การสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์สะดวกหุงสำหรับข้าวหอมมะลิบางคล้า: Creation of Packaging for Ready-to-Cook Bangkha Thai Jasmine Rice
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการหุงต้ม ปกป้องรักษาคุณภาพของข้าว และการสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์และเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างสรรค์อัตลักษณ์ไทยและข้าวหอมมะลิบางคล้า การดำเนินการวิจัยสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนใหญ่ๆ ออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ 1) การค้นหาลักษณะของรูปแบบ วัสดุและโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ เป็นการศึกษาในส่วนต่างๆ โดยได้นำหลักแนวคิดจากภูมิปัญญาไทยมาเชื่อมโยงกับการสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผนวกกับหลักการแนวคิดเชิงเหตุและผล ข้อมูลจากการสำรวจภาคสนามของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 420 คน ในพื้นที่เศรษฐกิจตอนกลางกรุงเทพมหานคร และนิทรรศการ THAIFEX 2015 จากการทดลอง
ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ และ แบบสอบถาม มาวิเคราะห์ข้อมูล 2) นำลักษณะและรูปแบบที่ได้จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบในส่วนแรกมาใช้ในการออกแบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ จากนั้นจึงนำไปให้ผ้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินผลเพื่อหาข้อสรุปได้บรรจุภัณฑ์ที่มีความเหมาะสม ผลการวิจัย พบว่า 1) บรรจุภัณฑ์เกิดจากการนำแนวคิดจากภูมิปัญญาไทยมาบูรณาการสร้างสรรค์กับการหุงต้มด้วยเตาอบไมโครเวฟ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถอำนวยความสะดวกในการหุงต้มด้วยวิธีที่ง่ายรวดเร็วเหมาะกับผู้บริโภคยุคใหม่ และสามารถรักษาอัตลักษณ์และรสชาติของข้าวสวยที่หุงสุกได้ดี ด้วยคุณลักษณะ
ของข้าวที่สุกสม่ำเสมอและข้าวสุกไม่ไหม้ติดก้นภาชนะ 2) การสร้างสรรค์เรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่คุณภาพของผลิตภัณฑ์/สินค้า แหล่งที่มา คุณค่าทางวัฒนธรรมไทย และภาพลักษณ์ที่ทันสมัย สรุปได้ว่าการสร้างสรรค์เรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ ที่นำแนวทางการออกแบบเกี่ยวกับคุณค่าทางวัฒนธรรมไทยผนวกกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นแนวทางที่ได้รับการประเมินสูงสุดด้วยค่า x = 4.67 และ S.D. = 0.577 จึงเป็นรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการสร้างสรรค์อัตลักษณ์ไทย
และคุณค่าของผลิตภัณฑ์
คำสำคัญ: บรรจุภัณฑ์สะดวกหุง ข้าวหอมมะลิบางคล้า อัตลักษณ์
Abstract
The objectives of this research are 1) to create new packaging that convenient to cook and protect the product and 2) to create graphic on packaging that inform Thai identity. The research methods can be
divided into two main steps as follows. The first step is to study the forms, material and structural package.Information are gathered from Thai wisdoms, linked to innovation on creative economy based and combined with the concepts of causes and effects, data derived from the field survey of 420 samples in CBD Bangkok and THAIFEX 2015, prototype testing, interviews and data analysis. The second step is to analyze the data and apply them in development for package design and graphic on packaging. The results showed that: 1) packaging was created by the concept of Thai wisdom to develop the new packaging that provided convenience in easy cooking way for modern consumers and treated identities & taste of rice. The rice was cooked consistently well and do not stuck to the bottom of container, and 2) creation for graphics on packagin in four themes are: quality & taste, the product origin, Thai culture and modern image. The suitable way for packaging was Thai culture theme, combined with the quality and taste of Thai jusmine rice. It was the best theme to create identity with the mean score, 4.67, and a standard deviation, 0.57.
Keywords: Packaging, Ready-to-cook, Bangkha Thai jasmine Rice, Identity
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Copyright Transfer Statement
The copyright of this article is transferred to Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang with effect if and when the article is accepted for publication. The copyright transfer covers the exclusive right to reproduce and distribute the article, including reprints, translations, photographic reproductions, electronic form (offline, online) or any other reproductions of similar nature.
The author warrants that this contribution is original and that he/she has full power to make this grant. The author signs for and accepts responsibility for releasing this material on behalf of any and all co-authors.