การศึกษาความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ของนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • เกษิณี ผลประพฤติ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • กรุณา ลิ้มประเสริฐ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ความสามารถในการจัดการเรียนรู้, การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, นักศึกษาวิชาชีพครู

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาระดับความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ของนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 4 จำนวน 65 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและมีค่าความ เที่ยงเท่ากับ .89 ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ส่วนใหญ่มีความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ในระดับสูง 2) นักศึกษาวิชาชีพครูที่เพศ และหลักสูตรต่างกันมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ ไม่แตกต่างกัน 3) เมื่อพิจารณาในรายองค์ประกอบ นักศึกษาที่มีประสบการณ์การสอนแตกต่างกันมีความสามารถในการการจัดการเรียนการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) องค์ประกอบด้านความสัมพันธ์ทางบวกกับองค์ประกอบด้านความคาดหวังถึงผลที่จะตามมาในการจัดการเรียนรู้ของสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (r=.50, p <.01) และ 5) สิ่งที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ฯ ของนักศึกษาวิชาชีพครู 3 อันดับ คือ ความสนใจและเจตคติต่อการเรียนของนักเรียน การขาดแคลนสื่อวัสดุอุปกรณ์ และความยากลำบากในการจัดหาสื่อการเรียนรู้

ผลการศึกษาข้างต้นแสดงให้เห็นว่านักศึกษาวิชาชีพครู มองว่าผลการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นสิ่งที่แสดงถึงความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะของตนเอง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีว่านักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อการสอนและจะสามารถจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาครูได้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

วรรณทิพา รอดแรงค้า. (2553). กรณีศึกษาความเข้าใจและการปฏิบัติของ ครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ (สาขาสังคมศาสตร์), 31 (1): 1-16.

ดนุรี เงินศรี และณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2009). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุและผลของการรับรู้ความสามารถของตนเองของครูมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร. OJED, 4 (1): 1231-1244.

วันเพ็ญ ประทุมทอง และจรรยา ดาสา. (2561). ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการ สอนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะของนักศึกษาวิชาชีพครูเคมีก่อนและหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว, 34 (1): 225-246.

ลือชา ลดาชาติ และโชคชัย ยืนยง. (2559). สิ่งที่ครูไทยควรเรียนรู้จากโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 28 (2): 108-137.

Deehan, J., Danaia, L., and McKinnon, D.H. (2017). A longitudinal investigation of the science teaching efficacy beliefs and science experiences of a cohort of preservice elementary teachers. International Journal of Science Education, 39 (18): 25482573.

Enochs, L. G. and Riggs, I. M. (1990). Towards the development of an elementary teacher’s science teaching efficacy belief instrument. Science Education, 74: 625-637.

Faikhamta, C., Ketsing, K., Tanak, A., and Chamrat, S. (2018). Science teacher education in Thailand: a challenging journey. Asia-Pacific Science Education, 4 (3): 1-18.

Hinkle, D. E., Wiersma, W., and Jurs, S. G. (1998). Applied statistics for behavioral sciences (4th ed.). Chicago, IL: Rand McNally College Publishing.

Menon, D. and Sadler, T. D. (2016). Preservice elementary teachers’ science self-efficacy beliefs and science content knowledge. Journal of Science Teacher Education, 27 (6): 649-673.

Pandee, M., Jantarach, V., Chalong, P., Chukaeo, O., and Sitthitunyagum, B., (2017). Exploring Thai EFL pre-service teachers’ level of self–efficacy and its sources. Viridian Journal, Silpakorn University: International Humanities, Social Sciences and arts, 10 (4): 190-208.

Pinthong, T., Ketsing, J., and Jaitrong, W. (2017, December). From student to teacher: Relation between preservice science teachers’ prior experience and self-efficacy belief of inquiry-based learning. Paper presented at 2017 HU-SNU-NTNU-KU Joint-Symposium for Science Education. Sapporo, Japan.

Thomson, M. M., Francesca, D., Carrier, S., and Lee, C. (2017). Teaching efficacy: Exploring relationships between mathematics and science self-efficacy beliefs, PCK and domain knowledge among preservice teachers from the United States. Teacher Development, 21 (1): 1-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25