การพัฒนาภูมิปัญญากระเบื้องหลังคาดินเผา เพื่อสร้างกระเบื้องหลังคาดินเผาที่มีการติดตั้งเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์: The Development of Local Wisdom Clay Roof Tiles by Installation of PV-Cells

Main Article Content

มาริสา หิรัญตียะกุล

Abstract

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญา รูปแบบของกระเบื้องหลังคาดินเผาชุมชนด่านเกวียน ตำบลด่านเกวียนอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา เพื่อออกแบบและสร้างกระเบื้องหลังคาดินเผาพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้วยกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางสถาปัตยกรรมที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ท้องถิ่นโดยมีกระบวนการวิจัย คือ 1) การศึกษาและรวบรวมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวกับภูมิปัญญา รูปแบบและคุณสมบัติของกระเบื้องหลังคาดินเผา 2) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ปราชญ์ภูมิปัญญากระเบื้องหลังคาดินเผา ซึ่งข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลแบบละเอียดโดยผู้วิจัยเป็นผู้สัมภาษณ์ร่วมกับนักศึกษาในรายวิชา 555231 การศึกษาพัฒนาภูมิปัญญาและเทคโนโลยีท้องถิ่น สาขาวิชาสถาปัตยกรรมคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 3) การดำเนินการออกแบบ และทดสอบหาประสิทธิภาพพลังงานกระเบื้องหลังคาดินเผาพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาดพื้นที่ 1 ตารางเมตร จากผลการวิจัยพบว่า กระเบื้องหลังคาดินเผาประเภทกระเบื้องสุโขทัย มีรูปร่างลักษณะขนาดหน้ากว้างมากที่สุดคือ 18.5 x 31 เซนติเมตร เหมาะสมในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ชนิดผลึกรวม (Polycrystalline Silicon Solar Cell) 12 โวลล์ 1.5 วัตต์ ขนาด 8.5 x 11.5 เซนติเมตร อีกทั้ง
ยังมีน้ำหนักเบาเมื่อเปรียบเทียบกับกระเบื้องชนิดอื่น และจากการทดสอบหาประสิทธิภาพพลังงาน ขนาดพื้นที่ 1 ตารางเมตรเริ่มทำการทดลอง 08.00-16.00 น. เป็นเวลา 8 ชั่วโมง โดยทำการทดลองซ้ำ 3 วัน ด้วยหลอดไฟฟ้า LED 12V 9W พบว่าสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าให้พลังงานหลอดไฟ จำนวน 5 หลอดซึ่งวัสดุมุงหลังคาประเภทนี้จะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าในตอนกลางวัน ไม่ต้องมีแบตเตอรี่เหมาะสมกับอาคารที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวันและประหยัดงบประมาณในการติดตั้งอุปกรณ์ระบบพลังงานแสงอาทิตย์

คำสำคัญ: ภูมิปัญญา กระเบื้องหลังคาดินเผา พลังงานแสงอาทิตย์ ด่านเกวียน

Abstract

       The objective of this research is to study and develop local wisdom clay roof tiles in Dan Kwian, Chok Chai, Nakhon Ratchasima, Thailand, to design and build solar clay roof tiles that can add more value to the local products by architectural design processes. The research processes are 1) to study and
collect the data about the styles and features of local wisdom clay roof tiles, 2) to collect and interview philosophers of clay roof tiles by the researcher and students in 555231 class (The subject is study and develop in local wisdom and technology course), and 3) to design and test the solar clay roof tiles of
1 square meter. The results show that the Sukhothai tile is suitable for development because the maximum width of this tile is 18.5 x 31 centimeter. The energy efficiency test with LED 12V 9W from 8.00 AM to 4.00 PM
for 8 hours was repeated for 3 days. It was found that this tile can produce electricity for 5 bulbs. These types of roofing materials will be able to supply electricity during the daytime without the battery. Thus, this tile is appropriate for the buildings that use the electricity during daylight hours and save the budget to install of solar systems.

Keywords: Local Wisdom, Clay Roof Tiles, Solar Energy, Dan Kwian



Article Details

How to Cite
หิรัญตียะกุล ม. (2017). การพัฒนาภูมิปัญญากระเบื้องหลังคาดินเผา เพื่อสร้างกระเบื้องหลังคาดินเผาที่มีการติดตั้งเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์: The Development of Local Wisdom Clay Roof Tiles by Installation of PV-Cells. Asian Creative Architecture, Art and Design, 24(1), 93–101. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/92387
Section
Research Articles