การประเมินคุณภาพเส้นทางจักรยานในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน Quality Assessment of Bicycle Route in Kasetsart University Bangkhen Campus, Bangkok
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพของเส้นทางจักรยานภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ทั้งในด้านองค์ประกอบกายภาพและคุณลักษณะของเส้นทาง รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการใช้เส้นทาง เพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงองค์ประกอบเส้นทางและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก ด้วยวิธีการเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทางกายภาพและบริบทโดยรอบ ร่วมกับข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของนิสิตและบุคลากรผู้ใช้เส้นทางจักรยาน จำนวน 476 ตัวอย่าง ผลจากการศึกษาพบว่า ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อองค์ประกอบและคุณลักษณะของเส้นทางอยู่ในระดับพอใช้ โดยปัญหาหลักและอุปสรรคสำคัญที่ผู้ใช้เส้นทางจักรยานพบระหว่างการสัญจรประกอบด้วย
1. ความไม่ปลอดภัยของเส้นทาง จากความขัดแย้งระหว่างการใช้จักรยานกับการสัญจรประเภทอื่น
2. ความไม่เชื่อมโยงของเส้นทาง และ
3. องค์ประกอบสนับสนุนเส้นทางและสิ่งอำนวยความสะดวกไม่เพียงพอ ดังนั้นเพื่อบรรเทาปัญหาดังที่กล่าวมาการพัฒนาและปรับปรุงเส้นทางจักรยานของมหาวิทยาลัย จึงควรประกอบไปด้วย 2 แนวทาง คือ
1. การพัฒนาองค์ประกอบทางกายภาพของเส้นทางอย่างเหมาะสม และ
2. การให้ความรู้และการสร้างความเข้าใจในการใช้เส้นทางจักรยานร่วมกับการสัญจรต่างประเภทอย่างถูกวิธี ซึ่งทั้ง 2 แนวทางนี้ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในทุกระดับเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้แก่ หน่วยงานผู้ดูแลรับผิดชอบพื้นที่วิทยาเขตบางเขนและพื้นที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้ใช้เส้นทางสัญจรร่วมกันอาทิ นิสิต คณาจารย์ บุคลากร และประชาชนทั่วไป
คำสำคัญ: เส้นทางจักรยาน การประเมินคุณภาพ องค์ประกอบกายภาพ การพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์
Abstract
The study assesses the quality of bicycle routes in Kasetsart University Bangkhen Campus in Bangkok,Thailand. It conducts a survey questionnaire of 476 respondents consisting of university staffs and students to understand their satisfaction and preferences. It is found that the overall satisfaction of the bike route is at the fair level. It is also found that there are three major problems of the bike route, namely, lack of security in the route which can cause accidents and conflicts between users, the unconnected bike route and the
inadequate condition of supporting facilities of the bike route. The study argues that to solve these problems the redevelopment of bike routes is necessary and should include the following approaches. First there is a need to improve the physical environment quality of the bike route. Second, it is important to create campaigns to improve users’ awareness on how to properly use the bike route. The study concludes that the design development should involve all stakeholders to ensure its sustainability.
Keywords: Bike Route Quality Assesment Physical Element Sustainable Development Kasetsart University
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Copyright Transfer Statement
The copyright of this article is transferred to Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang with effect if and when the article is accepted for publication. The copyright transfer covers the exclusive right to reproduce and distribute the article, including reprints, translations, photographic reproductions, electronic form (offline, online) or any other reproductions of similar nature.
The author warrants that this contribution is original and that he/she has full power to make this grant. The author signs for and accepts responsibility for releasing this material on behalf of any and all co-authors.