ความปลอดภัยของทางเดินเท้าและเส้นทางจักรยานในการเข้าถึงสวนสาธารณะ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล Safety of Pedestrian and Bike Trail Accessing to Parks in Bangkok and Vicinities

Main Article Content

สาธิดา สกุลรัตนกุลชัย
วราลักษณ์ คงอ้วน

Abstract

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและโครงข่ายทางเดินเท้าและเส้นทางจักรยานที่เชื่อมต่อกับ
สวนสาธารณะในบริเวณโดยรอบและในพื้นที่สวนสาธารณะ วิเคราะห์ลักษณะ พฤติกรรม รวมทั้งทัศนคติและความพึงพอใจที่มีต่อความปลอดภัยจากผู้ใช้ทางเดินเท้าและเส้นทางจักรยาน เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาทางเดินเท้าและเส้นทางจักรยานที่เชื่อมต่อกับสวนสาธารณะ วิธีการวิจัยใช้การสำรวจลักษณะทางกายภาพและเก็บข้อมูลจากผู้ใช้สวนสาธารณะ 4 แห่ง ได้แก่ สวนวชิรเบญจทัศ สวนหลวง ร.9 กรุงเทพมหานคร สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ จังหวัดสมุทรปราการ และสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์จังหวัดนนทบุรี การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีกำหนดโควต้าจากผู้ใช้สวนสาธารณะแต่ละแห่งในสัดส่วนใกล้เคียงกันรวม 797 คน ผลการวิจัยเป็นดังนี้

         สภาพทั่วไปของสวนสาธารณะแต่ละแห่งมีลักษณะการเข้าถึงและความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่และกิจกรรมแตกต่างกันการเข้าถึงสวนสาธารณะสามารถเดินทางได้หลายรูปแบบ พฤติกรรมของผู้ใช้เส้นทางจักรยานส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่คำนึงถึงความปลอดภัยค่อนข้างมาก นอกจากนี้ ผู้ใช้สวนสาธารณะส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อความปลอดภัยของเส้นทางภายในสวนสาธารณะ แนวทางในการพัฒนาทางเดินเท้าและเส้นทางจักรยานที่เชื่อมต่อกับสวนสาธารณะอย่างปลอดภัยจึงเน้นการพัฒนาเส้นทางการเข้าถึงของสวนสาธารณะในลักษณะที่เหมือนและแตกต่างกัน เช่น การปรับปรุงจุดจอดรถเพื่อการเชื่อมต่อและสนับสนุนการใช้จักรยาน การพัฒนาทัศนียภาพและความร่มรื่นของเส้นทาง การจัดทำป้ายเตือนและแผนที่เส้นทาง การจัดทำและพัฒนาเส้นทางเท้าและทางจักรยาน เป็นต้น

คำสำคัญ: ความปลอดภัย ทางเดินเท้า จักรยาน สวนสาธารณะ


Abstract


        The objectives of this article are to study the characteristic and network of footpaths and bike lanes which are link to public parks and inside public parks areas, to analyze the characteristic, behavior, attitude and satisfaction of safety from people who use footpaths and bike lanes of public parks, then to suggest developing method for footpaths and bike lanes which link to public parks. The data is collected from physical surveyed and people who visit each four parks. They are Vachirabenjatas Park (BKK), Suan Luang Rama IX (BKK), Sri Nakhon Khuean Khan Park (Samutprakarn) and Sri Nagarindra Park (Nonthaburi). The 797 samples are selected from each park by quota sampling in equal or nearly amount.

        The result of the study shows that each park has its own characteristics and uniqueness. In order to reach the four parks, people can use different transportation modes. Considering the behavior of bike lane users, most of them care about safety quite a lot. Moreover, most people who visit the park are highly satisfied of the routes inside the parks. Regarding the developing method for the safety of footpaths and bike lanes that link to the parks, there are some similar and different aspects to concern for improving each. For example,managing measures relating to parking and vendor stalls to encourage commuters cycling, creating better scenery along the footpaths and bike lanes, and make them shady, providing warning signs and route maps and creating and developing footpaths and bike lanes.

Keywords: Safety Pedestrian Bike Park

Article Details

How to Cite
สกุลรัตนกุลชัย ส., & คงอ้วน ว. (2016). ความปลอดภัยของทางเดินเท้าและเส้นทางจักรยานในการเข้าถึงสวนสาธารณะ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล Safety of Pedestrian and Bike Trail Accessing to Parks in Bangkok and Vicinities. Asian Creative Architecture, Art and Design, 22(1), 70–87. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/65060
Section
Research Articles