แบบจำลองการนำเสนอสาระพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นตามแนวคิดปัจจุบันสู่อดีตผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล: กรณี (ศึกษา) พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอ่างศิลา

Main Article Content

โกวิทย์ ทะลิ

Abstract

บทคัดย่อ

 การศึกษาวิจัยเรื่องแบบจำลองการนำเสนอสาระพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นตามแนวคิดปัจจุบันสู่อดีตผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล: กรณี (ศึกษา) พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอ่างศิลามีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบจำลองการนำเสนอสาระพิพิธภัณฑ์ตามแนวคิด ปัจจุบันสู่อดีตผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบนพื้นที่อนุรักษ์ กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอ่างศิลา 2) เพื่อทดสอบและรับรองแบบจำลองการนำเสนอสาระพิพิธภัณฑ์ตามแนวคิดปัจจุบันสศู่อดีตใหให้เกิดการรับรู้และการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในบริบทใหม่ ขอบเขตของการศึกษาด้านพื้นที่ ผู้วิจัยเลือกพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราช (พิพิธภัณฑ์ประจำท้องถิ่นอ่างศิลา) ตำบลอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ผู้วิจัยมีแนวคิดพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นให้เป็นแหล่งรับรู้และเรียนรู้ตามแนวคิดปัจจุบันสู่อดีต โดยศึกษาปัจจัยต่างๆ รวมถึงเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีผลต่อการนำเสนอสาระของพิพิธภัณฑ์บนพื้นที่อนุรักษ์ ศึกษาหลักการวางโครงเรื่องโดยชุมชนมีส่วนร่วมและทดสอบแบบจำลอง

           จากการวิจัยพบว่า แนวคิดปัจจุบันสู่อดีตสามารถสร้างกระบวนการนำเสนอสาระพิพิธภัณฑ์สู่กรอบแนวคิด Kowit Model เพื่อให้เกิดรับรู้และการเรียนรู้สำหรับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในปัจจุบันของศตวรรษที่ 21 มีด้วยกัน 3 มิติ คือ 1) พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับการเชื่อมโยงความรู้ของอดีต การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลนำเสนอสาระบนพื้นที่อนุรักษ์จะต้องคำนึงถึงหลัก 2 ประการ 1.1 การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต้องแสดงให้เห็นสาระความเป็นของแท้ดั้งเดิม (Authenticity) เป็นส่วนพื้นฐานในการเข้าถึงลักษณะเนื้อหาต่างๆ 1.2 การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต้องสร้างความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างความสมบูรณ์ (Integrity) ไม่ขัดแย้งจนไปทำลายคุณค่าของพื้นที่อนุรักษ์หรือโบราณสถาน 2) สื่อการเรียนรู้หรือสื่อจัดแสดง (Medium)ในการออกแบบสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลจะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนดังนี้ 2.1 การจัดนิทรรศการและการนำเสนอคุณภาพของข้อมูล 2.2 ออกแบบแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Platforms) 2.3 การหลอมรวมสื่อดิจิทัล (Convergent Media) และการกำหนดช่องทางการสื่อสาร 3) รูปแบบการรับและเรียนรู้ (Learning Styles) มีการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมจึงจะจูงใจผู้เรียนได้

 คำสำคัญ : พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอ่างศิลา ปัจจุบันสู่อดีต การนำเสนอสาระพิพิธภัณฑ์

             เทคโนโลยีดิจิทัล

 

 Abstract

         This research study “A LOCAL MUSEUM CONTENT PRESENTATION MODEL BASING ON PRESENTTO-PAST CONCEPTS THROUGH DIGITAL TECHNOLOGY: A CASE (STUDY) OF ANGSILA LOCAL MUSEUM” is aiming 1) to develop a model presented the content of the museum from the present to the past through digital technology for local museum on a conservative area, which is in a case study go Ang Sila Local Museum, 2) to test and certify the model presented museum content from the present to the past, which creates the perception and learning that is appropriate for the local museum in a new context. For the study area scope, the researcher selected the Museum in Honour of H.M the King’s 72nd Birthday Anniversary (Local Cultural Museum in Ang Sila District) in Ang Sila District, Chonburi Province. The study focuses on factors effected the result of presentation design on the museum content through digital technology and the principle of content structuring for Ang Sila local museum with the involvement of the community itself. The researcher has a development concept to create a museum as a place suitable to learn follow the idea representing the present to the past through digital technology.

          The research results show the concept of moving from the present to the pass, which can create a presentation process that led to the Kowit Model. The model establishes the perceiving and learning for local museum in the 21st century which consists of 3 dimensions as following; 1) the local museum is related to the pass knowledge, using digital technology presented the content on the conservation area will have to consider two main factors which are 1.1 using digital technology to present the content authenticity as the basis in reaching to all the detailed content and 1.2 using digital technology to create harmony with the environment and integrity, not to destroy the value of a conservation area or a historic site; 2) learning materials or materials exhibited (Medium), for the design of the digital technology will be composed of 3 parts as following; 2.1 exhibition and presentation of information; 2.2 digital platform design; and 2.3 convergent media and channels; and 3) learning style which can response to the environment and motivate learners.

Keywords: Local Museum Ang Sila Local Museum From the Present to the Past Museum Content Presentation Digital Technology

Article Details

How to Cite
ทะลิ โ. (2016). แบบจำลองการนำเสนอสาระพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นตามแนวคิดปัจจุบันสู่อดีตผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล: กรณี (ศึกษา) พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอ่างศิลา. Asian Creative Architecture, Art and Design, 23(2), 15–30. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/78686
Section
Research Articles