ทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
ทักษะในศตวรรษที่ 21, ภาวะผู้นำทางวิชาการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 3) ทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 86 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล สถานศึกษาละ 2 คน ได้แก่ 1) ผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือรองผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือรักษาการในตำแหน่ง จำนวน 1 คน 2) ครูผู้สอน จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 172 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดของเบลลันกาและ แบรนต์ และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการตามแนวคิดของฮอลลิงเจอร์และเมอร์ฟี่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ทักษะความสนใจใคร่รู้มีจินตนาการ ทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมและการสนใจต่อโลก ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณการแก้ปัญหา ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และการรู้เท่าทันเทคโนโลยี ทักษะในการสื่อสารและร่วมมือ และทักษะการคิดในเชิงธุรกิจและทักษะประกอบการ ตามลำดับ
- ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ การกำหนดภารกิจของสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน และการส่งเสริมบรรยากาศด้านวิชาการ ตามลำดับ
- ทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมและการสนใจต่อโลก ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และการรู้เท่าทันเทคโนโลยี ทักษะในการสื่อสารและร่วมมือ ทักษะความสนใจใคร่รู้มีจินตนาการ และทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ส่งผลต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.866 สามารถทำนายภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม ได้ร้อยละ 75.10 สามารถเขียนเป็นสมการถดถอยสำหรับการทำนาย ได้ดังนี้
(Ytot) = 0.365 + 0.254 (X7) + 0.209 (X1) + 0.190 (X5) + 0.150 (X2) + 0.128 (X4)
References
กระทรวงศึกษาธิการ.(2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564), กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ: หน้า 10.
กระทรวงศึกษาธิการ, หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับสมบูรณ์ (4 สี).https://www .kroobannok.com/news_file/p59087671156.pdf: [สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2561].
จาตุรนต์ ฉายแสง.(2556). 8 นโยบายการศึกษา,กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ:หน้า 2.
ปัทมา ประทุมสุวรรณ.(2562).ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2, วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ.(2556).ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความท้าทายในอนาคต 21st Century Skills: The Challenges Ahead.(เอกสารการอบรมเชิงปฏิบัติการ). ภูเก็ต: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2553).แนวทางพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พ.ศ. 2553, กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย:หน้า 5.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.(2545).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไข เพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545,กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค:หน้า 3-4.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 - 2564,กรุงเทพมหานคร:สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ:หน้า 15.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.(2560).รัฐธรรมนูญแห่งราชอาราจักรไทย พุทธศักราช 2560,กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา:หน้า 14.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.(2560). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2560-2579, กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ: หน้า 18.
อังคณา ฉางข้าวคำ. (2557).ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อบทบาทหน้าที่ของศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Gregory P Egnor. (2013). A Case Study of 21st Century Skills in High Achieving Elementary Schools in Pennsylvania, Indiana University of Pennsylvania.
James Bellanca and Ron Brandt. (2010).21st Century Skills: Rethinking How Students Learn, United States: Solution Tree.
Melanie-Jo McCarthy.(2009). Teachers' Perceptions of High School Principals' Leadership Behaviors Using the Principal Instructional Management Rating Scale (Pimrs) and then to the Ayp (Adequate Yearly Progress) Status in High Poverty Suburban School Districts Located in Southeastern Pennsylvania: Saint Joseph's University.
Phillip Hallinger and Joseph Murphy. (1985).Assessment the Instructional Management Behavior of Principals, The elementary school journal, Vol.86 No.2 November 1985: p221-224.