การศึกษาความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยด้วยเครื่องมือเชิงประจักษ์: กรณีศึกษาชานเมืองด้านทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร Empirical Study of Housing Inequality: A Case Study of the Northern Corridor of Bangkok

Main Article Content

ชูชาติ เตชะโพธิวรคุณ
อภิวัฒน์ รัตนวราหะ

Abstract

บทคัดย่อ

        ที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยที่สามารถใช้แสดงคุณภาพชีวิตและสถานะทางสังคมของเจ้าของที่อยู่อาศัย ความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยจึงสามารถแสดงถึงภาวะความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของประชาชนได้ ดังนั้น องค์ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการช่วยแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของประชาชน การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นที่จะทำการศึกษาในเชิงประจักษ์ เกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยโดยใช้แนวคิดโอกาสและความสามารถ (Sen, 1985) ร่วมกับแนวคิดความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัย (Morris et al., 1976) เป็นกรอบแนวคิดทางทฤษฎีและใช้เครื่องมือ LISREL (Jöreskog and Sörbom, 1984) โดยกำหนดให้มีตัวแปรแฝงในแบบจำลอง ร่วมกับการประมาณแบบจำลองสมการถดถอย เพื่อใช้ในการประมาณค่าความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยที่เกิดขึ้น ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษานี้มาจากการออกแบบสอบถามครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยจำนวน 4 ชุมชนในบริเวณตำบลคลองสาม จังหวัดปทุมธานี รวมทั้งสิ้น 587 ตัวอย่าง ผลจากการศึกษาพบว่า ความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยนั้นสามารถวัดค่าได้อย่างเป็นระบบ และความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยนั้นมิได้เกิดขึ้นจากความแตกต่างทางด้านสังคมเศรษฐกิจของครัวเรือน หากทว่าเป็นผลจากปัจจัยอื่นๆ เช่น ความสามารถขั้นพื้นฐานของครัวเรือนในประเด็นเกี่ยวกับการเข้าถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัย การเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ และความสามารถในการเข้าถึงกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งยังพบอีกว่าการปรับปรุงสถานการณ์ที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยนั้น สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยของประชาชนได้อย่างเป็นระบบอีกด้วย

คำสำคัญ: ที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย ความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัย นโยบายที่อยู่อาศัย

Abstract

        Housing reveals one’s economic status and quality of living. Housing inequality, therefore, can be considered as a clearer form of economic inequality. To tackle this issue, examining about clearer structure of housing inequality is necessary. This study aims to empirically examine housing inequality, using Sen’s opportunity and capability approach together with Morris et al.’s normative deficit approach to form the core theoretical concept of the study. Then, Jöreskog and Sörbom’s LISREL and regression techniques are employed
to estimate the estimation model. The model is trained on a low-income household survey of 587 cases, whose housings are located in the northern corridor of Bangkok. The findings reveal that housing inequality can be systematically measured. According to the results, a clearer structure of the housing inequality and low-income households’ basic capability is pointed out. This enlightens the issue of considering basic capability of households as an important issue of housing policy implication. Finally, the empirical results indicate that
direct improvements in housing practices can also systematically improve housing inequality.

Keywords: Low-income Housing Housing Inequality Housing policy

Article Details

How to Cite
เตชะโพธิวรคุณ ช., & รัตนวราหะ อ. (2016). การศึกษาความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยด้วยเครื่องมือเชิงประจักษ์: กรณีศึกษาชานเมืองด้านทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร Empirical Study of Housing Inequality: A Case Study of the Northern Corridor of Bangkok. Asian Creative Architecture, Art and Design, 22(1), 15–26. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/65046
Section
Research Articles