics of the community markets from the past to the present. Nonetheless, the way in which community is organized and managed together with a guideline for the community markets’ rehabilitation was asked. The information was also gathered and analyzed from the focus group discussion with participants, community leaders and local residents.
         The result suggests that there are only two out of twenty five community markets which are Sam Chuk market in Suphan Buri and Don Wai market in Nakhon Pathom that falls into the selection criteria, and both of them have completed form and structure of waterfront community market. The main criterion that made these two communities selected is the spatial component which is visible and reflects overall value. The spatial component includes type of settlement and its outstanding architectural style. The secondary criterion is the
component of community organization and management. However, there is a different rank in this criterion given from both community markets. The last criterion is learning component. Following the existence of form and structure of the community markets, it can be concluded that the spatial component is the main factor, following by the organization and management components which are equally important, and the learning component accordingly. However, these four components together are keys to the life and existence of
community market and its tourist destination. Nonetheless, these four components can be utilized in order to assess other community markets elsewhere in order to promote tourism under the sufficient economy for sustainable development.

Keywords : Waterfront Community Market Transformation Existence Tha Chin River

Article Details

How to Cite
ห้าวเจริญ ก. (2016). การเปลี่ยนแปลงเพื่อการคงอยู่ของตลาดชุมชนริมน้ำบริเวณริมแม่น้ำท่าจีน กรณีศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร. Asian Creative Architecture, Art and Design, 21(2), 28–42. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/47431
Section
Research Articles