การเรียนรู้ในการดำเนินงานอนุรักษ์คุณค่าภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนไทใหญ่ ผ่านการสืบสาน ภูมิปัญญา การทำจองพาราอย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษาบ้านเมืองปอน จ.แม่ฮ่องสอน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
คุณค่าทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงวิถีการดดำเนินชีวิต สภาพแวดล้อม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณค่า
พื้นฐานในการดำรงอยู่ของชุมชน ดังเช่นที่บ้านเมืองปอนซึ่งเป็นชุมชนชาวไทใหญ่ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอนที่ยังคงความพยายามในการรักษาวัฒนธรรม ประเพณี ด้วยคุณค่าทางความเชื่อ ความศรัทธาทางพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ โดยในครั้งนี้ได้มีส่วนร่วมกับผู้วิจัยในการดำเนินงานอนุรักษ์คุณค่าภูมิทัศน์วัฒนธรรม ผ่านการสืบสานภูมิปัญญา การทำจองพารา 2 ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งบทความนี้จะนำเสนอประเด็นการเรียนรู้ในการปฏิบัติการดำเนินงาน อนุรักษ์ในระยะต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. การสร้างความคุ้นเคยในการดำเนินงานร่วมกัน ในระยะศึกษาความต้องการร่วมของชุมชน โดยการดำเนินงานด้วยทักษะในด้านต่างๆ ซึ่งได้ทำให้เกิดการรับรู้ถึงความต้องการร่วมของชุมชนในเรื่องการสืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรมของกลุ่มเยาวชน 2. การใช้แผนที่ทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน ในระยะการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม โดยการใช้เครื่องมือที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ซึ่งได้ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นขั้นเป็นตอนในการดำเนินงานทำแผนที่ทางวัฒนธรรมในด้านภูมิปัญญาการทำจองพารา 3. การดำเนินงานสืบสานภูมิปัญญาการทำจองพาราในระยะการดำเนินงานโดยชุมชนโดยการสังเกต การดำเนินงานและผลการอนุรักษ์ทั้งในด้านสภาพแวดล้อม คุณค่าความสัมพันธ์ทางสังคมพื้นฐาน และความเข้าใจในการดำเนินงาน เพื่อนำมาสรุปเป็นประเด็นการเรียนรู้ในผลการดำเนินงานอนุรักษ์ในครั้งนี้ คือ 1. ความต้องการอนุรักษ์คุณค่าภูมิทัศน์วัฒนธรรม 2. การเรียนรู้ในการดำเนินงานอนุรักษ์คุณค่าภูมิทัศน์วัฒนธรรม และ 3. การอนุรักษ์คุณค่าภูมิทัศน์วัฒนธรรม พร้อมกับข้อเสนอแนะในการพัฒนาการดำเนินงานทั้งในด้าน บทบาทการเป็นผู้ประสานงาน เครื่องมือในการดำเนินงาน ประเด็นในการดำเนินงาน และแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อการอนุรักษ์
คุณค่าภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไปในอนาคต
คำสำคัญ: การอนุรักษ์ ภูมิทัศน์วัฒนธรรม การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จองพารา
Abstract
Cultural landscape values have reflected ways of life in the society, environments, and especially basic values in living with pride. Like Baan Muang Pon, an oldest Tai-Yai community in Me Hong Son Province that’ s trying to maintain its traditions and culture reflecting their conventional ways of life based on the faith in Buddhism. This time, the community joined the researcher in the conservation of cultural landscape values through the folk wisdom inheritance of making Jong Para3, to which participatory action research was applied. This article presents the issues of knowledge obtained, while working with the community in each 3 phase as follows: 1) building intimacy between the community and the researcher in the phase of the community’s shared demand investigation through various skills of working that leading to the knowing of subjected demands regarding the inheritance of cultural values among juvenile groups; 2) the use of cultural map as a tool in the phase of participatory work through the manipulation of an appropriate tool that met the community’s demands so as to create participatory and step-by-step learning of conducting cultural map in term of folk wisdom of making Jong Para; and 3) the work of folk wisdom inheritance of making Jong Para in the phase of community work through the observation of the performance and the outcomes of the conservation by the community itself in views of environments, values of fundamental relationships, and understanding of work implementation. These 3 essential phases were to be concluded as the learning issues from the conservation outcomes. To describe, 1) The need to conserve values of cultural landscape in the community; 2) learning to conduct conservation of cultural landscape values; and 3) the conservation of cultural landscape values.Furthermore, recommendations were also added in the aspect of the development of work performance with respect to roles as coordinators, work tools, work issues and work guidelines; for the sustainable conservation of cultural landscape values which will be concretely in accordance with the community’s demands in the future.
Keyword: Conservation Cultural Landscape Values Participatory Action Research Jong Para
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Copyright Transfer Statement
The copyright of this article is transferred to Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang with effect if and when the article is accepted for publication. The copyright transfer covers the exclusive right to reproduce and distribute the article, including reprints, translations, photographic reproductions, electronic form (offline, online) or any other reproductions of similar nature.
The author warrants that this contribution is original and that he/she has full power to make this grant. The author signs for and accepts responsibility for releasing this material on behalf of any and all co-authors.