การพัฒนารูปแบบการบูรณาการด้วยการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชื่อมโยงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ธีรศักดิ์ อินทรมาตย์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • นีรนาท จุลเนียม สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดเชื่อมโยง, การสอนบูรณาการเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชื่อมโยง, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, พัฒนาการการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการบูรณาการเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชื่อมโยงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการบูรณาการเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชื่อมโยงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการบูรณาการเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชื่อมโยงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปทุมวิไล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวนนักเรียน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแผนการสอนบูรณาการเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชื่อมโยง, แบบทดสอบวัดความรู้พื้นฐานก่อนเรียน, แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียน, แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน, แบบทดสอบย่อยก่อนเรียนและหลังเรียนรายชั่วโมง และแบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน คะแนนพัฒนาการ (S) และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยวิธี Wilcoxon Sign Ranks Test

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนบูรณาการทักษะการคิดเชื่อมโยง ในเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพมากกว่า 50%
  2. 2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ พบว่า ค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Z=1.48)
  3. พฤติกรรมรายบุคคลของนักเรียนจากการสังเกต พบว่า กลุ่มเก่งจะมีเจตคติและพฤติกรรม การเรียนรู้ในห้องเรียนที่ดีกว่ากลุ่มปานกลางและกลุ่มอ่อน ส่งผลให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การเชื่อมโยงเนื้อหาแต่ละแผนและคะแนนวัดผลในกลุ่มเก่งมีประสิทธิภาพมากกว่ากลุ่มปานกลางและกลุ่มอ่อน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: องค์การส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์

กฤษดา นรินทร์. (2556). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องภาคตัดกรวยที่เน้นการเชื่อม โยงเนื้อหาคณิตศาสตร์สู่สถานการณ์ในโลกจริง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถ ในการแก้ปัญหาและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15 (2): 1-10.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณีและคณะ. (2540). ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี

นพพร แหยมแสง. (2555). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นันธิยา ไชยสะอาด. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในวิชาคณิตศาสตร์เรื่องสมการตัวแปรเดียว. วิทยานิพนธ์ กศ.ม, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร.

ณัฐวรา อามวเลาะ. (2557). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบซิฟปาที่เน้นทักษะการเชื่อมโยง

ทางคณิตศาสตร์สู่สถานการณ์ในโลกจริง เรื่องความน่าจะเป็น. วิทยานิพนธ์ กศ.ม, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

นพพร ธนะชัยขันธ์. (2557). สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

บงกชรัตน์ สมานสินธุ์. (2551). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบอริยสัจ 4 ที่มีต่อความสามารถในการ แก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ปริญญา นิพนธ์ กศ.ม (การมัธยมศึกษา), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร.

ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9. (2556). 108 มงคลพระบรมราโชวาท. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ราชบัณฑิตสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. วิชัย วงษ์ใหญ่และมารุต พัฒผล. (2556). การคิดอย่างเป็นระบบ: การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2548). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2560). ระบบประกาศและรายงานผล สอบโอเน็ต. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.niets.or.th/th/catalog/ view/2989.

สมฤทธิ์ วันชัย. (2556). การจัดกิจกรรมชุมนุมคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์กับ ชีวิตประจำ วันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ กศ.ม, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์และคณะ. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

สุวิมล ติรกานันท์. (2553). สถิตินันพาราเมตริก. กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ . (2550). 21 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สุชา จันทน์เอม. (2536). จิตวิทยาพัฒนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

อรนุช ลิมตศิริ. (2555). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25